15 ก.พ. 2019 เวลา 07:02 • การศึกษา
#ความชำรุดบกพร่อง ในยุคที่เรามีเสิร์ชเอนจิน ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า วิวัฒนาการต่างๆเปลี่ยนไปแล้ว จากการซื้อขายที่เคยทำกันต่อหน้าเหมือนสมัยก่อน ได้พัฒนาเป็นแบบติดต่อโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ผู้ซื้อไม่มีโอกาสที่จะได้ตรวจสอบสินค้าก่อนที่ผู้ขายจะส่งมอบสินค้านั้นๆ ให้แก่ตน ทรัพย์สินนั้นจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้ขายจนกว่าจะได้ส่งมอบ เพราะฉะนั้นผู้ขายย่อมมีโอกาสที่จะได้ตรวจสอบสินค้านั้นมากกว่าผู้ซื้อ
อีกทั้งการทำสัญญาซื้อขายนั้น มีลักษณะเป็น #สัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ #ผู้ขายก็ต้องการเงินเป็นสิ่งตอบแทน และในขณะเดียวกัน #ผู้ซื้อก็ต้องการสินค้าเป็นสิ่งตอบแทน เช่นกัน ซึ่งการคาดหวังของทั้ง 2 ฝ่ายนั้น เป็นการคาดหวัง #ความสุจริตของคู่สัญญา ผู้ขายก็ต้องการได้รับเงินตรงตามเวลา และผู้ซื้อก็ต้องการรับมอบสินค้าที่มีคุณภาพดีไม่มีความชำรุดบกพร่อง
อย่างที่ผมเกริ่นไปแล้วในเบื้องต้นเราอยู่ในยุคของ #เสิร์ชเอนจิน ซึ่งจะเห็นได้ตามโซเชี่ยลอย่างมากมายที่ผู้ซื้อโพสต์พูดถึงต่อสินค้าต่างๆ โดยไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือร้ายต่อแบรนด์ หากมันได้ถูกจุดกระแสขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตแล้วล่ะก็ มันจะถูกเสิร์ชหาได้ตลอดไปและอาจส่งผลต่อการทำตลาดอีกด้วย ถ้าเช่นนั้นแล้ว สำหรับประเทศไทยจะมีทางออกที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ต่อกรณีปัญหาสินค้าชำรุดบกพร่องหรือไม่ “ร่างพ.ร.บ.ความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า” น่าจะเป็นคำตอบได้ดี
ซึ่ง “ร่างพ.ร.บ.ความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า” ฉบับนี้ได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการส่งต่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจสอบรายละเอียดของกฎหมาย ซึ่งการมาถึงของ ร่างพ.ร.บ.ความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า จะทำให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้นในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าที่ซื้อไปแล้วชำรุดบกพร่อง
แน่นอนครับ กฎหมายฉบับนี้จะเข้ามามีผลกระทบโดยตรงของคู่สัญญา คือ ผู้ขาย - ผู้ซื้อ แม้ว่าณ วันนี้ยังอยู่ในชั้นตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่จากที่ผมเข้าไปรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนวคิดต่างๆอย่างมากมาย มีรายละเอียดเยอะมากมาย ซึ่งหากมานั่งพิมพ์อย่างละเอียดนั่นยาวมากเลยครับ ที่สำคัญเลยคือ "ยังอยู่ในชั้นของการตรวจสอบ" ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดอีก ดังนั้นไว้กฎหมายฉบับนี้คลอดออกมามีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ ผมจะมาเขียนที่มาที่ไปอย่างละเอียดของกฎหมายฉบับนี้แบบเรียงมาตราให้กับเพื่อนๆอีกครั้งนะครับ
ทิ้งท้ายไว้นิดหน่อยว่า กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นโดยกลไกลธรรมชาติของการซื้อขายบนหลักการสำคัญ คือ #หลักสุจริตของคู่สัญญา ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ก็จะไม่มีผลกระทบใดๆเลยต่อความสุจริตของคู่สัญญา แต่ในทางกลับกันหากการคาดหวังของทั้ง 2 ฝ่ายนั้นไม่เป็นไปตามการคาดหวัง #ความสุจริตของคู่สัญญา กฎหมายฉบับนี้ก็จะเข้ามาช่วยเยียวยาความเสียหาย
ขออีกสักหน่อย ข้อดีของกฎหมายฉบับนี้ ไม่ใช่คุ้มครองแต่ผู้บริโภคเท่านั้น คุ้มครองผู้ประกอบการด้วยนะคับ เพราะในคำนิยามใช้คำว่า “ผู้ซื้อ-ผู้ขาย” ฉะนั้นเมื่อเราเป็นผู้ซื้อเราก็สามารถใช้สิทธิที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองเพื่อเรียกร้อง(บังคับ)ให้ผู้ขายรับผิดชอบ อย่างเช่น รถบ้านมาขายรถให้กับเต๊นท์ หากปรับข้อเท็จจริงแล้วเข้าข้อกฎหมายก็ต้องรับผิดนะคับ เป็นต้น
สุดท้ายนี้ ผมเชื่อมั่นเหลือเกินว่า กฎหมายฉบับนี้จะถูกคลอดออกมาบังคับใช้ต่อไปแน่นอนครับ ‘ พงษ์นเรศ ชัยรัตนารมย์
#ปะป๊าบอย #นิติราม #พ่อค้ารถ #รับซื้อรถ #รถบ้าน #รถมือสอง #รถบริษัท #รถยนต์ใช้แล้ว #ชะนีขายรถ #ผู้ประกอบการที่ดี #Lemonlaw
โฆษณา