26 มี.ค. 2020 เวลา 11:26 • การศึกษา
EP. 3 เริ่มความพิเศษประเภทแรกกันเลย "บกพร่องทางการเห็น"
การมองเห็นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียน ซึ่ง
เด็กปกติสามารถมองเห็นและปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียนได้แต่เด็กที่มี
ความบกพร่องการเห็นไม่สามารถทำได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต่อการให้เด็กที่บกพร่องทางการเห็นได้รับอุปกรณ์ การปรับวิธีการเรียนการสอนเพื่อให้
สามารถเรียนได้ในระบบการศึกษา
ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเข้าใจความหมายลักษณะของเด็กที่มีความ
บกพร่องทางการเห็น สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น แนวทาง
การช่วยเหลือทางการศึกษา
ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
ผดุง อารยะวิญญู, (2542 : 75)ได้ให้ความหมายของเด็กที่มีความ
บกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กตาบอด หรือเด็กตาบอดบางส่วน
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่มีสายตาเหลืออยู่น้อยมากหรือ
ไม่มีเลย แม้จะได้รับการแก้ไขแล้ว จึงไม่สามารถในการเรียนหนังสือได้เป็น
ผู้มีสายตาหลังจากการแก้ไขแล้ว 20/200
ตาบอดบางส่วน หมายถึง เด็กที่มีสายตาบกพร่อง แต่ภายในจากการแก้ไขแล้วสามารถมองเห็นได้บ้าง จึงสามารถใช้สายตาในการเรียนหนังสือได้บ้าง เป็นผู้มีสายตาหลังจากการแก้ไขอยู่ระหว่าง 20/70 และ
20/200
สาเหตุของความบกพร่องทางการเห็น
เป็นภาวะความบกพร่องซึ่งพบเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือภายหลัง สาเหตุอันเนื่องมาจาก กล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพและการที่สมองถูกทำลายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเห็น หรือการมีจุดโฟกัสรับแสงที่ผิดปกติ มีโรคต้อกระจก หรือโรคต้อหิน
ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น https://www.change.org/p/
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
หากพบสภาวะความบกพร่องทางการเห็นที่เป็นตั้งแต่กำเนิดจะพบประสาทสัมผัสและการเรียนรู้แตกต่างจากเด็กที่สูญเสียตาภายหลัง ซึ่งส่งผลต่อ
พัฒนาการของเด็ก
ดังนั้นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีลักษณะต่อไปนี้
1. พัฒนาการทางภาษา เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีพัฒนา
การทางภาษาที่ช้ากว่าเด็กปกติบางอย่าง การเปล่งเสียงโดยการเลียนแบบอาจเท่าเทียมกับเด็กปกติแต่มักใช้คำที่ไม่เหมาะสม มีความหมายไม่ตรงข้าม
กับความสามารถที่แท้จริงของคำ
2. พัฒนาการทางการเคลื่อนไหว เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุดของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จึงจำเป็นต้องมีการสอนและการกระตุ้นในด้าน
ความคิดรวบยอดที่เกี่ยวกับทิศทาง ซ้ายขวาและตำแหน่งส่วนต่างๆของ
ร่างกาย
3. พัฒนาทางสังคม สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นสร้างพัฒนาการทางสังคมมาจากทัศนคติของพ่อแม่ หากเชื่อว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเห็นมีศักยภาพในการเรียนรู้ และเป็นการเปิดโอกาสเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ดีขึ้น
แนวทางการช่วยเหลือทางการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น
วัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนและการใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความ
บกพร่องทางการเห็นนั้น ประกอบไปด้วย แว่นตาที่เหมาะกับสายตา
เครื่องอ่านหนังสือ เครื่องบันทึกเสียง กระดาษกราฟ ไม้บรรทัด ไม้เท้าขาว
ลูกคิด slate and stylus (แผ่นและดินสอนสำหรับเขียน)
slate and stylus (แผ่นและดินสอนสำหรับเขียน)
ตำแหน่งของปุ่มนูนในอักษรเบรลล์พยัญชนะไทยที่ใช้ในการเรียน
ส่วนการให้บริการพิเศษแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นนั้นเป็น
บริการการฝึกทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(orientation and mobility : O & M) การสอนอักษรเบรลล์ การสอนซ่อมเสริม เป็นต้น
ส่วนหลักสูตรและการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
นั้นควรเป็นหลักสูตรเดียวกันกับเด็กปกติ เพื่อให้เด็กกลุ่มนี้นั้นมีทักษะใกล้
เคียงหรือเท่าเทียมกับเด็กปกติมีเพียงแค่อุปกรณ์การสอนอาจจะแตกต่าง
จากเด็กปกติ
ไม้เท้าขาว
ทราบกันแล้ว...ในความบกพร่องทางการเห็นทางกายภาพที่เราสังเกตได้
...ย้อนกลับมาที่ตัวเรา...ยังมีความบอดตรงจุดไหนบ้าง
บางครั้งเรามัวแต่มองจุดบอดของคนอื่น..จนไม่ได้มองความบอดของ
ตัวเราเอง...
ทั้งๆที่ ....เรามองเห็น...ด้วยตาที่มีอยู่
ใครหลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้
"ความรักทำให้คนตาบอด"
"เห็นกงจักรเป็นดอกบัว"
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่อะไรทำให้ตาบอดหรือความรักมีความผิด
แต่เป็นการเห็นที่ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีนั้นมาจากใจที่บอด..
อย่าปล่อยให้การมองเห็นของคุณไร้คุณค่าด้วยอาการใจบอด
ตามต่อ EP. 4 เสียงที่ไม่ได้ยิน...
เอกสารอ้างอิง
กรองทอง จุลิรัชนีกร. (2556). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษระดับปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนด
ประเภทและหลักเกณฑ์ ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552.
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.obec.go.th/index.php.
[8 มิถุนายน 2552]
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กิ่งสร เกาะประเสริฐ. (2555). ประมวลสาระวิชา 22769 ชุดวิชาการจัด
การศึกษาสำหรับผู้เรียนลักษณะพิเศษ หน่วยที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนัก
พิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เกยูร วงศ์ก้อม. (2548). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพ ฯ :
เพทายการพิมพ์.
ผดุง อารยะวิญญู. (2539). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ.
กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ.เอ็น.ที.
____________. (2542). การเรียนร่วมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีความต้องการ
พิเศษ. กรุงเทพ ฯ : แว่นแก้ว.
เพ็ญสุดา จิโนการ. (2559). เอกสารประกอบการสอนวิชาการศึกษาแบบ
เรียนรวม. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. ภัคภร ขันกสิกรรม. (2561).เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการศึกษา
แบบเรียนรวม. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
วารี ถิระจิตร. (2537). การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.เห็
โฆษณา