16 พ.ค. 2020 เวลา 02:09 • ความคิดเห็น
ทำไมบางคนถึงบอกว่าอดีตที่น่าเจ็บปวดเป็น "บทเรียน" หรือ "ความทรงจำ" ในขณะที่บางคนกลับบอกว่ามันเป็น "แผลใจ" และยังคงถูกอดีตพันธนาการไว้อยู่
ขอ "เล่า" มุมมองนี้ผ่านบทสนทนาระหว่างอาจารย์ กับนักเรียน
อาจารย์: ไม่มีมนุษย์คนไหนมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบกับเหตุการณ์น่าเศร้า
ความล้มเหลว หรือเรื่องน่าเจ็บปวดที่ยากจะทนด้วยกันทั้งนั้น
นักเรียน: แล้วทำไมบางคนถึงยังคงถูกพันธนาการกับความล้มหลว หรือ"แผลใจ" เหล่านั้น แต่บางคนถึงมองว่าเป็น "บทเรียน" และก้าวผ่านมันไปได้
อาจารย์: คำตอบคือเราเป็นคนเลือกชีวิต และอดีตของตัวเอง พวกเขาไม่ได้ถูกอดีตพันธนาการ แต่อดีตได้ถูกแต่งเติมขึ้นจนกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา นั้นคือพวกเขาพยายามจะลืม "ปัจจุบัน" ที่ขมขื่น เลยหันไปเมามายกับเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นในอดีต
นักเรียน: อาจารย์กล่าวแรงเกินไปหรือเปล่าครับ บางคนอาจโชคร้ายที่ได้พบเจอกับความล้มเหลวหรือเจอเรื่องโหดร้ายแบบไม่มีเหตุผลมาก่อน แล้วเหตุการณ์นั้นมันอาจทำให้ชีวิตของพวกเขานั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หวนกลับมาได้
อาจารย์: เข้าใจครับ ผมเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ และผมไม่ยอมรับกับการปล่อยตัวกับการเมามายอยู่กับอดีต งั้นลองดูปริซึมสามเหลี่ยมอันนี้ดูนะครับ
ขอบคุณรูปภาพจาก https://sites.google.com/site/rfgnmipjnhiop/1-4kar-kahnd-sen-si-saeng-ngea-laea-rup-rang?overridemobile=true&tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
ปริซึมสามเหลี่ยมนี้เป็นภาพแทนจิตใจมนุษย์
เมื่อคุณมองที่ปรึซึมคุณจะมองเห็นปริซึมแค่สองด้านจากทั้งหมด แต่ละด้านเขียนอะไรบ้างครับ
นักเรียน: ด้านหนึ่งเขียนว่า "คนอื่นเลวร้าย" ส่วนอีกด้านหนึ่งเขียนว่า "เราช่างน่าสงสาร"
อาจารย์: คนส่วนใหญ่จะพูดอยู่สองอย่างนี้
ถ้าไม่เล่าถึงความอาภัพอับโชคของตัวเอง ก็ด่าว่าคนอื่นหรือสังคมที่ทำร้ายตัวเอง
เวลาคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็เหมือนกัน แถมยังไม่ค่อยรู้ตัวกันเสียด้วย
คุณเองก็น่าจะพอฉุกคิดได้ใช่ไหมครับ
นักเรียน: ถ้าไม่บ่นว่า "คนอื่นเลวร้าย" ก็พยายามแสดงให้เห็นว่า "เราช่างน่าสงสาร" งั้นหรอครับ จะว่าแบบนั้นก็คงได้ครับ...
อาจารย์: แต่สิ่งที่เราควรคุยกันไม่ใช่เรื่องนี้ครับ เพราะต่อให้คุณพยายามชี้ให้เห็นว่า "คนอื่นเลวร้าย" แค่ไหน หรือ "เราช่างน่าสงสาร" ยังไง
สิ่งที่ได้กลับมาอย่างมากก็แค่การรับฟังหรือคำปลอบใจชั่วครู่ชั่วคราว ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอเลยแม้แต่น้อย
นักเรียน: งั้นต้องทำยังไงหรอครับอาจารย์
อาจารย์: คุณคิดว่าด้านที่เหลือของปรึซึมสามเหลี่ยมคืออะไร
นักเรียน: ไม่ทราบเลยครับ
อาจารย์: รบกวนอ่านออกเสียงหน่อยครับ
นักเรียน: "จากนี้ไปจะทำอย่างไร"
อาจารย์: นี้แหละเรื่องที่เราควรคุยกันครับ
จากจุดนี้คนที่รู้สึกเป็นทุกข์กับชีวิตอาจจะพูดถึงอยู่แค่สองเรื่องนี้ "คนอื่นเลวร้าย" หรือไม่ก็ "เราช่างน่าสงสาร" นี้อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นกับดักที่ทำให้เราพันธนาการตัวเองกับอดีตหรือความล้มเหลว
เพื่อที่จะไม่หลงอยู่ในกับดักนี้ คำถามที่ว่า "จากนี้ไปจะทำอย่างไร" อาจจะเป็นสะพานที่นำไปสู่ "บทเรียน"...
*ข้อมูลจากบางส่วนของหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด 2
โฆษณา