22 ธ.ค. 2019 เวลา 16:10 • ไลฟ์สไตล์
📚 สมุดเล่าเรื่องที่ 19
** การใช้ชีวิตแบบ Zero Waste **
🗣 การใช้ชีวิตแบบ Zero Waste คือการหมุนเวียนนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะไม่สร้างขยะใหม่ โดยพยายามไม่ให้มีอะไรหลงเหลือจนเป็นขยะได้ โดยยึดหลักปฏิบัติง่าย ๆ ...
1. Avoid > หลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่ม
2. Reduce >ใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง
3. Recycle > การหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่
^ การใช้ชีวิตประจำวันแบบ Zero Waste ทุกคนช่วยกันลดปริมาณขยะในชุมชนได้ ดังนี้
Credit photo Thaihealth
1. พกถุงผ้าคู่ใจ
ปฏิเสธการใช้ถุงหิ้วพลาสติกด้วยการพกถุงผ้าใบโปรด เวลาไปจับจ่ายซื้อของที่ตลาด หรือที่ร้านค้า เพราะเราคงไม่อยากให้คนอื่นรู้ว่าวันหนึ่ง ๆ เวลาเราไปช้อปปิ้งเราซื้อของอะไรมาบ้าง
2. ไม่รับช้อน ส้อม ตะเกียบพลาสติก
ช้อนส้อมพลาสติกอาจจะสะดวกในการใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่กลับใช้เวลาย่อยสลายหลายร้อยปี มิหนำซ้ำตะเกียบใช้แล้วทิ้งบางยี่ห้อจะใส่สารฟอกขาวเกินมาตรฐาน และอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ แถมยังแพ็คมาในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง เพิ่มจำนวนขยะไปอีก จะดีกว่าไหมถ้าเราพกอุปกรณ์มาเอง ใช้สะดวกและแข็งแรงกว่าพลาสติกเยอะเลย คุ้มค่ากว่าเห็น ๆ ในต่างประเทศพัฒนาไปไกลถึงขั้นคิดค้นช้อนกินได้ที่ผลิตมาจากข้าวฟ่าง เพื่อเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมไร้พลาสติกในอนาคต
3. ขวดเดียวแก้วเดิม เพิ่มเติมคือใช้ซ้ำ
วันหนึ่งเราดื่มน้ำคนละกี่แก้ว ยังไม่นับรวมชา กาแฟ น้ำหวานอื่น ๆ นับรวมกันแล้วเป็นขยะหลายชิ้นทีเดียว พกขวดน้ำประจำตัวดีกว่า ใช้แล้วล้างก็สะอาด ดีกว่าการใช้ขวดพลาสติก ที่เสี่ยงต่ออันตรายเมื่อใช้ซ้ำ อีกทั้งกระบวนการผลิต และการทำลายขวดพลาสติกก่อให้เกิดก๊าซพิษ ที่กระทบต่อคน และสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อนนั่นเอง ปัจจุบันเป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้ประกอบการหลายแห่งตระหนักถึงปัญหานี้ และสนับสนุนให้ลูกค้านำแก้วมาเอง พร้อมมอบส่วนลดราคาเครื่องดื่มให้
4. ลด - เลิกการใช้หลอดพลาสติก
ปัญหาขยะพลาสติกล้นท้องทะเล ส่งผล
กระทบต่อระบบนิเวศน้ำ หลอดพลาสติกเป็นหนึ่งในขยะพลาสติกที่พบบ่อยที่สุดเมื่อมีการทำความสะอาดชายหาด มากพอ ๆ กับขวดน้ำ ถุงพลาสติก และแก้วพลาสติก ด้วยความที่หลอดมีน้ำหนักเบา ทำให้ขยะเหล่านี้พัดปลิวลงทะเล กระทบต่อสัตว์น้ำในทะเลมีแนวโน้มเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย เนื่องจากกินพลาสติกเข้าไปนั่นเอง การใช้หลอดใช้ซ้ำอย่างเช่น แบบสเตนเลส ซิลิโคน แบบไม้ไผ่ หรือหลอดแก้วใส จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ และอย่าลืมพกแปรงจิ๋วเพื่อทำความสะอาดให้ถูกสุขอนามัยด้วย
5. คัดแยกขยะก่อนทิ้ง
เป็นวิธีที่เบสิคสุด ๆ แต่เป็นสิ่งที่หลายคนละเลย การคัดแยกขยะให้มีประสิทธิ
ภาพ ควรเริ่มจากต้นทางที่บ้านเราเอง โดยคัดแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร สามารถนำไปผลิตเป็นปุ๋ยหมักได้
2. ขยะรีไซเคิล สามารถนำมาแปรรูปได้อีกครั้ง เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ
3. ขยะที่มีองค์ประกอบของสารอันตราย ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้ปนเปื้อน รั่วซึมกับแหล่งน้ำ และพื้นดิน
4. ขยะทั่วไป เช่น ถุงขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ใช้เวลาย่อยสลายนาน ไม่เหมาะที่จะนำกลับมาใช้ใหม่
🔅เห็นมั้ยครับว่าการใช้ชีวิตแบบ Zero Wase ไม่ได้ยากเกินกำลังเลย เริ่มเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราเองก่อน แล้วส่งเสริมคนรอบข้างมาร่วมอุดมการณ์ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ สร้างเครือข่าย และสังคมที่น่าอยู่ร่วมกัน มอบสิ่งดี ๆ ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
# การใช้ชีวิตแบบ Zero Waste
By : Krungsri Plearn Plearn
ชอบโพสต์ : ช่วย กดถูกใจ ♥️
ชอบใจ : ช่วยกดติดตามครับ
โปรดติดตาม 📚 สมุดเล่าเรื่องที่ 20

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา