6 ธ.ค. 2019 เวลา 03:21 • ธุรกิจ
นิยามอายุเกษียณที่ 60 ปี อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป
เมื่ออายุที่มากขึ้น ไม่ได้ทำให้ประชากรไทยและทั่วโลกรู้สึก “สูงวัย”
หลายทศวรรษที่ผ่านมา นิยามของความหนุ่มสาว
ได้ผูกขาดและจำกัดความกับ “เลขของอายุไข” อายุที่มากขึ้น เคยหมายถึงความหนุ่มสาวที่ลดลง
แต่ในปัจจุบัน Perception หรือความรู้สึกต่ออายุเปลี่ยนไปมาก ผู้ที่มีอายุที่ 60 ปีขึ้นไป ก็ไม่ได้รู้สึก “สูงวัย” อีกต่อไป
ในประเทศอังกฤษ จากรายงานโดย Centre for Aging Better พบว่า คนในประเทศอังกฤษที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ยังคงทำงานอยู่ในบริษัท และ เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่สร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ
สำหรับในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ประชากรไทยที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวนไม่น้อยยังคงทำงานอยู่ หลายคนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ยังคงถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับคนในรุ่นใหม่ในองค์กร
ภาพจำของการมีอายุ 60 ปี ยังคงเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง อายุ 60 ปี อาจไม่ได้เป็นการสิ้นสุดการทำงานเสมอไป
แต่ทว่า...เป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตอีกครั้ง
ที่มา:
รายงาน THE PERENNIALS โดย Ipsos และ
Centre for Better Aging
TDRI Annual Public Conference 2019
“อะไรจะเปลี่ยนไป... เมื่อไทยกลายเป็นสังคมอายุยืน?” โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
โฆษณา