6 ก.พ. 2020 เวลา 04:23 • การศึกษา
ในระบบการศึกษาสมัยก่อนใครสอบได้ 80 เปอร์เซ็นต์ถือว่าเก่งสอบได้ 90 เปอร์เซ็นต์ถือว่าสุดยอดและมักมีโอกาสผ่านชั้น การเรียนเก่งหมายถึงได้คะแนนสูงนี่ (คือกรอบคิดที่ 1)
1
สมัยนั้นใครได้คะแนนตอนมัธยมปลายสูงๆ มักเรียนต่อในสองคณะยอดฮิตคือ แพทยศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์ ไม่มีนักเรียนที่ได้คะแนนสูงๆคนไหนเลือกเป็น ครู หรือ เกษตรกร หรือประมง หรือ นักปรัชญา เราปลูกฝังเด็กว่า ถ้าเรียนเก่งควรไปเรียนคณะวิชาที่คะแนนสอบเข้าสูงที่สุดมากกว่าสายวิชาที่ตัวเองชอบนี่คือ (กรอบคิดที่ 2)
ด้วยความเก่งทางวิชาการ เด็กเหล่านี้ย่อมเรียนจบไม่ยาก และทำงานต่อไปอีก 30-40 ปีโดยอาจไม่ชอบงาน เรียนแบบนี้ใช้ชีวิตแบบนี้ก็อาจ"เสียของ"เปล่าๆ ค่านิยมนี้กลายเป็นกรอบที่ปิดล้อมความคิดทำให้คนเรียนเก่งไปรวมกันเป็นกระจกที่เฉพาะบางสาขา วิชาอันเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะถ้าเราเพิ่มคนเรียนเก่งเข้าไปในสายวิชาอื่นๆ น่าจะพัฒนาวงการต่างๆได้หลากหลายขึ้น
1
และนอกจากนี้เรายังตกอยู่ในกับดักความคิดว่า การเรียนรู้อยู่ในห้องเรียนเท่านั้น และใบปริญญาคือใบกำาหนดชะตาชีวิตนี่คือ (กรอบคิดที่ 3)
แต่ในยุคที่เรามีมหาวิทยาลัยเต็มเมือง คุณภาพของ "คนเก่ง" แบบนี้ยังเป็นเครื่องหมากยคาถามในมาตรฐานโลก ข้อมูลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาโลกชี้ว่ากระบบการศึกษาของเรายังต้องพัฒนาอีกมาก คะแนนสูงอาจไม่พออีกต่อไปคนเก่งยุคใหม่ต้องร้รอบด้านเก่งทั้งวิชาการ และมีมนุษยสัมพันธ์ วิสัยทัศน์ วิเคราะห์เป็นคิดนอกกรอบ ตรงต่อเวลา แต่ถึงจะเก่งในนิยามนี้ก็ไม่เพียงพอหากไร้คุณธรรมรองรับ
น่าเสียดายที่สังคมแยกความเก่งกับความดีออกจากกัน "เขาเป็นคนเก่ง" "เขาเป็นคนดี” และมักรวม "เก่ง" กับ "รวย" เข้าด้วยกัน "เขาเก่งจึงรวย" "ต้องเก่งจึงรวย" นี่คือ (กรอบคิดที่ 4)
ปราศจากคุณสมบัติเก่งและมีคุณธรรมแล้ว มีมหาวิทยาลัยล้านแห่ง บัณฑิตหลายล้านคน สังคมก็ยังไร้ปัญญาเพราะหลายคนใช้ความฉลาดในทางที่ผิด
ทั้งหมดนี้คือความเก่งในด้านสมรรถภาพความสามารถที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่เคยเห็นคนเก่งคนมีฐานะหน้าตากลัดกลุ้มไหม? คนเหล่านี้มีฐานะและความเป็นอยู่ที่เอื้อให้มีความสุขแต่กลับมุมในความทุกข์ นี่บอกว่าบางที่เก่งสุดยอดก็ไม่เก่งพอถ้าชีวิตไร้ความสุข
คุณสมบัติเก่งและฉลาดอาจทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่ก็อาจจะยังไม่ดีพอที่ทำให้ชีวิตมีความสุข ตัวอย่างมากมายในโลกบอกว่า คุณสมบัติเก่งและฉลาดสองอย่างนี้ไม่ได้ทำให้ชีวิตมีความสุขเสมอไป
เราอาจสงสัยว่าในเมื่อพวกนี้ เก่ง ฉลาด มีเงิน มีความรู้ และมีสถานะในสังคม ทำไมยังต้องกลุ้มใจอีก
ถ้าเก่งจริงฉลาดจริงทำไมไม่มีความสุข? สามารถยิ้มแต่เลือกซึมเศร้า สามารถหัวเราะแต่เลือกบึ้ง สามารถผ่อนคลายแต่เลือกตึงเครียด ดูเหมือนเป็นคำถามง่าย ๆเพราะเมื่อมีมันสมองฉลาดพอทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตก็น่าจะฉลาดพอมีความสุขแต่กลับไม่ทำหรือทำไม่ได้
เก่งและฉลาดแค่ทำให้ตนเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานจึงอาจไม่ครบถ้วน เพราะใช้สมองขบคิดเรื่องชวนกลัดกลุ้มใจ ไม่ใช้สมองทำให้ตนเองสุขใจ
คนเก่งจริงฉลาดจริงจึงน่าจะเป็นคนที่เข้าใจชีวิต และสามารถอยู่กับข้อแม้และสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีทุกข์น้อยที่สุด หรือใช้ความเก่งและความฉลาดจัดการคุมความทุกข์ได้
มีตัวอย่างนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการงานตัดสินใจออกจากงานไปชนบทห่างไกล ใช้ชีวิตแบบสันโดษ สมถะ ธรรมดา บางคนเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร คนเก่งและรวยจำนวนไม่น้อยทำกิจกรรมคืนกำไรให้สังคม บ้างทำโครงการเพื่อพัฒนาสังคมส่วน รวมคนเหล่านี้พบว่าความสงบทางใจมีค่ากว่าเงินตรา
1
พวกเขา เก่งฉลาด และเลือกมีความสุขแบบสันโดษอย่างนี้จึงจะเรียกว่าเก่งและฉลาดจริง เพราะหลุดพ้นจากกรอบคิดทางโลกเรียบร้อยแล้ว
โฆษณา