💡รู้หรือยังกับคิดอีกมุม😉
📢คุณสามารถวัดระดับออกซิเจนในเลือดได้เองด้วยเครื่องเดียวเท่านั้น!? แถมวัดชีพจรได้โดยไม่ต้องใช้สมาร์ทวอชในราคาไม่กี่ร้อย!!
...ยิ่งคุณมีอาการบกพร่องทางการหายใจก็ควรจะมีไว้สักเครื่อง!!!...
#แชร์นวัตกรรมกับคิดอีกมุม
#คิดอีกมุมชวนให้คุณรู้ดี
#คิดอีกมุม2020
#แชร์สาระน่ารู้
"จงรู้..ดี" #21 (cr: gearbest)
"สมัยนี้เทคโนโลยีก้าวล้ำมากขึ้นเกินที่เราจะคิดไว้ การตรวจสุขภาพด้วยตัวเองทำได้ไม่ยากแล้วในสมัยนี้ ลองมาดูวิธีการทำงาน และระดับค่าระดับออกซิเจนในเลือดที่ปกติว่าเป็นอย่างไรบ้าง!? แถมเครื่องนี้วัดชีพจรได้อีกด้วยโดยไม่ต้องพึงพาสมาร์ทวอร์ช เรื่องของการระวังสุขภาพด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แอดมินเองก็มีเครื่องนึง เรื่องโรคภัยไม่จำกัดอายุ ไม่ต้องรออยู่ในวัยสูงวัยก่อนก็ตรวจได้ ตรวจเช็คตัวเองที่บ้านในราคาไม่กี่ร้อยบาทแต่มีคุณภาพก็มีให้ซื้อหากันได้ ไม่ต้องแพงหรอกนะจ๊ะ" :หยาดเพชรสราญ
✨นี่คือค่าของแอดมินเองจ้า😍เลขสวยจังเลย อิอิ🎶
หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter)
by adler
(Hemoglobin) ฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
แต่ละชนิดที่สามารถถูกตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ดังนี้
(Fingertip Pulse Oximeter)
1.Oxyhemoglobin (ออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือด
2.Deoxyhemoglobin หรือ Reduce Hemoglobin (ดีออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่ปลดปล่อยออกซิเจนออกไปแล้ว โดยส่วนมากจะจับกับ Carbon Dioxide ซึ่งปลดปล่อยออกมาจากเซลล์
3.Carboxyhemoglobin (คาโบออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับ Carbon Monoxide ปกติมีปริมาณน้อยมากจนแทบไม่มีเลย แต่ปริมาณสามารถเพิ่มมากขึ้นได้ในกรณีที่ได้รับสาร Carbon Monoxide
4.Methemoglobin(เมธฮีโมโกลบิน) เป็นฮีโมโกลบินที่ภายในโมเลกุลมีธาตุเหล็กที่มีประจุเป็น 3+ แทนที่จะเป็น 2+ ทำให้ไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้
หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Finger Pulse Oximeter)
1
เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) นั้นเป็นเครื่องตรวจวัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือดแดง ดังนั้นเงื่อนไขการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) จึงต้องประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วนคือ
1.สามารถแยกระหว่างฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนและที่ไม่ได้จับอยู่กับออกซิเจนได้
2.สามารถแยกได้ว่าออกซีฮีโมโกลบินนั้นเป็นออกซีฮีโมโกลบินที่อยู่ในเลือดแดง (ไม่ใช่ในVenous Blood เพราะปกติใน Venous Blood ก็มีออกซีฮีโมโกลบินอยู่แล้ว)
การวัดปริมาณออกซีฮีโมโกลบินแยกกับดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin)
ในการวัดระดับออกซีฮีโมโกลบินกับดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin) นั้นอาศัยหลักการของ Light Absorption คือสารต่างชนิดกันจะมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน หากใช้แสงชนิดที่มีความเจาะจงกับออกซีฮีโมโกลบินฉายผ่านบริเวณที่มี
1
ออกซีฮีโมโกลบินสารนี้ก็จะดูดซับแสงไป ส่วนที่เหลือก็จะทะลุผ่านไปยังฉากรับที่อยู่ด้านล่างซึ่งจะมีตัววัดปริมาณแสงที่เหลืออยู่นำไปคำนวณปริมาณแสงที่หายไป ก็จะรู้ได้ว่ามี
ออกซีฮีโมโกลบินอยู่เท่าใด ส่วนดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับแสงที่ค่าความยาวคลื่นอื่น ก็ใช้ค่าความยาวคลื่นอื่นแต่ใช้วิธีการเดียวกัน
จากการวิจัยพบว่าออกซีฮีโมโกลบินนั้นมีคุณสมบัติดูดซับแสงที่มีคลื่นความยาว 940 nm ซึ่งเป็นความยาวคลื่นระดับอินฟราเรด (ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า) แต่ดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin) สามารถดูดซับแสงได้ดีที่คลื่นความยาว 660 nm ซึ่งเป็นแสงสีแดง ดังนั้นแสงที่แสดงเวลาเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) ทำงานส่วนใหญ่จะเป็นแสงสีแดง เวลาเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) ทำงาน
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) จะทำการยิงลำแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน 2 แบบนี้ผ่านลงไปจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งพร้อมๆกันจากนั้นใช้หลักการวัดตามที่ดังกล่าวมาข้างต้น
เมื่อสามารถวัดค่าประมาณของฮีโมโกลบินทั้งสองแบบไว้ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคำนวณค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) สูตรการคำนวณคือ
O2 Saturation from Fingertip Pulse Oximeter (SpO2) = Oxyhemoglobin/(Oxyhemoglobin + Deoxyhemoglobin) x 100
การวัดค่า Arterial Blood และ Venous Blood
จะรู้ได้อย่างไรว่าค่าที่วัดมาได้นั้นมาจากเลือดฝั่ง Arterial Blood เท่านั้นไม่รวมกับ Venous Blood วิธีการคือ ใช้หลักการวัดตามวิธีการข้างต้นแต่วัดเปรียบเทียบในช่วงเวลาที่ต่างกันคือ เวลาที่มีความแรงของชีพจรสูงสุด (มีทั้ง Arterial Blood และ Venous Blood) เทียบกับเวลาที่ความแรงชีพจรต่ำสุด (มีแต่ Venous Blood) โดยเครื่องจะอาศัยหลักการยิงลำแสงที่หลายร้อยครั้งต่อวินาทีเพื่อจับค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) ในเวลาที่ต่างกัน จากนั้นจะใช้ค่าที่ได้จากช่วงที่ความแรงชีพจรสูงสุดเทียบกับเวลาที่ความแรงชีพจรต่ำสุดแล้วเอามาคำนวณโดยการหักลบกัน *การวัด SpO2 ค่าสามารถคลาดเคลื่อนได้เฉลี่ย ±2%*
Remark
ค่าออกซิเจนในเลือด (SpO2) : ต่ำกว่า 95% หมายถึง ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่ามาตรฐาน
ค่าชีพจร (Pulse Rate) : น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 100 ครั้ง/นาที หมายถึงค่าชีพจรผิดปกติ
cr: adler
cr: adler
#เป็นห่วงผู้อ่านทุกๆคน💞
#แชร์ด้วยใจปรารถนาดี
#แชร์สาระดีน่ารู้
#ขอบคุณทุกการติดตาม
31 ถูกใจ
14 แชร์
5.3K รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 31

    ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
    โฆษณา