2 มี.ค. 2020 เวลา 04:14 • ความคิดเห็น
จาก bookdojo
งานเขียนจริงปนเท็จ อย่างเรื่องเกาหลีเหนือฆ่าคนเป็นผักปลา ไม่ทราบว่าไปรู้เห็นด้วยตา หรืออย่างไร และมันช่างขัดแย้งกับข้อดท็จจริงที่ว่าเกาหลีเหนือเป็นมหาอำนาจที่มีอาวุธนิวเคบียร์ในครอบครองและสามารถปกป้องตนเองจากสหรัฐอเมริกาได้ (ต่างกับหลายๆ ประเทศที่สหรัฐส่วกองทัพเข้าไปทำสวครามจนบ้านเมืองเละเทะ)
ส่วนที่ว่าจีนขาดอาหารครั้งใหญ่ ซึ่งผมคงไม่ไปเสียเวลาหาว่าขาดอาหารจริงหรือไม่ และเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริงเป็นผลจากหลายๆ อย่าง และการบริหารผิดพลาดที่เกิดจากตัวบุคคคลมันก็เป็นเฉพาะตัวอยู่นั่นเอง การโทษว่าเป็นที่ระบบ มันก็วนกลับมาที่คนใช้อยู่ดี
คุณอาจจะว่านาซีโหดร้าย เพราะสังหารชาวยิว แต่ชาติใหญ่ๆ ทั้งหลายล้วนสังหารโหดมาแล้วทั้งนั้น สหรัฐก็สังหารอินเดียนแดงขับไล่คนที่เหลือไปดินแดนทุรกันดาร, ญี่ปุ่นตอนสงครามก็สังหารโหดคนจีน, รัสเซียช่วงส่งครามก็ส่งชนชาตินึงไปหนาวตายที่ไซบีเรีย
ระบอบการปกครองที่พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าอยู่รอดคือ ระบอบอะไรก็ได้ที่เหมาะกับพื้นที่และประชาชนในชาตินั้นๆ
สหรัฐอเมริกา และประเทศเสรีนิยมอาจจะอยู่ในระดับ 500~600 ปีในตอนนี้ แต่เทียบกับจีน ที่ปกครองแบบจักรพรรดิ์และอยู่รอดมาเป็น พันกว่าปีก็ยังนับว่าห่างไกล
แล้วย้อนกลับไป ระบอบไดโนเสาร์ ที่ครองโลกในหลักล้านปี และเป็นไปได้ว่าอาจจะครองได้นานกว่านั้นถ้าไม่เกิดภัยพิบัติเสียก่อน
มนุษย์ที่ทุกวันนี้ คำก็ประชาธิปไตย สองคำก็ประชาธิปไตย อาจจะไม่ได้โงหัวขึ้นมาครองโลกด้วยซ้ำถ้าไดโนเสาร์ยังอยู่
บางทีมนุษย์อาจจะว่างมากเกินไปจนวนเวียนพายเรืออยู่ในชามอ่าง
ศาตร์ต่างๆ ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักคณิตศาสตร์ศึกษาจำนวนเฉพาะ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เอามาใช้เป็นเครื่องมือในการเข้ารหัส และส่งออกให้คนทั่วไปใช้ ทุกวันนี้ธุรกรรมต่างๆ ล้วนมีการเข้ารหัส และใช้หลักการพื้นฐานเดียวกันนี้ในการรักษาความปลอดภัย
ด้านวัสดุศาสตร์ ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็กลง ใช้พลังงานน้อยลง มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ทุกอย่างล้วนมาจากการศึกษาและประยุกต์ใช้ ใครจะสนว่าปกครองระบอบอะไร ตราบเท่าที่คิดค้นอะไรออกมาแล้วมันใช้ได้ ขายได้ จะเผด็จการหรือเสรีนิยมก็ต้องทำแบบนี้ทั้งนั้น
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปเลย ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็คือ “การยึดติด” โดยเฉพาะกับเรื่องระบอบการปกครองพวกนี้ วิธีการยอกฮิตค่อเอาเกาหลีเหนือมาเปรียบเทียบ บอกว่าเกาหลีเหนือไม่ดีอย่างนั้นไม่ดีอย่างนี้เพื่อให้เราดูสูงส่งกว่า...
แต่ความจริงก็คือเขาก็มีดีของเขา ปัญหาของเขาก็มี แต่เราก็เช่นกัน ทุกประเทศก็เช่นกัน การเปรียบเทียบแบบนี้มันก็กลายเป็นการหลอกตัวเอง
และบทความที่เอาเรื่องหลอกตัวเองมาเขียน มันจะมีอะไรจริงบ้างเล่า
โฆษณา