23 เม.ย. 2020 เวลา 02:43
นิติบุคคล EP.3
"ค่าใช้จ่าย" ที่กฎหมายไม่ยินยอมให้ใช้เป็น "รายจ่าย" ในการคำนวณกำไรสุทธิ
ก่อนอื่น เราคงต้องมาทำความเข้าใจในเรื่อง
"ค่าใช้จ่าย" ของกิจการกันเสียก่อนนะครับ
โดยหลักการง่าย ๆ แล้ว ค่าใช้จ่าย ของบริษัทจะมีอยู่ 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
1. ค่าใช้จ่ายที่บริษัทได้จ่ายไปแล้ว สามารถนำมาเป็น "ค่าใช้จ่ายทางภาษี" ได้ด้วย
นั่นหมายถึง บริษัทสามารถนำเอา "ค่าใช้จ่าย" ประเภทนี้ มาหักออกจาก "รายได้" ของบริษัทก่อนนำไปคำนวณเพื่อเสีย "ภาษีเงินได้นิติบุคคล" ซึ่งจะทำให้บริษัท เสียภาษีน้อยลงไปด้วยนั่นเอง (บริษัทฯคงอยากได้ "ค่าใช้จ่าย" แบบนี้เยอะ ๆ จริงไหมครับ)
2. ค่าใช้จ่ายที่บริษัทได้จ่ายไปแล้ว แต่กฎหมายไม่ยินยอมให้นำมาเป็น "ค่าใช้จ่ายทางภาษี" เพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ แม้ว่าบริษัทจะจ่ายออกไปจริง ๆ และมีการบันทึกบัญชีเป็น "ค่าใช้จ่าย" ของกิจการไปแล้วก็ตาม
แต่ในทางภาษีแล้ว รายจ่ายเหล่านี้กฎหมายไม่ยินยอมให้ใช้เป็น "ค่าใช้จ่าย" ที่บริษัทจะนำมาหักออกจาก "รายได้" เพื่อเหลือเป็น "กำไรสุทธิ" ที่มาใช้ในการคำนวณเสีย "ภาษีเงินได้นิติบุคคล" ถ้าบริษัทบันทึกเป็นรายจ่ายไปแล้ว กิจการต้องนำ "ค่าใช้จ่าย" นี้บวกกลับเข้ามาใหม่ เพื่อนำคำนวณภาษีเงินได้ด้วยครับ
ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายไม่ยินยอมให้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธินี้ จะอ้างอิงถึง มาตรา 65 ตรี และ 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นสำคัญ ครับ
ซึ่งรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี สรุปได้ ดังนี้
ดังนั้น ถ้าเป็นรายจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 65 ตรี ข้างต้นนี้ กิจการจะเอามาเป็น รายการหักออกจาก "รายได้" ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้!!
ตัวอย่างเช่น
บริษัท A จ่ายเงินซื้อ อาคารพาณิชย์ 2 คูหา เพื่อมาใช้เป็นสำนักงานของบริษัทฯ โดยจ่ายเงินสดไป 10,000,000 บาท
รายจ่ายที่บริษัทฯ ใช้ไปในการซื้ออาคารพาณิชย์นี้ ถือเป็น "รายจ่ายที่มีลักษณะการลงทุน" ที่กฎหมายถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (5)
ดังนั้น กิจการจึงไม่สามารถจะนำเอารายจ่าย จำนวน 10 ล้านบาทนี้ ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนะครับ
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปนี้จะสูญเปล่าไปเลยทีเดียว เพราะกิจการยังสามารถนำค่าซื้ออาคารพาณิชย์จำนวน 10 ล้านบาทนี้ มาทะยอยเป็นรายจ่ายในรูปของ "ค่าเสื่อมราคา" ได้ในอัตราปีละไม่เกิน 5% ของมูลค่า 10 ล้านนั้น
หมายถึง บริษัทฯ จะตัดค่าเสื่อมราคาได้สูงสุดปีละ 500,000 บาท เป็นระยะเวลา 20 ปี นั่นเองครับ
ไว้ใน EP.4 เราจะมาเรียนรู้ว่า แล้วรายจ่ายอย่างไรที่บริษัทฯ จะเอามาใช้หักออกจากรายได้ ได้บ้างกันนะครับ
ครูต๊ะ
23 เมษายน 2563
ถ้าคุณชอบบทความนี้ ช่วยกด "ติดตาม" เพจเพื่อเป็นกำลังใจด้วยนะครับ
โฆษณา