5 ธ.ค. 2019 เวลา 12:26 • ธุรกิจ
ทำความรู้จัก SSF & RMF
เครื่องมือสำคัญในการลดหย่อนภาษี
ก่อนหน้านี้ ถ้าให้พูดถึงการออมเงินที่พ่วงมาด้วยสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีก็คงจะเป็นกองทุน LTF ที่ทุกคนคุ้นเคย
แต่ก็อย่างที่หลายๆคนทราบ ว่าสิทธิทางภาษีของกองทุน LTF นั้นกำลังจะหมดไปในเดือนธันวาคมนี้แล้ว ทำให้ทางคณะรัฐมนตรีได้ประชุมหารือกัน จนในที่สุดก็ได้มีความเห็นชอบให้ปล่อยกองทุนแบบใหม่ออกมา
ใช่แล้วครับ มันคือ SSF หรือที่มีชื่อเต็มๆว่า Super Saving Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่จะเข้ามาเป็นตัวเลือกและตัวแทนสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง, น้อย หรือผู้ที่เพิ่งจะเริ่มทำงาน โดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมาจูงใจเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาเริ่มออมเงิน
พร้อมกันนั้นยังได้ปรับอัตราการลดหย่อนภาษีสำหรับกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) อีกด้วย
วันนี้เราเลยจะมาอธิบายให้อ่านกันเกี่ยวกับกองทุน SSF และหลักเกณฑ์ใหม่ของกองทุน RMF
SSF คืออะไร ?
SSF เป็นกองทุนใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทในการลดหย่อนภาษี ซึ่งสามารถลดได้ “ไม่เกิน 30%” ของรายได้พึงประเมิน โดยเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท และที่สำคัญ SSF จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท ต่างจาก LTF ที่กำหนดให้ลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 65%
สำหรับระยะเวลาก็จะต้องถือครองไม่ต่ำกว่า “10 ปีจากวันซื้อ” ไม่มีขั้นต่ำและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และหากทำตามเงื่อนไขการถือครอง เงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน SSF จะได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย
1
แต่สำหรับคนที่มี LTF ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะยังไม่ได้หายไปไหน แค่จะหมดสิทธิประโยชน์ของภาษีในเดือนธันวานี้เท่านั้น ส่วนใครที่อยากซื้อก็ยังสามารถซื้อได้ต่อไป
RMF เปลื่ยนไปอย่างไรบ้าง ?
ส่วน RMF หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก็มีการปรับเปลื่ยนกฎเกณฑ์ในเรื่องของการ ”ลดหย่อนภาษี” จากเดิมลดหย่อนได้ไม่เกิน “15% เพิ่มเป็น 30%” แต่เพดานของการลดหย่อนยังอยู่เท่าเดิมที่ 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณต่างๆ
อีกทั้งยัง “ยกเลิกกำหนดจำนวนขั้นต่ำ” ในการซื้อ RMF อีกด้วย จากเดิมที่กำหนดให้ซื้อไม่น้อยกว่า 3% ของรายได้พึงประเมินหรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
ก็จะเห็นว่าทางรัฐบาลก็ได้ออก SSF และปรับปรุง RMF ให้มีสิทธิประโยชน์ทางการลดหย่อนภาษีที่มากขึ้น เหตุผลก็เพื่อการสนับสนุนให้ประชาชนรู้จักการออมเงินกัน
โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย SSF ก็จะกลายมาเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าจะต้องถือนานถึง 10 ปี แต่นั่นก็จะแลกมาด้วยความผันผวนที่น้อยกว่าการลงทุนในระยะที่สั้นกว่านั้น
แต่สำหรับผู้ที่ค่อนข้างมีอายุและไม่สะดวกที่จะถือนานๆ ก็อาจจะมองไปที่กองทุน RMF เพราะจะสามารถขายคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปี แต่นอกเหนือจากที่อธิบายไปแล้ว RTF ยังมีข้อกำหนดอื่นๆคงเดิมนะครับ
สำหรับเรื่องที่ใครหลายๆคนเป็นห่วงกันก็คือเรื่อง “ผลกระทบกับตลาดหุ้น” ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะปกติแล้วเม็ดเงินจากกองทุน LTF จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นปีละราวๆ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็แน่นอนว่าคนเค้าซื้อ LTF กันเยอะเพื่อลดหย่อนภาษีด้วย
แต่ถ้า SSF มีความน่าสนใจน้อยลง อาจจะด้วยระยะเวลาที่ต้องถือถึง 10 ปีหรืออะไรก็ตามแต่ เงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นก็ต้องลดลง ที่สำคัญคือ LTF ยังกำหนดให้ลงทุนในหุ้นถึง 65% แต่กองทุน SSF นั้นไม่ได้มีกำหนดไว้
1
และนี่ก็เป็นรายละเอียดของกองทุนใหม่ SSF และเงื่อนไขใหม่ของกองทุน RMF ที่เราได้สรุปมาฝากกันในวันนี้ คิดว่าทุกคนคงจะเข้าใจ SSF และ RMF กันมากขึ้นแล้ว
เพราะการออมเงินนั้นคือสิ่งจำเป็น ที่จะสร้างนิสัยทางการเงินของเราให้มีระเบียบและยังทำให้เรามีเงินไว้ใช้จ่ายในอนาคตหรือยามฉุกเฉินอีกด้วย
เหมือนที่เค้าเคยพูดกันไว้ว่า
ได้เงินเท่าไหร่ ไม่สำคัญเท่าเหลือเก็บเท่าไหร่
จริงไหม ??
ขอ 1 ไลค์ 1 แชร์สำหรับความรู้ดีๆแบบนี้
✨สนใจเรียนรู้เรื่องการลงทุนแอดมาเลยครับ ทุกอย่างฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย^^
Line ID: @BestCom (มีตัว@ด้วยนะครับ)
หรือคลิ๊กมาเลยที่: http://line.me/ti/p/@ldj3404k
โฆษณา