22 มี.ค. 2020 เวลา 09:50 • สุขภาพ
สวัสดีวันอาทิตย์ค่ะ
พบป่ะกันในช่วงงง นานๆทีมีสาระ 😂😂
วันนี้ว่างเป็นพิเศษ ความจริงคือว่างทุกวัน แต่เดี๋ยวมี up coming projects ที่จะต้องเอาเวลาไปทำ ทำให้อาจยุ่งขึ้นในภายภาคหน้า
วันนี้เลยเอาภาพฮาๆ แต่มีสาระนะเออ มาฝากกันค่ะ
ความจริงภาพพวกนี้นะ เจ้าของอัลบั้มเค้าสร้างไว้ตั้งแต่ปีที่แล้วค่ะ
แต่ยังไงไม่รู้วันนี้กลับมาฮิตอีก ขึ้นหน้า feed Facebook ของอนา
เลยเอามาแชร์กันค่ะ
มีสาระอยู่นะคะ 😂😂😂
ไปดูภาพกันค่ะ เดี๋ยวจะมีบรรยายสั้นๆนิดนึงละกัน
ลืมบอกไปเลยค่ะหัวข้อวันนี้ก็คือออ. Antidote นั่นเองค่ะ
Antidote นะคะก็คือยาหรือสารที่ให้เข้าไปเพื่อต้านพิษหรือขัดขวางการได้รับยาเกินขนาด หรือกระบวนการที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพื่อลดความรุนแรงของอาการนั่นเองค่ะ มีอะไรบ้างนะ วันนี้มาดูกันค่ะ
FB pharmacy note album drug vs antidote
มาดูคู่แรกค่ะ คู่นี้นะคะ
ตัวยา Acetaminophen หรือที่บ้านเราเรียกยา paracetamol ในกรณีที่คนทั่วไปรับประทานยาพาราปกติ ไม่เกินขนาดที่ควรได้รับ หรือไม่ได้รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ
แต่หากสมมติว่ามีคนไข้จะกินยาพาราเพื่อฆ่าตัวตายหรือมีคนทั่วไปที่กินยาพาราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยขนาดที่แนะนำในการรับประทานยาพาราอยู่ที่ 10-15 mg/kg/day
โดยมีขนาดสูงสุดที่ควรรับประทานอยู่ที่ ไม่เกิน 4000 mg ต่อวัน(3000mg ต่อวันในผู้ป่วยโรคตับ และผู้สูงอายุ) ในร้านยาทั่วไปของไทยนะคะยาพาราจะอยู่ที่เม็ดละ 500 mg ซึ่งพอคิดคร่าวๆดูแล้วเนี่ย 1 วันทุกคนไม่ควรกินยาพาราเกิน 6-8 เม็ดต่อ 1 วันค่ะ(ยิ่งน้อยยิ่งดี)
เข้าเรื่องๆ แล้วถ้าสมมติมีคนไข้กินยาไป 50 เม็ด หรือรับประทานยาพาราติดต่อกันนานๆ(รวมถึงผู้ที่ได้กินยาพารามากกว่า 7.5 กรัมด้วยค่ะ เยอะไปไหนคะเนี่ย) นี่ก็คือเกินขนาดจะทำให้เกิดอาการตับพังนั่นเองงง
ค่าเอนไซม์ตับจะพุ่งสูงทะลุหอคอยภายใน 2-3 วันเลยค่ะ ตับพังเผลอๆม้ามโตด้วย
น่ากลัวไปหมดเลยใช่ไหมคะ
ดังนั้นนน ตัวช่วยที่เป็นตัวช่วยแรกก็คือออ Acetylcysteine (เรียกสั้นๆว่าNAC) นั่นเองค่าา
555 เราจะไม่เข้าถึงเรื่องการรักษาเพราะมันจะยาวไป เดี๋ยวอนาจะไม่ทันได้ลงภาพอื่นๆ
เอาเป็นว่าเมื่อมีคนไข้ที่มาด้วยการทานยาพาราเกินขนาด paracetamol overdose ก็จะมีการใช้ acetylcysteine ในการช่วยนั่นเองค่ะ กลไกการช่วยนั้นน คร่าวๆ ตามภาพนี้ค่ะ
ภาพจาก Arch toxicol 2015;89.193-9.9
อันนี้มาจากชีทอนาเอง 555 สมัยจดเลคเชอร์กับอาจารย์
คร่าวๆนะคะ ตัว NAC นะคะจะเป็นตัวที่สามารถสร้าง precursor ของ glutathione ซึ่งตัว glutathione เนี่ยสามารถไปจับกับสารพิษแล้วกำจัดออกมาได้ค่ะ
รายละเอียดเพิ่มเติมยังไงวันหลังจะเอามาเล่าให้ฟังนะคะ
ภาพที่ 2 เลยดีกว่าาา
วันนี้น่าจะได้ 3 ภาพจาก 12 ภาพนะคะ 555
FB pharmacy note album drug vs antidote
ภาพที่ 2 มีใครคุ้นๆกับยาที่ชื่อว่า warfarin บ้างคะ ยาตัวนี้เป็นยาที่ใช้ในการละลายลิ่มเลือดค่ะ ผู้ที่ใช้ยาตัวนี้มักเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นส่วนใหญ่ มีไว้เพื่อรักษาและป้องกันการเกิด stroke ได้ด้วยค่ะ โดยผู้ป่วยทุกคนจะต้องทำการวัดระดับ INR ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการบอกถึงการควบคุมได้ของการแข็งตัวของเลือด ถ้าค่า INR ต่ำกว่าปกติจะทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันและถ้าค่า INR สูงกว่าปกติจะทำให้เกิดเลือดออกมากกว่าปกติค่ะ
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการใช้ยา warfarin ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่จะต้องควบคุม INR ให้อยู่ตามเกณฑ์และมาพบหมออย่างสม่ำเสมอค่ะ
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องรักษาค่า INR ให้อยู่ในช่วง 2-3 (ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการปรับค่า INR ให้เหมาะสมในแต่ละรายไปค่ะ)
แต่เจ้ายา warfarin ตัวนี้นะคะเนื่องจากยาเป็นยาละลายลิ่มเลือด ดังนั้นผลข้างเคียงก็คือทำให้เลือดออกง่ายค่ะ รวมถึงยาตัวนี้นะคะชอบไปตีกับยาตัวอื่นไปทั่วเลยกับพวกอาหารก็ยังไม่เว้นเลยค่ะ
ส่งผลให้หากผู้ป่วยซื้อยากินไปทั่ว หรือกินยามากไปจะทำให้เลือดออกมากกว่าปกติ
Antidote ที่ใช้ในกรณีนี้ก็คือ vitamin K นั่นเองค่ะ
โดยเกณฑ์ในการเริ่มให้วิตามิน K มักจะให้เมื่อผู้ป่วยมีอาการเลือดออกมาก(major bleeding ) หรือมีค่า INR มากกว่า 5 ขึ้นไปค่ะ
FB pharmacy note album drug vs antidote
มาค่ะภาพที่ 3 ภาพสุดท้ายย ก่อนที่จะยาวไปมากกว่านี้
หลายๆคนคงเคยได้ยินกลุ่มยา opioid หรือกลุ่มยาแก้ปวดกันนะคะยกตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่น tramadol, oxycodone, fentanyl, methadone, meperidine, codeine ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเฉพาะที่โรงพยาบาลค่ะ(ยกเว้น tramadol ที่มีตามร้านยาแต่ต้องทำใบอนุญาตขอขายยานี้ค่ะ)
ซึ่งหาผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่ม opioid ที่เกินขนาดมักจะทำให้เกิดอาการ กดอาการหายใจได้ค่ะ ดังนั้นจึงมีการใช้ยา Naloxone มาเป็น antidote นั่นเองค่า
มาดูคร่าวๆถึงกลไกนิดนึงนะคะ
https://images.app.goo.gl/L2Qre5A96jgN9hHb8
จากภาพนะคะ ยาในกลุ่ม opioid จะมี receptor หรือตัวรับยาที่สมองเยอะแยะหลายตัวเลยค่ะ เช่น mu, kappa และ delta opioid receptors ซึ่งในตอนที่เกิดการได้รับยาในกลุ่ม opioid เกิดขนาดยาก็จะไปจับตัวกับตัวรับเหล่านี้บนสมองส่งผลให้เกิดการกดการหายใจ
และทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจได้ค่ะ
แต่เมื่อมีการใช้ Naloxone ซึ่ง Naloxone จะมีความสมารถในการจับกับตัวรับในสมองมากกว่า opioid จึงมีการใช้ Naloxone ไปเพื่อแย่งการจับกับตัวรับทำให้สามารถลดปริมาณของ opioid ที่เกาะอยู่ ทำให้สามารถใช้เป็น antidote กรณีที่ผู้ป่วยเกิดพิษจากการใช้ opioid นั่นเองค่ะ
เสร็จแล้วค่ะ สำหรับบทความนี้ ความจริงมีอีก 9 ตัวที่ยังไม่ได้เล่าแต่อนากลัวว่ามันจะยาวมากไปกว่านี้ 555 เดี๋ยวไม่มีคนอ่าน
เรื่องสาระนานๆจะมีมาสักครั้งนะคะ อาทิตย์ละครั้งละกัน เดี๋ยวกลับไปคุยภาษาอังกฤษต่อ
😆😆
พึ่งได้ลองเขียนยาวๆครั้งแรก ใครอ่านตรงไหนไม่เข้าใจ สอบถามได้นะคะ
สุดท้ายนี้สำหรับใครที่สนใจอ่านต่อว่าใช้รักษายังไง
สามารถติตดามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ
ส่วน antidote อีก 9 อย่างที่เหลือ สามารถไปตามได้ที่ Facebook pharmacy notes ตรง album drug vs antidote ได้นะคะ
Have a nice day ค่ะ!! 🌻🌻🌻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา