22 ก.พ. 2021 เวลา 13:33 • นิยาย เรื่องสั้น
#เรื่องเก่าเล่าสนุก,
#ปูพื้นเสริมคานด้านประวัติศาสตร์เพื่ออรรถรสในการอ่านจันทร์เจ้าขา,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
เพื่ออรรถรสที่เพิ่มขึ้นในการอ่านนิยายจันทร์เจ้าขา
คืนนี้..ผมเลยขออนุญาตนำเรื่องเก่าเล่าสนุก มาปัดฝุ่นเล่าให้เพื่อนๆได้ฟังกันนะครับ
สุขสันต์คืนวันจันทร์นะครับ
#ยันต์โสฬส37ช่องของป้อมปราการเมืองสงขลาของเมขลาพายุน้อยซ์,
1
ในสมัย รัช​กาล​ที่ ๓ เป็นช่วงเวลาที่สยามเกิดกรณีพิพาทกับเพื่อนบ้านมากที่สุดสมัยหนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันท์ อานามสยามยุทธ สงครามเมืองไทรบุรีและกบฏหัวเมืองแขก รวมถึงเหตุการณ์ที่อังกฤษนำเรือรบจ่อบุกพม่า ..
ด้วยเหตุนี้ รัชกาลที่ ๓ จึงทรงมีพระราชดำริ ที่จะให้หัวเมืองใหญ่ๆ ที่เป็นเมืองหน้าด่าน ..
สมควรจะมีกำแพงและป้อมปราการก่ออิฐถือปูนให้แข็งแรงถาวร สำหรับป้องกันอริราชศัตรูผู้รุกราน
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงและป้อมปราการตามเมืองต่างๆ เช่น เมืองกาญจนบุรี เมืองปราจีนบุรี เมืองพระตะบอง และเมืองสงขลา เป็นต้น
ในส่วนของเมืองสงขลา โปรดเกล้าฯ ยกเงินภาษีอา กรของเมืองสงขลาจำนวน ๒๐๐ ชั่งให้แก่พระยาวิเชียรคิรี​ (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาสำ​หรับ ใช้เป็นค่าก่อสร้าง โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕..
สิ่งที่น่าสนใจคือ ประตูเมืองสงขลา ทำรูปร่างเป็นประตูหอรบ แต่เนื่องจากเจ้าเมืองมีเชื้อสายจีน (ต้นสกุล ณ สงขลา เป็นจีน) หอรบด้านบนจึงสร้างเป็นซุ้มหลังคาแบบจีน แปลกกว่าประตูหอรบของเมือง​อื่นๆ ที่ทำรูปร่างเป็นแบบไทยหรือฝรั่ง​
กำแพงเมืองสงขลาตั้งอยู่ห่างจากน้ำราว ๔๐ เมตร กำแพงเมืองจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว ๑,๒๐๐เมตร ด้านทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว ๑,๐๐๐ เมตร มีป้อมทั้ง​หมด ๘ ป้อม
1
มีประตูเมืองอยู่ ๑๐ ประตูโดยประตูเมืองมีลักษณะเป็นซุ้มใหญ่ กว้าง ๓ เมตร สูง ๖ เมตร ซุ้มเป็นหลังคาแบบจีน โดยชื่อประตูเมืองสงขลาปรา​กฏหลักฐานในเอกสารโบราณ ดังต่อไปนี้
ประตูที่ ๑ สุรามฤทธิ์
ประตูที่ ๒ ศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์
ประตูที่ ๓ อัคนีวุธ
ประตูที่ ๔ ยุทธชำนะ
ประตูที่ ๕ บูรพาภิบาล
ประตูที่ ๖ สนาสงคราม
ประตูที่ ๗​ พยัคนามเรืองฤทธิ์
ประตูที่ ๘ จัณฑีพิทักษ์
ประตูที่ ๙​ พุทธรักษา
ประตูที่ ๑๐ มฤคพิทักษ์
นอกจากนี้ป้อมปราการสี่มุมเมืองสงขลาในอดีต มีการตั้งชื่อเรียกได้แก่ ป้อมไพรีพินาศ ป้อมพิฆาตข้า​ศึก ป้อมป้องกันศัตรูและป้อมเทเวศ​ เป็นต้น
หลังจากเวลาล่วงเลยไปกำแพงแห่งนี้ก็ทรุดโทรมและเสื่อมสภาพตามกาลเวลา แต่กำแพงเมืองสงขลาก็ได้มีการซ่อมแซมและบูรณะมาโดยตลอด
โดยเมื่อครั้งพระยายมราช(ปั้น สุขุม)เป็นพระวิจิตรวรสาสน์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและเป็นพระ​ยาสุขุมนัยวินิต สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรม​ราช ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๔๘
ได้มีคำสั่งให้รื้อกำแพงเมืองสงขลา เพื่อนำอิฐจากกำแพงมาใช้สร้างและปรับปรุงถนน
ต่อมามีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ แผ่นศิลาจารึกเป็นลายเส้นและตัวเลขฝังอยู่ใต้ป้อม สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น "ยันต์โสฬส 37 ช่อง”ใช้สำหรับไล่ภูตผีปีศาจ และทำลายวัตถุอาถรรพ์เวทมนต์ดำ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับที่ปรากฏในหัวเมืองทางเหนือ อย่างน่าอัศจรรย์..
