3 มี.ค. 2021 เวลา 01:30
เคยไหม พยายามเท่าไรก็ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองดีพอ?
ในยุคที่โลกหมุนเร็วจนสังคมคาดหวังว่าให้รีบ ๆ ประสบความสำเร็จ
คนรุ่นใหม่จำนวนมากก็ต้องดิ้นรนครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อพิสูจน์ตัวเองว่า “ฉันดีพอ” “ฉันเก่งพอ” หรือ “ฉันประสบความสำเร็จ”
แต่ก็พบว่าต่อให้ประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ กลับรู้สึกว่าความสำเร็จนั้นไม่ใช่ผลงานของเราหรือมองว่าเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้
เราเรียกอาการแบบนี้เรียกว่า ‘Imposter Syndrome’ หรือ ‘อาการคิดว่าตัวเองไม่เก่ง’
2
#ImposterSyndromeคืออะไร
คำนี้ถูกคิดค้นโดยนักจิตวิทยาคลินิก Pauline Clance และ Suzanne Imes ในบทความชื่อ ‘The Imposter Phenomenon in Hogh Achieving Women: Dynamics and Therapeutic Intervention’ เมื่อปี 1978
โดยบทความจะกล่าวถึงกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงจำนวน 150 คนว่า
“ถึงแม้พวกเธอจะมีใบปริญญา ได้รับเกียรตินิยม ทำได้ดีมากในแบบทดสอบมาตรฐาน ได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา แต่ข้างในลึกๆ แล้วพวกเธอกลับไม่ได้รู้สึกว่าความสำเร็จเกิดจากตัวเอง และมองว่าตัวเองเป็นคนหลอกลวง (Imposter)”
2
#ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
นักจิตวิทยาทั้งสองคน ได้แบ่งอาการ Imposter Syndrome ออกเป็น 3 แบบ
1. เชื่อว่าคนอื่นมองพวกเธอเก่งกว่าความเป็นจริง
2. กลัวว่าวันหนึ่งจะถูกจับได้และถูกเปิดโปงว่าไม่ได้เก่งจริง
3. คิดอยู่เสมอว่าความสำเร็จที่ได้มา ไม่ได้เกิดจากตัวเอง แต่เกิดจากความโชคดีหรือปัจจัยภายนอก
4
เมื่อก่อนอาการนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงค่อนข้างบ่อย แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็นอาการที่เกิดอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ นักวิชาการ กลุ่มเปราะบาง LGBTQ เจ้าของธุรกิจ ผู้ที่ทำงานคนเดียว
แม้กระทั่งคนดังที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ก็มีอาการนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งบุคคลที่เข้าข่ายมักจะเป็นคนที่เสพติดความสมบูรณ์แบบ มีความมั่นใจในตัวเองสูง และในขณะเดียวกันก็ถูกแวดล้อมไปด้วยความกดดันจากผู้คนที่ประสบความสำเร็จรอบตัว
#ลองเช็คว่าตัวเองมีอาการแบบนี้ไหม?
อยากเรียนทุกอย่างเพื่อเติมเต็มความสามารถของตัวเองอยู่เสมอเพราะคุณรู้สึกว่าตัวเองยังไม่เก่งพอ
2
เชื่อว่าตัวเองควรทำทุกอย่างให้ออกมาเพอร์เฟกต์ หากทำอะไรพลาดแม้แต่นิดก็แปลว่าไม่เก่งจริง
2
รู้สึกประหม่าเวลามีคนมาถามเรื่องที่คิดว่าเราเชี่ยวชาญ แต่เรากลับกลัวว่าจะตอบไม่ได้เพราะไม่ได้รู้ทุกเรื่อง
2
#ทำอย่างไรดีถ้าเราเข้าข่าย
สิ่งที่ง่ายที่สุดคือ อย่าไปคิดมาก! แต่เรารู้ว่ามันยาก บทความของ New York Times จึงแนะนำว่าให้เริ่มจากลิสต์ว่าเรากังวลเรื่องใดบ้าง หรืออะไรที่ทำให้เรารู้สึกไม่มั่นใจ อาจจะใช้เวลาสักหน่อยแต่เราจะได้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นและยอมรับความจริงและทำการแก้ไขต่อไป
1
ต่อมาคือการชื่นชมตัวเอง โดยมีการใส่ชื่อตัวเองลงไปด้วย เช่น จากบอกว่า “เราเก่งมาก” ก็กลายเป็น “เก่งมากพลอย” การชื่นชมตัวเองหรือการบอกอะไรกับตัวเองจะช่วยสร้างความมั่นใจขึ้นมา เพราะการที่เรา ‘คิด’ ว่าตัวเองเป็นอย่างไร เราก็จะเริ่มเชื่อมั่นในตัวเอง ทำให้มีแนวโน้มว่าเราจะเป็นจริงตามนั้น (Self-Fulfilling Prophecy)
3
ถัดมาคือ การมองเห็นข้อดีเล็กๆ หรือความสำเร็จเล็กๆ ที่เราสามารถทำได้แต่ละวัน บางครั้งการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็มาจากก้าวเล็กๆ เหล่านี้ เช่น จากที่ตอนเช้าเลื่อนนาฬิกาปลุกบ่อย ตอนนี้ตื่นตามเวลาได้แล้ว หรือ วันนั้นโดนหัวหน้าด่าเรื่องนี้มา วันนี้ไม่ด่าแล้ว อย่างน้อยก็ได้เห็นความก้าวหน้าที่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมานั่นเอง
2
สุดท้าย วางแผนและมองเห็นภาพรวมของงานและคาดการณ์ไว้ก่อนว่า Worst Case Scenerio หรือสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร และจะแก้ไขอย่างไรได้บ้างเพื่อเป็นการรับมือไปสู่เป้าหมายและคลายความกังวลน้อยลง
2
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการ Imposter Syndrome เกิดขึ้นบ่อยครั้งเข้า ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า จนกลายมาเป็นโรคเครียดหรือโรคซึมเศร้าในที่สุด
ทางที่ดีเราจึงควรรู้จักปล่อยวางบางเรื่องที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เตือนสติตัวเองเวลาเริ่มคิดมาก และใจดีกับตัวเองเวลาทำพลาด เพราะ “ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ 100%”
#careerfact
………………
Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว
พูดคุยเรื่องการงาน ถกประเด็นต่างๆ แบ่งปันความรู้
เข้าร่วมกลุ่ม อู้งานมาคุย by Career Fact
อ้างอิง
หนังสือ Imposter Syndrome ทำมากแค่ไหนก็รู้สึกเก่งไม่พอ
โฆษณา