11 ม.ค. 2020 เวลา 17:04 • ประวัติศาสตร์
ถนนเมืองบางกอก - จากสายน้ำสู่เมืองบก (2)
เมื่อตอนที่แล้ว เราสรุปได้ว่า 'ถนน' ในกรุงเทพฯ มีขึ้นเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีเป็นหลักเท่านั้น การคมนาคมของชาวพระนครผูกพันอยู่กับแม่น้ำลำคลองเป็นหลัก
แล้วอะไรคือจุดเปลี่ยนนี้?
คำตอบคือ 'สนธิสัญญาเบาว์ริง' (ฺBowring Treaty) ที่สยามลงนามกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2398 ครับ
สนธิสัญญาเบาว์ริง ได้กำหนดไว้ว่าที่ดินภายในกำแพงพระนครและนอกกำแพงพระนครออกไป 8 กิโลเมตร ชาวยุโรปและคนในบังคับจะซื้อที่ดินไม่ได้ หากต้องการซื้อที่ดินจะต้องพ้น 8 กิโลเมตรนับจากกำแพงพระนคร
ด้วยข้อกำหนดนี้ ชาวตะวันตกจึงต้องตั้งบ้านเรือนและโกดังสินค้าห่างไกลจากพระนคร ทำให้เกิดปัญหาการเดินทางและขนส่งสินค้าเข้ามาในพระนคร
ดังนั้น ชาวตะวันตกเหล่านี้จึงเข้าชื่อกันถึงราชสำนักขอให้สร้างถนนและขุดคลองเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวตะวันตกในการเดินทางและขนส่งสินค้า
....
สนธิสัญญาเบาว์ริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สยามจะต้องสร้างถนนแบบตะวันตกสายแรกขึ้นนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อ
'ถนนพระรามที่ 4'
โฆษณา