27 ก.พ. 2021 เวลา 12:36 • การศึกษา
4 เทคนิคของ Feynman ที่จะทำให้คุณเรียนรู้ได้ดีที่สุด
หนังสือเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าถึงสมองที่ฉลาดที่สุด เรียนรู้จากนักคิด และนักสร้างที่เก่งในด้านนั้น(ถ้าเลือกถูกเล่มนะ) แต่แน่นอนว่าการอ่านหนังสือไม่ได้การันตีว่าจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปแน่นอน เราอาจจะอ่านหนังสือปีละ 52 เล่มโดยที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลยก็ได้
เดล คาร์เนกี เป็นนักเขียนและอาจารย์ชาวอเมริกัน ผู้พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาตนเอง, ทักษะการขาย และอื่นๆอีกมากที่คนยอมรับกว่า 100 ปี กล่าวว่า “knowledge isn’t power until it’s applied” “And to apply what you read, you must first remember what you learned” ความรู้ไม่ใช่พลังถ้ามันไม่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ และก่อนที่เราจะประยุกต์สิ่งที่เราอ่านได้เราต้องจดจำสิ่งที่เราเรียนรู้มาก่อน
1
ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงลืมสิ่งที่ตัวเองอ่าน?
ต้องอย่าสับสนระหว่างการบริโภคกับการเรียนรู้ คนส่วนใหญ่จะคิดว่าการอ่าน การดู หรือการฟัง จะทำให้ข้อมูลถูกฝังอยู่ในสมอง
เพื่อป้องกันตัวเองจากสภาวะ overload สมองเราจะมีความสามารถในการกรองหรือ filter และลืมสิ่งที่เรารับรู้ผ่านการอ่าน ฟัง หรือดู เพราะถ้าเราจำทุกสิ่งทุกสิ่งอย่างที่เข้ามาสมองคงรับไม่ไหวแน่
แต่คนส่วนใหญ่จะคิดว่าสมองสามารถกักเก็บได้ทุกสิ่งที่เข้ามา เลยตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้จะอ่านหนังสือกี่เล่มดี ใช้จำนวนหนังสือที่อ่านเป็นการท้าทายตัวเอง มากกว่าที่จะไปโฟกัสกับการเรียนรู้สิ่งที่ต้องการจริงๆ และสุดท้ายก็จะลืมเกือบทุกสิ่งที่อ่านไป แบบนี้การอ่านหนังสืออาจจะเป็นเพื่อความบันเทิงมากกว่าการเรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่ง
นักปรัชญาชาวเยอรมัน Arthur Schopenhauer กล่าวว่า “เมื่อเราอ่าน คนอื่นจะคิดแทนเรา และเราเพียงแค่ทำตามกระบวนการทางจิตของเขา” “แต่การเรียนรู้คือการที่เราคิดโดยตัวเราเอง”
3
คนที่อ่านโดยไม่หยุดคิดหรือไตร่ตรองจะไม่สามารถจำหรือนำไปใช้ในสิ่งที่อ่านได้เลย สังเกตง่ายๆถ้าคนบอกว่าอ่านหนังสือมา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าได้อะไรจากการอ่าน แสดงว่าเขาอาจจะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย
Mortimer Jerome Adler นักปรัชญาชาวอเมริกันกล่าวว่า “คนที่บอกว่ารู้ว่ากำลังคิดอะไร แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาไม่ได้มักจะไม่รู้ว่าตัวเองคิดอะไร”
1
เราจะมีเทคนิคจำสิ่งที่เราอ่านได้อย่างไร?
การสอนถือเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการฝังสิ่งที่เราเรียนรู้มาลงในสมอง และเป็นการเช็คด้วยว่าเราสามารถจำสิ่งที่เราอ่านได้หรือไม่ เพราะก่อนที่เราจะสอน เราต้องการกระบวนทางความคิดหลายขั้นไม่ว่าจะเป็น การกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบ และการอธิบายให้เป็นภาษาของเราเอง
2
ถ้าพูดถึงปรมาจารย์ของการอธิบายเรื่องซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายคงไม่พ้น Richard Phillips Feynman นักควอนตัมฟิสิกส์ ที่ได้รับฉายาว่า “The Great Explainer”
ถ้าต้องการเทคนิคการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด เทคนิคของ Feynman อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เป็นสิ่งที่ถ้าเราทำตามเทคนิคเหล่านี้แล้วรับรองได้ว่าการเรียนรู้ของเราจะดีขึ้นอย่างแน่อน Feynman Technique เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เราจดจำสิ่งที่เราอ่านโดยใช้แนวคิดอย่างละเอียดและการเชื่อมโยง เป็นเครื่องมือในการจดจำสิ่งที่เราอ่านโดยอธิบายด้วยภาษาที่เรียบง่าย
2
Feynman Technique ไม่เพียง แต่เป็นสูตรการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังนำทางไปสู่วิธีคิดที่แตกต่างออกไปซึ่งช่วยให้เราสามารถแยกความคิดออกจากกันและสร้างขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้น
1
Feynman Technique ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
1.เลือกหนังสือที่คุณต้องการอ่าน
หลังจากอ่านหนังสือจบ หยิบกระดาษมา 1 แผ่น เริ่มจากเขียนชื่อหนังสือ และให้นึกถึงหลักการ และประเด็นหลักทั้งหมดที่เราต้องการจำ แต่ไม่ใช่การคัดลอกสารบัญมาเขียนหรือส่วนที่ไฮลต์มาซึ่งจะทำให้ข้ามส่วนของการเรียนรู้ไป และไม่จำข้อมูล
1
แต่สิ่งที่ต้องทำคือการดึงคอนเซป และแนวคิดจากความจำของเราล้วนๆ ซึ่งจะต้องใช้พลังสมอง แต่ด้วยการคิดถึงแนวคิดจะทำให้เราสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
และในขณะที่เขียนประเด็นสำคัญพยายามใช้ภาษาที่ง่ายที่สุดที่เราสามารถทำได้ บ่อยครั้งที่เราใช้ศัพท์ที่ซับซ้อนเพื่อปกปิดความไม่รู้ของเรา คำพูดสวยหรูหรือ "expert words" จะทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงประเด็นได้
“If you can’t explain it simply, you don’t understand it well enough.” — Albert Einstein
2.ต้องจินตนาการว่าคุณกำลังอธิบายสิ่งที่อ่านให้เด็กอายุ 12 ปีฟัง
ฟังดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่วิธีการนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่คิด เพราะการอธิบายคอนเซปหรือเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดต้องอาศัยความเข้าใจอย่างท่องแท้ เพราะเมื่อเราต้องอธิบายให้เด็กอายุ 12 ฟัง จะเป็นการบังคับตัวเองให้สรุปความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงระหว่างคอนเซปให้อยู่ในรูปที่ง่ายที่สุด
3.ระบุช่องว่างของความรู้และการอ่านซ้ำ
การอธิบายประเด็นสำคัญจะช่วยให้เราค้นพบว่าอะไรที่เราไม่เข้าใจ จะมีจุดที่เราเข้าใจอย่างชัดเจน และจุดที่เรายังไม่เคลียกับมันซึ่งอาจจะควรค่าแก่การเจาะลึกและทำความเข้าใจ เมื่อเราพบช่องว่างของความรู้ หรือจุดที่มีปัญหาในการเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกันในตอนนั้นเราจะสามารถเริ่มเรียนรู้ได้จริงๆ
และเมื่อเราพบจุดที่เราไม่เข้าใจแล้วกลับไปอ่านทวนซ้ำอีกรอบจนกว่าจะสามารถอธิบายเป็นภาษาเราเองได้ การเติมช่องว่างของความรู้เป็นขั้นตอนพิเศษที่จำเป็นในการจดจำสิ่งที่เราอ่าน แต่การข้ามมันไปเลยจะทำให้เราเกิดภาพลวงตาของความรู้
4. ทำให้คำอธิบายง่ายที่สุด
ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของหนังสือที่เราอ่าน เราควรจะสามารถอธิบาย และจดจำแนวคิดหลังจากการอ่านผ่านการใช้เพียงสเตปที่ 1-3 แต่ถ้าเรายังรู้สึกไม่มั่นใจ เราสามารถเพิ่มขั้นตอนในการลดความซับซ้อนของสิ่งที่อ่านลงได้ หรือการย่อยให้เป็นความรู้ที่เราเข้าใจต่ออีกขั้นหนึ่ง
อ่านออกเสียงสิ่งที่เราบันทึกไว้ จัดระเบียบมันในรูปแบบเรื่องเล่าที่ง่ายที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้ารู้สึกว่าการอธิบายของเราเข้าใจง่ายแล้ว นั่นแหละจะเป็นตัวชี้วัดว่าเราเข้าใจมันอย่างแท้จริง
เราทุกคนรู้จากประสบการณ์ของเราเองว่าความรู้นั้นไม่มีประโยชน์เว้นแต่จะถูกนำไปใช้ และการที่เราลืมสิ่งที่อ่านไปก็จะไม่มีวันนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย
โฆษณา