12 พ.ค. 2019 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
Story : How It Works
Story หรือเรื่องราวที่ดีนั้น จึงต้องสามารถหยุดจิตใจคนได้ทันทีและทำให้สนใจอยู่ได้เป็นเวลานานๆ สังเกตหรือไม่ว่า ภาพยนตร์บางเรื่อง โชว์บางโชว์ กีฬาบางเกม หนังสือบางเล่ม เรื่องเดียวก็สามารถตรึงเราไว้นานนับชั่วโมงๆ
2
นี่คือ พลังของ Story หรือการเล่าเรื่องราวที่ดีนั่นเอง ที่แปลกคือ นอกจากมันจะตรึงสมาธิของเราได้นานแล้ว มันยังทำให้เรา “จำ” สิ่งที่ถูกเล่าได้อย่างแม่นยำไปนานแสนนานอีกด้วย เพราะกับเรื่องที่ดีโดนใจนั้น จิตของผู้ดูผู้ฟัง ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็น ผู้สังเกตการณ์” เท่านั้น แต่ยังทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของผู้ร่วมอยู่ในเรื่องราวนั้นๆ ด้วย
นี่คือ เหตุผลที่ว่า ทำไมแม้รู้ทั้งรู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นเพียงฉากมายาที่ผู้สร้างหนังเขาเนรมิตขึ้นมาทั้งสิ้น แต่ผู้ชมก็ยังร่วมตื่นเต้น ร่วมดีใจ ร่วมเสียใจ ร่วมเศร้า ร่วมตลก ซาบซึ้ง ตื้นตัน ไปกับแต่ละฉากเหล่านั้น หมายถึงผู้ชมได้ Engage เข้าแล้วกับตัวภาพยนตร์นั่นเอง
ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “สภาวะกึงลืมตัว” และอธิบายได้ง่ายๆ ด้วยหลักทางจิตวิทยาที่ว่า มนุษย์เราประกอบด้วยจิต 2 ชนิดคือ จิตสำนึก ซึ่งก็คือ จิตที่เราใช้คิด ใช้นึก ทำงาน คิดเหตุผล บังคับร่างกายให้เคลื่อนไหวได้นั่นเอง อีกอันหนึ่งคือ จิตใต้สำนึก อันมีพลังอำนาจมหาศาล ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในทุกส่วนของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว
เมื่อเราหัดเขียน หัดอ่าน หัดขี่จักรยาน หัดขับรถ หัดใช้คอมพิวเตอร์ เราใช้จิตสำนึกกระทำ แต่เมื่อเราอ่านเป็น เขียนเป็น ขี่จักรยานเป็น ขับรถเป็น หรือใช้คอมพิวเตอร์คล่องแล้ว เราล้วนแล้วแต่ใช้จิตใต้สำนึกทำงานเกือบ 100%
จิตสำนึกเชื่อมโยงกับเหตุผล แต่จิตใต้สำนึกเชื่อมโยงกับอารมณ์ของเราโดยตรง และจากการวิจัย พบว่า การตัดสินใจทุกชนิดของมนุษย์ รวมทั้ง “การตัดสินใจซื้อ” ด้วย ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากอารมณ์และจิตใต้สำนึกทั้งสิ้น
เห็นได้ว่าอารมณ์และจิตใต้สำนึกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนักการตลาดและกับ Storytelling ด้วย
คุณสมบัติที่สำคัญของจิตใต้สำนึก ก็คือ มันไม่สามารถแยกแยะความเท็จออกจากความจริงได้! สำหรับจิตใต้สำนึกแล้วความเท็จนั้นเหมือนความจริงทุกประการ ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ คือ ความฝันของเราที่เกิดขึ้นในยามหลับ (ขณะนั้นจิตสำนึกหลับ... ยังเหลือเพียงจิตใต้สำนึกเท่านั้น) เราจะรู้สึกในฝันว่า นั่นเป็นความจริงเสมอ
คุณสมบัติของการเล่าเรื่องที่ดีก็เช่นกัน มันจะสื่อสารตรงเข้าไปถึงจิตใต้สำนึก และเมื่อนั้นมันก็ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องเล่าอีกต่อไป แต่มันเหมือนประสบการณ์ตรงที่ผู้ฟังมีส่วนร่วมเอง และเมื่อเรา “อิน” กับ Story ใดๆ เราก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะทางจิตใจที่นักจิตวิทยาเรียกว่า High Suggestibility หรือ สภาวะจิตใจเปิดรับ
ในสภาวะเช่นนี้ จิตใจของเราจะเปิดรับข้อมูล หรือเรื่องราวนั้นๆ อย่างมีอารมณ์ร่วม และจะมีผลต่อเราถึง 3 ทาง
1. มีผลต่อความกลัว (เช่น กลัวว่าถ้าไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนี้แล้วจะยากลำบาก)
2. มีผลต่อความหวัง (เช่น หวังว่าเมื่อใช้สินค้าหรือบริการนี้แล้วจะดีขึ้น)
3. มีผลต่อการให้ค่า หรือตีคุณค่าของสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อ Branding โดยตรง
ทั้งความกลัว ความหวัง และการให้ค่า ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของเราทั้งสิ้น รวมไปถึงการตัดสินใจซื้อด้วย!
Source : Storytelling by BrandAge Essential Mag.
Create : NokCB
1
โฆษณา