ภาพเก่าตระกูลรัตรสารในสมัยรัชกาลที่ ๕
และในปี พ.ศ.๒๕๕๔ เกิดพายุฝนที่รุนแรง ส่งผลให้กำแพงเมืองสงขลาพังทลายลง และ ลบอักขระยันต์บางส่วน..
ต่อมาได้รับการบูรณะให้กลับมาสภาพเดิม โดยกรมศิลปากร​ ปัจจุบันเหลือเพียงแนวกำแพงไม่ถึง​ ๒๐๐ เมตรเท่านั้น
#ประชากรสยามตามที่คุณพีระได้ตั้งข้อสังเกต,
-เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง ราชทูตอังกฤษ ได้คาดคะเนจำนวนประชากรในสยาม สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีเพียง
๔,๕๐๐,๐๐๐-๕,๐๐๐,๐๐๐
คน, ครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการนับคนแบบสมัยใหม่ในแผ่นดินสยามครั้งแรก ด้วยการทำ ‘บาญชีสัมโนครัว’ และจดทะเบียนคนเกิด คนตาย โดยเริ่มขึ้นพ.ศ.๒๔๔๖ แต่ทำสำเร็จเพียง ๑๒ มณฑล จากทั้งหมด ๑๘ มณฑล ได้แก่ มณฑลศรีธรรมราช, มณฑลกรุงเก่า, มณฑลนครราชสีมา, มณฑลราชบุรี, มณฑลปาจิณบุรี, มณฑลนครไชยศรี, มณฑลนครสวรรค์, มณฑลพิศณุโลก, มณฑลชุมพร, มณฑลจันทบุรี และมณฑลเพชรบูรณ์,ส่วนมณฑลที่ทำไม่สำเร็จนั้น ได้แก่ มณฑลกรุงเทพฯ, มณฑลพายัพ, มณฑลอุดร, มณฑลอิสาน, มณฑลบูรพา และมณฑลไทรบุรี และอีก ๒ เมืองอย่างเมืองกลันตัน และตรังกานู,
-แต่ท้ายที่สุดก็สามารถรวบรวมสัมโนครัวได้สำเร็จในพ.ศ. ๒๔๕๓นับจำนวนประชากรราชอาณาจักรสยามทั้งสิ้น ๘,๑๓๑,๒๔๗ คน
#เหตุการณ์ภายหลังสงครามของออกหลวงพจน์ประภาพในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ
-พ.ศ. ๒๒๐๔ ปีฉลู  อังกฤษได้กลับมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา  จึงทำให้มีพ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาอีกหลังจากได้หยุดการติดต่อค้าขายไปตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  พ.ศ. ๒๑๖๗ เมื่อครั้งอาณาจักรสยามนั้นเกิดเรื่องบาดหมางจากเหตุการณ์สู้รบกับสเปนและโปรตุเกส
 
ในปี พ.ศ. ๒๒๐๕ ปีขาล  สมเด็จพระนารายณ์  โปรดให้ส่งกองทัพไปตีเอาเมืองอังวะเพื่อแก้แค้นที่กองทัพพม่ายกทัพเข้ามาติดตามครอบครัวชาวรามัญที่หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร..
ครั้งนั้นพระองค์โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (เหล็ก)  เป็นแม่ทัพ  ยกกองทัพไปตีเมืองทวาย  เมืองเมาะตะมะ  โดยเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์  ด่านเขาปูน  ด่านสลักพระ  แล้วยกกองทัพผ่านเมืองจิตตะกองทางลำแม่น้ำสะโตง  ไปตีเมืองหงสาวดี  เมืองเสรียง  เมืองย่างกุ้ง  และตั้งค่ายล้อมเมืองหลวงอังวะไว้
#สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ,
#แปลและเรียบเรียง​Danny karn,#FB:เลาะรั้ว​ ชมวัง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา