7 พ.ค. 2020 เวลา 08:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สาระ ควรทราบ เพื่อคิด ปรับใช้
พลังงาน (Energy) เหมือนหรือต่างกับ กำลังในการทำงาน (Power)
ภาพ Energy2 บทที่1
เราคงได้ยินกันบ่อย กับ คำว่า Energy(พลังงาน) กับ Power(กำลังในการทำงาน) ในชีวิตของเรา แต่ส่วนใหญ่ จะแยกกันไม่ออก ว่า Energy กับ Power นั้น ต่างกันอย่างไร ใช้ในเหตุการณ์ไหน
1
เรามาดูกันก่อน คำว่า *พลังงาน* ในทางฟิสิกส์ หมายถึง วัตถุใด ๆ ที่มีมวลเมื่อหยุดนิ่ง (มวลนิ่ง) มีพลังงานนิ่ง ที่สามารถคำนวณได้โดยใช้สมการ  E = mc2 อันลือลั่นที่เรารู้จักกันดี ของ Albert Einstein จำนวนของสสารในจักรวาล ก่อให้เกิด การรวมของพลังงานทั้งหมด เป็น พลังงานเอกภพ(Energy of the Universe)
พลังงาน (energy) คือ *ความสามารถทำงานได้ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือระยะทางหนึ่ง* พูดให้ง่ายกว่าเดิม คือ *ความต้องการที่จะใช้* ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ระทางหนึ่งโดยมีหน่วยบอกเวลาหรือระยะทางเสมอ เช่น คนน้ำหนัก 57 กก. ออกกำลังกายที่ 30 นาที จะใช้พลังงานในการว่ายน้ำ 180 Kcal และ ฟุตบอล 210 Kcal
กำลังในการทำงาน (power) คือ *อัตราที่งานนั้นถูกทำหรือปริมาณกำลังงานที่สามารถทำได้* พูดให้ง่ายกว่าเดิม คือ *ขีดจำกัด(Limit)* ของการใช้พลังงานของสิ่งนั้นๆ เช่น แบตเตอรีรถยนต์ขนาด 12V 85A แสดงว่ามีกำลัง 12x85= 1,020 วัตต์หรือ 1.02 กิโลวัตต์ หรือ 1.02 หน่วยของบิลค่าไฟฟ้า
เครื่องจักร กับ สิ่งมีชีวิต จะแตกต่างกันที่ เครื่องจักรนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีพลังงานหล่อเลี้ยงในขณะที่ไม่ได้ทำงาน แต่ สิ่งมีชีวิต จำเป็นจะต้อง มี พลังงานหล่อเลี้ยงชีวิต ในขณะที่ไม่ได้ทำงาน ด้วยการกินอาหารและสันดาปกับออกซิเจน เผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงานหล่อเลี้ยง เมื่อจะทำงาน ก็ต้องกินเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการพลังงานในการทำงาน(Power)
ภาพ Energy1 บทที่1
ประเภทของพลังงาน
1. **พลังงานศักย์** คือพลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุซึ่งอาจถูกปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานรูปแบบอื่นๆได้
มีสองลักษณะคือ
1.พลังงานศักย์โน้มถ่วง
2.พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
2. **พลังงานจลน์** คือ พลังงานที่เกิดกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
เช่น รถยนต์กำลังแล่น เครื่องบินกำลังบิน พัดลมกำลังหมุน น้ำกำลังไหลหรือน้ำตกจากหน้าผา ธนูที่พุ่งออกจากคันศร
จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า พลังงานจลน์ล้วนเป็นพลังงานกลที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้
ภาพ Energy2 บทที่1
ภาพ ภาพประกอบ 4 บทที่1 เครดิตภาพประกอบ4 https://www.gloucestermaritimecenter.org/แหล่งที่มาของพลังงานทดแทน
**พลังงานทดแทน** คือ การคิดค้นหาพลังงานจากแหล่งต่างๆ มาทดแทน พลังงานที่กล่าวมาแล้ว ในรูปแบบเดิม ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อด้อย
รวมถึงกำลังจะหมดไป จึงต้องหาแนวทางของพลังงานใหม่ที่ธรรมชาติมีอยู่แล้วและไม่มีวันหมด มาทดแทน ซึ่งเราจะกล่าวถึงพลังงานทดแทน ที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ ดังได้กล่าวมาแล้วในภาพ Energy1 บทที่1
และในตอนนี้ มนุษย์ก็พัฒนาพลังงานทดแทนเหล่านั้น รวมถึงการคิดค้น การผสานพลังงาน(Energy Merging) ออกมาเป็นพลังงานหมุนเวียน   (Renewal energy)
ซึ่งเราจะมาต่อกันในตอนหน้า ของ เรื่อง การทำงาน การทำความรู้จักและการใช้ การประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน ของ **พลังงานทดแทน** และ **พลังงานหมุนเวียน** เพื่อความสะดวกและปลอดภัย รวมถึง การประหยัดพลังงาน
โฆษณา