28 ก.พ. 2021 เวลา 02:00 • การศึกษา
ปรับความคิดอย่างไรดี? เมื่องานที่ทำ ไม่ใช่งานที่ชอบ
เคยเป็นไหม.. เปลี่ยนงานมาหลายที่ แต่ก็ยังไม่เจองานที่ถูกใจ
แล้วเราควรจะทำอย่างไร? หากงานที่ทำอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่งานที่ชอบ..
5
ย้อนกลับไปในวันแรกที่ได้เริ่มต้นทำงาน
หลายคนรู้สึกตื่นเต้น และดีใจที่ได้รับโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
จนเกิดความรู้สึกอยากทำงานนี้เหลือเกิน
แต่เมื่อเวลาผ่านไป.. ความเคยชินจากการทำงาน ทำให้ความตื่นเต้นนั้นหายไป
แถมยังจะมีปัญหาการทำงานรูปแบบต่างๆ เข้ามาแทนที่
1
เช่น ความไม่น่ารักของเพื่อนร่วมงาน, แรงกดดันจากหัวหน้า, ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น
จนหลายคนอาจเริ่มรู้สึกว่า งานที่ทำ ไม่ใช่งานที่ชอบเสียแล้ว..
1
แล้วถ้าเรากำลังรู้สึกแบบนี้ ควรจะทำอย่างไรดี ?
ลองมาดู 3 ตัวอย่าง ที่จะช่วยปรับแนวคิดการทำงานของเราแบบง่ายๆ เหล่านี้กัน
1.เพิ่มคำว่า “ยัง” ลงไปในความคิดเชิงลบ เพื่อเปลี่ยนให้กลายเป็น ความคิดเชิงบวก
หากเราไม่มั่นใจในงานที่ได้รับมอบหมาย
และคิดไปเองว่า “เราทำไม่ได้”
ลองปรับความคิดใหม่โดยการเพิ่มคำว่า “ยัง” ลงไปในความคิดลบเหล่านั้น
1
เช่น “ฉันทำไม่ได้” ปรับเป็น “ฉันยังทำไม่ได้”
หมายความว่า เราเองก็สามารถทำสิ่งนี้ได้
เพียงแต่เราอาจกำลังกังวลเพราะไม่เคยทำมาก่อน
ดังนั้น หากเราลองเปิดใจศึกษาและลองทำ ก็มีโอกาสที่เราจะทำมันได้
2. เปลี่ยน “ข้อจำกัด” ให้เป็น “โอกาส” เพื่อพัฒนาความสามารถตนเอง
ภายใต้สถานการณ์เร่งด่วน และมีเวลาทำงานน้อย
อาจบังคับให้เราต้องส่งงานไปในแบบที่ยังไม่สมบูรณ์
และคิดไปเองว่า “เราทำได้แค่นี้แหละ”
แต่ถ้าเราเปลี่ยนจากคิดว่า เวลาที่มีน้อยนั้น เป็นข้อจำกัด
แล้วมาคิดใหม่ว่า เวลาที่มีน้อยตรงนั้น คือโอกาส
โอกาสให้ได้พิสูจน์ฝีมือ ว่าเราสามารถทำงานให้ออกมาดีได้แม้มีเวลาน้อย
ก็จะทำให้เรากลายเป็นคนที่เก่งขึ้นได้เหมือนกัน
1
3. เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ
หลายคนรู้สึกไม่สบายใจ เมื่อรูปแบบงานที่เคยทำต้องเปลี่ยนไป
เช่น เปลี่ยนรูปแบบรายงาน, เปลี่ยนวิธีวิเคราะห์ข้อมูล, เพิ่มฐานข้อมูล
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ย่อมทำให้หลายคนไม่คุ้นชิน
จนต้องตั้งคำถามว่า.. “ทำไมต้องเปลี่ยน”
2
หากใครกำลังเจอกับสถานการณ์นี้ ลองปรับแนวคิดใหม่
เปลี่ยนจากคำถามว่า “ทำไมต้องเปลี่ยน” ไปเป็น “เปลี่ยนแล้วดีขึ้นอย่างไร”
อาจทำให้เหมือนเป็นการเปิดประตูแห่งโอกาสใหม่ ให้ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำหรือจำเจ
มาถึงตรงนี้ คงได้เห็นแล้วว่า เราสามารถปรับมุมมองความคิด
และเลือกตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ
เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีและเป็นประโยชน์แก่ตัวเราและองค์กรได้
1
ซึ่งแนวคิดที่จะช่วยให้เราเปิดใจ
พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลานี้ เรียกว่า Growth Mindset
เมื่อเรามี Growth Mindset ในการทำงาน
และรู้วิธีเลือกตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ได้แล้ว
เราก็จะรู้สึกดีในงานที่ทำมากขึ้น
1
สุดท้ายแล้ว งานที่เราอาจมองว่าไม่ชอบในตอนแรก
อาจจะกลายเป็นงานที่สร้างโอกาส และความสำเร็จให้กับตัวเรา ก็เป็นได้..
#SEAC #lifelonglearning #YourNextU #essentialskills #upskill #reskill #GrowthMindset #OrganizationalAgility #ทักษะแห่งอนาคต
#SEAC THE RIGHT MINDSETS, SKILLSETS, AND TOOLSETS FOR YOUR TRANSFORMATION
โฆษณา