11 ม.ค. 2020 เวลา 07:54 • ธุรกิจ
อย่างเดียว....แต่ปัง !
ผ่านมาเกือบครึ่งเดือนมกราคม 2563 แล้ว น่ายังไม่มีบทความดีๆมาฝากทุกคนเลยค่ะ
ช่วงนี้ติดงาน Event หลายที่
ขอเริ่มแบ่งปันบทความแรกของปี ตามสไตล์ แม่ค้าก็แล้วกันนะค่ะ
งาน Event ของน่า ก็คือ การเข้าร่วม กิจกรรม ของกลุ่มหาอาชีพให้กับกลุ่มสตรี ส่วนของน่า เป็นส่วนของ อาชีพแม่ค้า เป็นการแชร์เทคนิค การขายของในตลาด ซึ่งมีการติดตามผลด้วย
ในส่วนของเรื่องแรกที่น่ามาแชร์คือ การสร้างแบรนด์สินค้า การจดจำสินค้า
ไม่ว่าเราจะขายอะไร ขายที่ไหน การที่ผู้คนจะจดจำสินค้าเรานั้นสำคัญมากๆ
การขายของในตลาดนัดก็เช่นกัน อย่ามองข้าม เรื่องการจดจำสิ่งที่เราขาย
ในส่วนของน่าขายของกิน น่าจึงจะแชร์ประสบการณ์เรื่องนี้ค่ะ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนใช้กับการขายต่างๆได้เช่นกัน
สังเกตุกันไหมคะว่า เวลาเราจะหาซื้อ ของมาใช้ หรือ จะหาอะไรมากิน เรามักจะเลือกร้านที่เราจะเข้าไปซื้อเสมอและน่าเชื่อว่าหลายๆคนจะมีพฤติกรรมเช่นนี้
❤มองหาร้านหลายๆร้านเพื่อเป็นตัวเลือก
❤มองดูความโดดเด่นของสินค้า
เช่น ความสดใหม่
❤และมักสะดุดตากับสินค้าที่เราต้องการ
และจะเดินปรี่เข้าไปทันที
2
ที่น่ายกตัวอย่างมานั้น ...ล้วนแต่เป็นการเข้ามาด้วยสินค้าเราทั้งนั้น
หากเราขายหลายอย่าง
อย่างละนิด อย่างละหน่อย
สิ่งที่ลูกค้ามองคือ มันมีน้อย ตัวเลือกน้อย
มองดูไม่มุ่งเน้นสิ่งที่เราขาย
น่ามี เคสแม่ค้าคนหนึ่ง ค่ะ
เคสนี้มีการติดตามผลแล้วก่อนที่น่าจะมาเขียนบทความ
แม่ค้าคนนี้ เมื่อก่อน ขาย
ปลาหมึกย่าง
ลูกชิ้นทอด ลูกชิ้นปิ้ง
หมูปิ้ง
ไก่ย่างนมสด
แหนมย่าง
ขายหลายอย่างในร้านเดียว
เพียงเพราะคิดว่าขายหลายอย่าง
จะทำให้ลูกค้าไม่ไปร้านอื่น...
นี่คือมุมของคนขาย
แต่สุดท้ายไม่เป็นอย่างที่คิดเพราะในมุมของคนซื้อเค้าจะมองว่า...
"ไม่รู้เราขายอะไร และอะไรเด็ดสุดของร้าน"
และเท่ากับว่าเราไม่มีแบรนด์สินค้า
เคสนี้ น่าเลยถามไปตรงๆว่า..
" น้องขายดีไหมคะ "
น้องเค้าตอบมาตรงๆว่า
" ขายดีบางอย่างค่ะ แต่อย่างอื่นก็พอขายได ้"
น่าเลยถามต่อว่า
"น้องขาย อะไรคะ เวลาพี่ไปหาน้อง พี่จะไปหาที่ตรงไหนของตลาดที่น้องขายอยู่
เอาแบบง่ายๆที่พอพูดถึงก็รู้ว่าเป็นร้านน้องเลยอะค่ะ"
ปรากฏว่าน้องเค้า บอกรายละเอียดถี่ยิบ ซึ่งมันแปลว่า ร้านน้องยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้า
นั่นแปลว่าน้องไม่ค่อยมีฐานลูกค้าประจำ
หรือสินค้าที่จะ ทำให้รู้จักร้านน้องเค้าโดยตรง
ขอยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพอีกที
เช่นร้านขายปอเปี๊ยะทอด (ของน่า)
น่าก็จะขายปอเปี๊ยะทอดอย่างเดียว
แต่มีหลากหลายรสชาติให้ลูกค้าเลือก
ผู้คนส่วนใหญ่จะจดจำน่าใน ฐานะ แม่ค้าปอเปี๊ยะ
เมือนึกถึงปอเปี๊ยะก็นึกถึง ตัวน่า ซึ่งเป็นคนขายปอเปี๊ยะ
และเมื่อเห็นน่า ก็จะนึกถึง ปอเปี๊ยะ ซึ่งน่าเป็นขาย
สรุป คือ ปอเปี๊ยะทอด คือแบรนด์ สินค้า ของน่า นั่นเอง
เพราะฉะนั้น แบรนด์สินค้า ไม่ใช่แต่โลโก้ หรือป้ายชื่อสินค้า แต่มันคือ สิ่งที่เราสามารถทำให้คนจดจำตัวผู้ขายได้ด้วยสินค้านั้น ๆ ค่ะ
วันนี้ยาวแล้ว...กลัวคนอ่านจะเบื่อ
วันหน้า น่าจะมาแบ่งปัน เรื่องราวของเคสนี้ต่อนะคะ
ถ้าใครกำลังมาสายนี้ติดตามไว้เลยค่ะ
-Zarina-
โฆษณา