Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กงสีใหญ่
•
ติดตาม
2 พ.ค. 2020 เวลา 01:30 • การศึกษา
ความขัดแย้งระหว่าง พ่อ-ลูก ในกงสี มาจาก แนวคิดต่างรุ่น ยุคเก่า vs ยุคใหม่ ยุคไหนดีกว่า part 2/2 (ย้อนอ่านโพสแรกก่อนนะครับ)
ต่อจากโพสที่แล้วนะครับ เมื่อพ่อ-ลูกมาทำงานร่วมกันมักจะเกิดความขัดแย้งจาก Generation gap หรือความแตกต่างระหว่างรุ่น แนวคิดของคน 2รุ่นนี้ไม่เหมือนกันเลยครับ ขอสมมติตัวอย่างที่มักจะพบเห็นได้ทั่วๆไปในสังคมไทยครับ แต่ต้องบอกก่อนนะครับ ผมไม่ได้เหมารวมนะครับว่าทุกคนจะเป็นแบบที่ผมบอก
ขอเล่าพื้นฐานของพ่อก่อนนะครับ คุณพ่อเกิดช่วง พ.ศ.2489-2507 คุณพ่อมักจะเกิดที่ไทยในครอบครัวคนจีน มีพ่อ(อากง) เป็นชาวจีนย้ายถิ่นฐานมาอยู่เมืองไทย หรือพูดง่ายๆว่าเสื่อผืนหมอนใบนั่นเองครับ ด้วยความที่อากงเป็นคนต่างด้าวในสมัยนั้นก็จะไม่สามารถรับราชการ สมัครงานอะไรก็ไม่ได้ มาแต่ตัว จึงมักจะถูกผลักให้ไปค้าขายนั่นเองครับไม่ต้องใช้วุฒิอะไร เพื่อนๆพอนึกออกใช่ไหมหละครับว่า หากเกิดเป็นลูกอากงก็คงไม่ได้สุขสบาย คนไทยเชื้อชาติจีนยุค Baby Boomer หรือคุณพ่อ จะต้องอาศัยความขยัน ความประหยัด ในการทำมาหากินจึงจะสร้างตัวขึ้นมาได้ พี่น้องของพ่อบางคนเท่านั้นที่จะได้รับการศึกษาสูงๆจนจบปริญญาไปทำงานข้างนอก ส่วนพ่อทำงานกงสีก็มักจะไม่ได้เรียนสูงนักเนื่องจากอากงมองว่าไม่จำเป็น พอกงสีประสบผลสำเร็จคุณพ่อก็เกิดความภาคภูมิใจที่สามารถช่วยให้ครอบครัวมั่นคงได้ครับ ส่วนการแข่งขันทางธุรกิจในยุคนั้นก็ไม่ได้มากเหมือนสมัยนี้ครับ ถ้าเพื่อนๆคนไหนเกิดทันก็จะทราบครับว่า กงสีของเหล่าๆคุณพ่อแทบจะเป็นรายเดียวในตลาดหรือไม่กี่รายรายของพื้นที่นั้นๆครับ
อ่านถึงตรงนี้เพื่อนๆคงจะชื่นชม คุณพ่อหรือคนยุคนี้แล้วใช่ไหมครับ ที่สามารถฝ่าฟันมาจนถึงวันนี้ได้ แต่บอกเลยครับว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรุ่นได้ก่อตัวขึ้นแล้วครับ
ขอเล่าพื้นฐานของลูกต่อเลยนะครับ ลูกๆมักจะเกิดใน Genreation Y หรือช่วง พ.ศ.2523-2540 เกิดในช่วงนี้กงสีก็เริ่มมั่นคงกันแล้วครับ คนยุคนี้จึงไม่ได้มองว่าครอบครัวลำบากอะไร มีกินมีใช้ไม่ขาดมือ ลูกๆก็มักได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาเต็มที่จบปริญญากันทุกคน เนื่องจากคุณพ่อเองไม่ได้เรียนสูงนักจึงเข้าใจปัญหานี้ดี ลูกๆที่ได้รับการศึกษา ประกอบกับคุ้นเคยกับเทคโนโลยีอย่า่งดี จะทำอะไรก็ค้นหาข้อมูลในกูเกิลก่อนเสมอ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากๆเลยครับ เทียบกับคนยุค Baby Boomer ที่มักมีปัญหากับเทคโนโลยีเสมอ (ก็ไม่เสมอไปนะครับคนยุคนี้บางคนก็ใช้เป็น)
เอาหละครับเมื่อทราบพื้นฐานของคนสองรุ่นแล้ว ต่อไปผมจะเล่าถึงปัญหาการทำงานในกงสีของคนสองรุ่นเสียที
โดยผมจะยกปัญหาเป็นข้อๆนะครับ
1.ปัญหาระบบการทำงานกงสี
ต้องบอกก่อนนะครับ ระบบการทำงานในกงสีนั้นก็คือคุณพ่อเป็นคนสร้างขึ้นมาเมื่อ30ปีก่อน และมันแทบไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย พอลูกเข้าไปทำงานกงสีไม่นานก็พบปัญหาแทบจะทันทีเลยครับ เพราะผิดจากที่เรียนมาหรือที่คาดว่าจะเป็นลิบลับ ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัญชี ระบบบัญชีแทบจะมีปัญหาทุกกงสีครับ เนื่องจากจะไม่สะท้อนความเป็นไปของกิจการ ลงผิด ลงถูก บ้างไม่ลง รูรั่วไหลเต็มไปหมด ระบบด้านการผลิต/ขนย้าย/สตอคของ สินค้าเสียหายเยอะ สตอคของไว้เยอะเกินความจำเป็น เมื่อคนลูกได้เข้าไปทำงานก็อยากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ครับ ก่อนแก้ไขจึงได้ไปปรึกษาพ่อ เพื่อนๆพอเดาได้ไหมครับว่่าคนพ่อจะตอบกลับมาว่าอย่างไร
มันเป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้วไม่เห็นเป็นปัญหาอะไร, อะไรที่รั่วไหลนิดๆหน่อยๆไม่ต้องไปสนใจมันหรอก, ของเสียมันเรื่องธรรมดามีดีบ้างเสียบ้าง, แก้ไขไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาสู้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า
เพื่อนๆพอคุ้นประโยคเหล่านี้ไหมครับ เมื่อCEO พ่วงตำแหน่งพูดมาแบบนี้ คนเป็นลูก(น้อง)ก็ต้องพับโปรเจคแก้ไขไปตามระเบียบครับ ครั้นจะไปพูดหว่านล้อม ยิ่งพูดไปกลายเป็นทะเลาะกันเปล่าๆ
2. ปัญหาด้านบุคคลากร
บุคคลากรก็เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกงสี พนักงานที่สำคัญๆก็มักจะอาวุโสกว่าคนลูกอยู่แล้วครับ ส่วนใหญ่ทำงานมาตั้งแต่รุ่นบุกเบิก อายุงาน20ปี 30ปี บางคนยังพ่วงตำแหน่ง อาซิ้ม อาซ้อ อาเจ็ก อาแปะ ด้วยครับ คนลูกยกมือไหว้มาตั้งแต่เด็ก บุคคลากรเหล่านี้เห็นเป็นเพียงเด็ก เผลอแป็ปเดียวจะมาสั่งนู่นสั่งนี้ซะแล้ว จะไปเสนออะไรก็ยากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เหล่าผู้อาวุโสยังมักมีข้อจำกัดในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยครับ ประกอบกับทำงานเดิมมานานยิ่งหมดไฟเข้าไปใหญ่ จะให้เรียนรู้อะไรก็รู้สึกขี้เกียจ อยู่อย่างเดิมดีกว่าเดี๋ยวก็เกษียณแล้ว คนลูกที่อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรก็แต่คนอื่นไม่เอาด้วย แบบนี้ก็น่าอึดอัดใจแทนคนรับช่วงนะครับ
