29 ม.ค. 2020 เวลา 00:30 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา : การปรับปรุงการบริหารวัตถุดิบคงคลังโรงงานผลิตชิ้นส่วนตลับลูกปืน ABC (ภราภรณ์ ทศพร , 2559)
https://www.google.com/url?sa=i&source=images&cd=&ved=2ahUKEwjs8fqBzKbnAhXi6nMBHYjDA_sQjRx6BAgBEAQ&url=http%3A%2F%2Forganizedepo.com%2Furun%2F6206-zz-skf-rulman%2F&psig=AOvVaw2Y95iL4e1b-sl-I3pW58RL&ust=1580311027655609
บริษัทผลิตชิ้นส่วนตลับลูกปืน ABC ยังขาดปริมาณการสั่งซื้อ และปริมาณจัดเก็บสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ใช้เพียงประสบการณ์ของผู้ปฎิบัติงานเป็นหลัก ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบต่อยอดขายสูงเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยวัตถุดิบในกรณีศึกษาคือเหล็กแผ่นที่ใช้ในการผลิตฝาครอบ (Shield) และประกบลูกปืน (Cage) โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. Silver Top 2. Stainless (AISI 304)
3. SPCC-SB
สาเหตุของต้นทุนวัตถุดิบสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย
1. การวางแผนผลิตที่ไม่แน่นอน ไม่มีการพยากรณ์และไม่ทราบความต้องการที่แท้จริง (Actual Demand) ของลูกค้า หรือปรากฎการณ์ Bullwhip Effect
2. พื้นที่การจัดเก็บมีจำกัด ทำให้ซื้อมาเก็บทีละมากๆ ไม่ได้
3. ไม่มีนโยบายด้านสินค้าคงคลัง (Inventory Policy) ทำให้วัตถุดิบบางรายการมีมากเกินไป ส่งผลทำให้ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังสูงตามไปด้วย
4. การสั่งซื้อวัตถุดิบยังคงใช้ประสบการณ์ผู้ปฏิบัติงาน ไม่มีทฤษฎีหรือหลักการใดๆ มาสนับสนุนการทำงาน
ข้อมูลยอดขาย ต้นทุนวัตถุดิบ และมูลค่าวัตถุดิบคงคลัง ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม 2559
จากข้อมูลข้างต้นพบว่า
1. ต้นทุนวัตถุดิบสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของยอดขายในแต่ละเดือน
2. มูลค่าวัตถุดิบคงคลังสูงกว่า 1 ล้านบาททุกเดือน ซึ่งเกินความจำเป็น
3. วัตถุดิบล้นคลังส่งผลให้ต้นทุนการจัดเก็บและต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น
แนวทางการปรับปรุงแก้ไข
1. จำแนกหมวดหมู่วัตถุดิบโดยใช้ทฤษฎี ABC Classification โดยพบว่าสามารถแบ่งกลุ่มเป็น 3 Category ตามมูลค่าการใช้งาน ดังนี้
กลุ่ม A มี 10 ชนิด สัดส่วน 78.02 % มูลค่าการใช้ 171 ล้านบาท
กลุ่ม B มี 10 ชนิด สัดส่วน 16.22 % มูลค่าการใช้ 35 ล้านบาท
กลุ่ม B มี 16 ชนิด สัดส่วน 5.76 % มูลค่าการใช้ 12 ล้านบาท
2. คำนวณปริมาณการสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อใหม่ และกำหนดนโยบาย
โดยการคำนวณพบว่า 1. หากความต้องการใช้วัตถุดิบคงที่ควรใช้วิธีการสั่งซื้อแบบประหยัด (EOQ) ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนรวมได้ 601,431 บาท
2. หากความต้องการใช้ไม่คงที่ให้ใช้วิธี New Boy และ Silver Meal ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนรวมได้ 14,943 บาท
สรุปประเด็นจากรณีศึกษา
1. การจัดการสินค้าคงคลังที่ดีช่วยให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง
2. การแบ่งหมวดหมู่สินค้าคงคลังจะช่วยให้เราสามารถจัดการสินค้าคงคลังในแต่ละกลุ่มง่ายขึ้น เพราะจะให้น้ำหนักในการติดตาม/ตรวจสอบไม่เท่ากัน
3. ควรกำหนดนโยบายการสั่งซื้อสินค้าแต่ละกลุ่มเพื่อให้เกิดต้นทุนรวมน้อยที่สุด และมีวัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิตไม่กระทบต่อความพึงพอใจลูกค้า
เขียนโดย Logistics Contents 29/1/2563
ฝากติดตามข่าวสารและเป็นกำลังใจให้ Logistics Contents

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา