9 เม.ย. 2020 เวลา 08:00 • ธุรกิจ
ศึกชิงบัลลังก์ Uber แผ่นดินนี้ Didi ครอง 🚗🚙🚕
ศึก East กับ West ในสนามรบที่มีค่ามากที่สุด
บริการเรียกรถแท็กซี่ด้วยแอพฯในจีนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาราวๆปี 2012 ก่อนหน้านั้นอากงอาม่าต้องเดินไปแกว่งแขนรำไท้เก้กสูดควันอยู่ริมถนนเพื่อจะให้แท๊กซี่ซักคันจอดรับ กว่าแท๊กซี่จะมาแล้วว่าง อาม่ายืนจนน่องโป่ง🤣
1
Uber ชื่อนี้การันตีวรยุทธ์สูงส่ง 🦅บริษัทเรียกรถแท๊กซี่ด้วยแอพฯสัญชาติมะกันผู้โด่งดังมาช้านาน โดยมีท่าไม้ตายคืออัลกอรึทึมอัจริยะที่ฝึกวิชามาอย่างช่ำชองนับ10ปี ผนวกพันธมิตรเมพmapอย่าง "กูเกิ้ลแมพ" ทำให้เกิดเป็น Location based service ที่ยิ่งใหญ่สุดในโลก ยังไม่พอ สามารถคำนวณค่ารถและเวลาตามระยะทางแม่นยำยิ่งกว่าจับวาง เรียกปุ๊บปุ๊บ มาปั๊บปั๊บ
เช่นถ้ามีคนขับรถ 100คน แต่มีคนเรียกรถ 200 คน อัลกอริทึมจะคำนวน "multiplier" ที่จะเพิ่มค่าเรียกรถเริ่มต้น คนขับก็กล้าฝ่ารถติดไปรับคน ผู้โดยสารก็ไม่ต้องรอนาน ขจัดปัญหา"แก๊สหมดครับพี่" "ส่งรถครับน้อง"นี่คือแค่ตัวอย่างระบบเทพของUber
Uber ขยายฐานธุรกิจด้วยความช่ำชองศึก ความเป็น specialization ทางเทคโนโลยีสามารถไป Standardize ได้ในทุกประเทศมาแล้ว รออะไรล่ะ ทำไมไม่บุกตีเมืองจีน //Uber คิดในใจ 😎
บุกยึดจีนได้ ข้าจะครองโลก..ฮ่าฮ่า
จีนถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของธุรกิจข้ามชาติมาโดยตลอด ช่วงนั้นหลายบริษัทเล็งปักหมุดกันจนหมุดหมด ด้วยขนาดประชากรราว 1360 ล้านคน จำนวนคนใช้มาร์ทโฟนอยู่ที่ 440 ล้านยูสเซอร์ จำนวนแท๊กซี่โอ้โห พร้อมมาก13ล้านกว่าคันในปี 2015 ประกอบกับระบบขนส่งสาธารณะที่เก่า แน่นเป็นปลากระป๋อง(คุ้นๆเหมือนแถวไหนซักที่)
Uber เข้าไปตั้งที่ทำการสำนักงานใหญ่ครั้งแรกที่เซี่ยงไฮ้เพราะเล็งเห็นว่าเมืองนี้ต้องการUber ยิ่งกว่าที่ใดทั้งหมดด้วยการปล่อยทหารแถวหน้าไฮโซ "Uber Black" ไปชิมรางความลักซัวรีและเพื่อสร้างภาพลักษณ์ความหรูหราให้กับชาวจีน แต่แล้ว..Uber เริ่มตระหนักว่า ศึกชิงเจ้ายุทธภพนี้ไม่หมู
ชูสโลแกน: รู้ค่ารถก่อนเรียก
ก๊วยตี้ (Kuaidi Dache) แปลว่า "แท๊กซี่ด่วนจี๋" เปิดตัวในหางโจวเมื่อปี 2012 เป็นจ้าวยุทธภพเดิมโดยมีพันธมิตรหลักคือกลุ่มอาลีบาบาผู้นำแพลทฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ ค้าปลีก เทคโนโลยีระดับโลก คอยส่งเสบียงรวมๆกว่า 10ล้านเหรียญในปี 2013 เพื่อเป็นทุน
1
เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน อาลีบาบาส่งอาวุธตัวใหม่ชื่อว่า "Alipay" เป็นระบบ E-payment ที่ใช้กันมากสุดในจีนไปอยู่ในแอพก๊วยตี้โดยมีผู้ช่วยคือ ไป่ตู้ (Baidu) บริษัทอินเทอร์เนตยักษ์ใหญ่ในจีนช่วยพัฒนา Baidu Maps ในแอพก๊วยตี้ (ไป่ตู้แมพก็คือกูเกิ้ลแมพจีนนั่นเอง)
ก๊วยตี้ แนวเขียวๆดูคลีนๆ
ตี้ตี้ (Didi Dache) ตี้ตี้แปลเป็นไทยคือ "ปิ๊นนปิ๊นน" หรือเสียงบีบแตร เปิดตัวครั้งแรกในปักกิ่งก่อนก๊วยตี้เล็กน้อย โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก Tencent บริษัท อินเทอร์เนต เทคโนโลยี มีเดีย เกม ฯลฯ กว้างขวางที่สุดในจีน อาวุธที่Tencent ให้มาคือ WeChat โอ้โหว เหมือนติดปีก นึกถึงเราเล่น Line นั่นแหละ ฐานลูกค้าตี้ตี้เลยกว้างใหญ่ยิ่งกว่าแม่น้ำฮวงโห
1
อินเตอร์เฟสแสบๆสดๆไปเลย
ในปี 2012-2013 ก่อนที่ Uber จะมา ก๊วยตี้กับตี้ตี้ซัดกันอุตลุด เลือดสาดกระจาย หมัดต่อหมัด พร้อมกับแย่งฐานสมาชิก เกิดสมรภูมิ"อั่งเปา"แจกแถมจนนึกว่าตรุษจีน เริ่มจากตี้ตี้อัดเงินดึงคนขับรถแท๊กซี่ในรูปโบนัสเพิ่มจากค่าโดยสารปกติที่ได้เพื่อเพิ่มฐานคนขับรถ แจกวอยเช่อผู้โดยสารที่ใช้งานด้วยทุนจากTencent อีก 100ล้านเหรียญช่วงมกราปี 2014
ก๊วยตี้ไม่รอช้าออกแคมเปญโบนัสเพื่อนชวนเพื่อน ดึงฐานกันเละเทะ ครึ่งปีผลาญเงินไป 365 ล้านเหรียญสหรัฐ เกิดสงครามราคา ลดหั่นแจก ท้ายที่สุด นายเหว่ย เชน CEO ตี้ตี้โม้ว่า ผู้ใช้งานเพิ่มจาก 22ล้านคนเป็น 100ล้านคน ใน 77 วันเท่านั้น
เมื่อสมรภูมิอั่งเปาจบลง(นานกว่านี้ทั้งคู่อาจจะกลายเป็นพรรคกระยาจก😅) ก็เข้าสู่ยุคพัฒนาอาวุธ (Product Extensions) 💣
Uber เข้ามาในช่วงสงครามเพลาลงมาก ได้ขยายฐานอย่างรวดเร็วด้วยวิธี subsidize คนขับรถและผู้โดยสารหนักๆ เช่นเดียวกัน ตี้ตี้เห็นตลาดลักซัวรีมีที่ว่างจึงปล่อย ตี้ตี้ฉวนเจ (Didi ZhuanChe) หรือแอพที่เลือกชนิดของรถได้ตามความพอใจ (เหมือน Grab ในไทยตอนนี้) เพื่อกำราบ Uber ทันทีในปังกิ่ง กวางเจา เซี่ยงไฮ้ และ เซินเจิ้น 4เมืองรวด
3ยักษ์ใหญ่ห้ำหั่นกันหนักหน่วงในหัวเมืองใหญ่ Uber ใช้กลยุทธ์เดิมที่ชนะได้ทั้งโลกด้วยสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่า "บัตรเครดิต" สะดวกรูดปรื้ดๆและยังยืนกรานไม่รับเงินด้วยวิธีอื่นสำหรับบริการรถหรู
Uber ประสบความสำเร็จด้วยการประกาศตัวเลข 1ล้านเที่ยวโดยสารต่อวัน เป็นที่2รองจากอเมริกาประเทศแม่เท่านั้น พร้อมกับเปิดศึกในปักกิ่ง Uber สร้างอาชีพถึงกว่า 1แสนคน ต่อเดือน และช่วงชิงตลาดไปได้กว่า 50% ของทั้งหมด
Uber คงคอนเซปเรียบหรู ดูแพง เหมือนกันทั่วโลก
Uber ปล่อย Uber X หรือการเอารถบ้านปกติเข้าระบบขนส่งเพื่อสู้ศึกในท้องถิ่นแก้ปัญหาแท๊กซี่ขาดแคลนในต่างจังหวัด สามารถทำราคาได้ถูกกว่าเจ้าอื่นๆทั้งหมดและไม่มีค่าโดยสารเริ่มต้น ตามด้วย Uber Pool คือบริการทางเดียวกันไปด้วยกันเพื่อจูงใจอาหมวยอาตี๋งบน้อย แต่ต้องแลกมาด้วยการเผาเงินมหาศาลยิ่งกว่าเชงเม้ง เพราะต้องจูงใจคนขับรถด้วยการเพิ่มเงินค่าโดยสารให้คนขับเป็น2เท่าในช่วงเวลาพีค และ 1.5เท่าช่วงปกติ
ก๊วยตี้และตี้ตี้มองหน้ากันเลิ่กลักด้วยความเพลี่ยงพล้ำและประกาศควบรวมกิจการกลายเป็น ตี้ตี้ก๊วยตี้ (Didi Kuaidi Joint Company) ในวันแห่งความรักปี2015 โดยมี co-CEO Wei Chen จากตี้ตี้และ Chuanwei Lu จากก๊วยตี้ ยึดกลับมาครองตลาดอันดับ 1 โดยคงโครงสร้างและการบริหารเดิม
ไทม์ไลน์สรุปการผนึกกำลัง Fight Back!
ควบรวมเสร็จก็ปล่อย "Didi KuaiChe" ทันทีเพื่อสู้ Uber X โดยทำเหมือนกันหมดทุกอย่าง และ "Didi Shun Feng Che "ทางเดียวกันไปด้วยกันที่เอาไอเดียมาจาก Uber Pool เรียกว่าตาต่อตาฟันต่อฟัน
ในเดือน กค.ปี 2015 ตี้ตี้ก๊วยตี้ เปลี่ยนชื่อเป็น Didi ChuXing หรือแปลว่า "โหลๆปิ๊นๆ" พร้อมโลโก้ใหม่เป็นอักษร D หงายสีส้มคล้ายรอยยิ้ม เตรียมปิดศึกด้วยชัยชนะ พร้อมปล่อย "Didi DaJia"บริการคนขับรถ "Didi Bus" รถตู้ขนาดใหญ่ที่วิ่งเส้นประจำพร้อมระบุพิกัดในแอพ Didi เรียกว่าตอกฝาโลง Uber ชัดๆ
Didi Bus น่านั่งอยู่นะแม่ ดูตำแหน่งรถจากแอพก็ได้
เป็นไปตามคาด Uber เลือดไหลจะหมดตัวหลังมาเกตแชร์ตกลงมาเหลือ 20% ในปี2017 ไม่มีไครทราบแน่ชัดอะไรคือสาเหตุที่คนไม่นิยม Uber ดอกเบี้ยสีทองพอจะสรุปความเป็นไปได้ 3ข้อที่เป็นสาเหตุในความล้มเหลวของ Uber ในจีน
สถานการณ์รอบโลกระหว่าง Uber และ Didiในปี 2017
1. บริการอันครอบคลุมของตี้ตี้ แน่นจนไม่รู้ว่าเป็นแอพเรียกรถหรือตลาดรังสิต ปรากฎว่าถูกจริตอาตี๋อาหมวย รวมถึงวิธีการจ่ายเงินด้วย E wallet อย่าง Alipay ,WeChat ที่คนจีนใช้กันอยู่ทุกวัน สมมุติว่าค่ารถ 30หยวนแต่ถ้าจ่ายด้วย Alipay อาจจ่ายเพียง 20หยวน เพราะสามารถคืนเงินที่ใช้จ่ายเข้าwallet โดยตรง ในขณะที่ Uber ผูกบัญชีกับบัตรเครดิต ไม่ได้ฮิตในหมู่วัยรุ่นและวัยทำงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้โดยสาร
2
Uber ลำพองใจในการ standardize เทคโนโลยีขั้นสูงตัวเองที่สำเร็จมาแล้วค่อนโลก ด้วยความต่างของวัฒนธรรม Local Responsiveness ถูกลดความสำคัญไปนิดนึง
คนจีนชอบซื้อปลาสดในตลาดมากกว่าใน7-11
2. Uber เข้ามาในช่วงที่ ตี้ตี้ และ ก๊วยตี้ ซัดกันฝุ่นตลบศพเกลื่อน ซึ่ง2เจ้านี้ได้เปิดตัวกับตลาดกันมา2-3ปีแล้ว ครองใจวัยรุ่นทั่วบ้านทั่วเมือง ถึงแม้Uberเข้ามาจะดูน่าสนใจและเป็นทางเลือก คนใช้Uberดูมีภาพลักษณ์ดูเก๋ แต่พื้นฐานคนจีนยังนึกถึงสิ่งที่คุ้นเคยและ"บริษัทของคนจีน"ก็ครองใจเสมอถ้าไม่นับ Apple พูดกันตามตรง Uber อาจจะไม่ได้แพ้ตี้ตี้ตอนปี 2017หรอก แต่อาจแพ้ตั้งแต่ 2014แล้วค่ะ
First Mover Advantage
3. จีนขึ้นชื่อในการเป็น "Protectionist" บ่อยครั้งที่ผู้บริหารประเทศมักออกนโยบายเพื่อเอื้อหรือสนับสนุนคนจีนด้วยกัน Tencent และ Alibaba เป็นธุรกิจที่รัฐบาลนึกถึงในลำดับต้นๆเสมอในการออกนโยบาย เรียกว่า ตี้ตี้คือคู่แข่งที่พาวเวอร์ฟูลสุดๆ ทั้งเงินทุนและการสนับสนุนด้วยนโยบายรัฐ แต่ที่สำคัญที่สุดคือผู้ใช้บริการที่รู้สึกว่า ตี้ตี้เป็นของจีน ทำเพื่อคนจีน ถ้านึกภาพไม่ออก นึกถึงถ้า McDonald กับ ร้านอาหารตามสั่งป้าพรอยู่หน้าบ้าน เราอาจกินแมคบางโอกาส แต่ป้าพรคือวันเว้นวัน😆
2
กำแพงนี้แกร่งนัก
หลังการเจรจาลับอยู่นับปี ตี้ตี้ก็ซื้อกิจการ Uber ด้วยเงิน 35,000ล้านเหรียญสหรัฐในปี2017 เรียกว่าคุ้มทั้งสองฝ่าย Uber เดินกำเงินออกจากจีนด้วยความยินดีพร้อมหุ้นตี้ตี้หลังควบรวมอีก 17.7% ตี๊ตี๊เองก็เหนื่อยที่ต้องสู้และผลาญเงินไม่จบสิ้น สุดท้ายความซวยตกไปที่ผู้โดยสารที่ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น
ไปแล้วจ้า..
ถึงแม้ว่า Uber จะทำการบ้านดีขนาดไหน ทุนหนาขนาดไหน ก็ไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณตะวันออกได้ เรื่องราวนี้เกิดซ้ำอีกในประเทศไทยด้วยสตอรี่เดิมๆ และเหตุผลเดิมๆ Grab ที่มีถิ่นกำเนิดจากมาเลเซียและมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ก็เขี่ย Uber ออกจากกระดาน SEA เรียบร้อย
Grab & Didi คุ้นไม๊ คล้ายไม๊ถามใจเธอดู
โฆษณา