3. ปัญหาด้านแนวการปรับตัว เพราะยึดติดความสำเร็จเก่าๆ
เมื่อยุคสมัยผ่านไป ปฏิเสธไม่ได้นะครับว่าโลกย่อมเปลี่ยนแปลง ตลาดย่อมเปลี่ยนแปลง คู่แข่งใหม่ๆก็เพิ่มเข้ามาในตลาด เมื่อคนรับช่วงต่อเข้ามาก็อยากจะปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เช่นเรื่อง การลงทุนทำเวบไซค์ เฟสบุค สื่อออนไลน์ต่างๆ การลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเพิ่ม การลงทุนโฆษณา เรื่องการลงทุนเหล่านี้เป็นสิ่งใหม่ของกงสี ผู้เป็นพ่อก็มักจะไม่สนับสนุน โดยสันนิฐานว่ามาจาก 3 สาเหตุหลัก
1. การลงทุนเหล่านี้ ลงทุนไปแล้วจับต้องไม่ได้ ไม่ได้การันตีว่าจะทำให้ให้ขายได้มากขึ้น สู้เอาเงินลงทุนแบบนามธรรมนี้ไปลงทุนกับสินค้าดีกว่า (บางทีปัญหาไม่ได้อยู่ที่สินค้า มันอยู่ที่เรื่องอื่นๆประกอบกัน)
2. ยึกติดความสำเร็จเดิมๆ พอไปเสนอก็บอกว่า สมัยก่อนไม่เห็นต้องทำ, ไม่ทำก็สำเร็จได้อย่างที่เห็น, ลูกจะไปรู้อะไร ผู้ใหญ่เขาทำกันมาหลายสิบปีก็ทำแบบนี้, สมัยก่อนปัญหาใหญ่กว่านี้ก็ผ่านมาได้ (มักจะเป็นวิกฤตปี40)
3. ความประหยัด คนรุ่น Baby Boomer มักจะมีนิสัยประหยัดเป็นทุนเดิม นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ยังรวมถึงประหยัดในการลงทุนใหม่ๆด้วย พอจะต้องลงทุนอะไร ถามลูกว่าเท่าไร 3แสนบ้าง 5แสนบ้าง ถามทีสะดุ้งที รู้สึกแพงไปหมด ทำให้ไม่เกิดอะไรใหม่ๆในกงสี สันนิฐานว่าคนรุ่นนี้ยังจำค่าครองชีพในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี พอมาเจอเงินเฟ้อสมัยนี้เข้าก็มืออ่อน ไม่กล้าควักกระเป๋า
4. ปัญหาด้านความไว้ใจเนื่องจากสไตล์การทำงาน
คนรุ่นBaby Boomer นอกจากจะมีจุดเด่นเรื่องประหยัดและยังขยันอีกด้วย คนยุคนั้นทำงานกันตั้งแต่เช้าจนถึงมืดค่ำ และสังสรรค์น้อยกว่า เวลาชีวิตจะอยู่กับงานตลอด แต่ลูกรุ่น Generation Y มักจะมีความคิดเรื่อง work-life balance สูงกว่า เลิกงานก็มักจะไปสังสรรค์ ไหนจะมีงานอดิเรกที่ต้องทำ ในมุมของคนรุ่นนี้คิดว่างานเสร็จก็พอ ไม่ได้ทุ่มเทเวลาเท่าคนรุ่นก่อน จึงเป็นปัญหาว่าคนพ่อเทียบกับตัวเองสมัยอดีต มองว่าลูกไม่ได้ทุ่มเทเอาจริงเอาจังเท่า ความไว้วางใจก็เกิดขึ้นยาก
เป็นยังไงกันบ้างครับ หากมีความคิดเห็นหรือคำถาม สามารถพิมพ์ใต้โพสนี้ได้เลยนะครับ หวังว่าเพื่อนๆจะถูกใจบทความ ถ้าหากถูกใจอย่าลืมกดติดตามกดแชร์เป็นกำลังใจให้เขียนต่อด้วยครับ
1 บันทึก
4
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย