27 ธ.ค. 2019 เวลา 10:29
News FTA ผลิตภัณฑ์ยางยอดพุ่ง [เทคโนยาง..ยางไงกัน]
ผลิตภัณฑ์ยาง
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ยางไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 1.6 แม้อยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลก
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และออสเตรเลีย
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางนอกที่ใช้กับยานพาหนะ และถุงมือยาง
ผลิตภัณฑ์ยางไทย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยางของไทยเติบโต คือ การที่สินค้าผลิตภัณฑ์ยางของไทยไม่ถูกเก็บภาษีศุลกากรในประเทศผู้นำเข้า เนื่องจากการทำความตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ กับประเทศต่างๆ
ซึ่งไทยทำข้อตกลงเอฟทีเอ 13 ฉบับกับ 18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง
การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปยังประเทศคู่ค้า FTA
โดยใน 14 ประเทศ ยกเว้น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ชิลี เปรู ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์ยางส่วนใหญ่จากไทยแล้ว แต่คงการเก็บภาษีในบางรายการ
นอกจากนี้การส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ที่ผ่านมาไทยได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือจีเอสพี และสหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นแทนจากจีน หลังเกิดปัญหาสงครามการค้า มีส่วนทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้กรมเจรจาฯ จะเร่งหาข้อสรุปเอฟทีเอที่อยู่ระหว่างการเจรจารวมถึงการเปิดเจรจาเอฟทีเอใหม่ๆ อาทิ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟต้า) เป็นต้น เพื่อผลักดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงสินค้าอื่นๆ
โดยสินค้าส่งออกของไทยอันดับต้นๆ คือ
อันดับ 1 สินค้ารถยนต์และส่วนประกอบ
อันดับ 2 เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ
อันดับ 3 อัญมณีและเครื่องประดับ
อันดับ 4 ผลิตภัณฑ์ยาง
อันดับ 5 เม็ดพลาสติก
โดยตั้งแต่ปี 2561 ไทยขยับขึ้นมาครองตำแหน่งเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางสูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจาก จีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา และมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ในช่วงระหว่าง ปี 2553-2561 มูลค่าการส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์ยางของไทยไปประเทศคู่เอฟทีเอขยายตัวเพิ่มขึ้นมากทุกตลาด เช่น อาเซียน ขยายตัวร้อยละ 5,847 จีนขยายตัวร้อยละ 3,230 ออสเตรเลียขยายตัวร้อยละ 431 อินเดียขยายตัวร้อยละ 378 และญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 118 เป็นต้น
โฆษณา