6 มิ.ย. 2020 เวลา 02:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รายการ Vaccine #เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด
ตอนที่ 15 การอ้างเหตุผลแบบวิบัติ
การอ้างเหตุผลแบบวิบัตินั้นพบเจอได้บ่อยๆในชีวิตประจำวัน
รายการตอนนี้พาไปรู้จักการอ้างเหตุผลแบบวิบัติที่ควรศึกษาไว้เพื่อไม่ให้คล้อยตาม ได้แก่
1. Argument from authority
การอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นจริงเพราะ บุคคลผู้เชี่ยวชาญ ผู้น่าเชื่อถือ คิดเห็นว่ามันจริง
ในทางตรงข้าม เวลาถกเถียงอาจมีการเบี่ยงเบนประเด็นด้วยการโจมตีที่ตัวบุคคล เรียกว่า Ad hominem เช่น เมื่อถกเถียงกันเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ ก็มีการยกประเด็นโจมตีฝ่ายตรงข้ามในเรื่องส่วนตัว
หรือความผิดในอดีตซึ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่คุยกันอยู่
2. Argumentum ad populum
การอ้างว่าสิ่งนี้จริง เพราะ คนส่วนมากเชื่อกันว่าจริง
ข่าวปลอมหลายเรื่องที่มีคนเชื่อเยอะ อาจใช้การอ้างเหตุผลลักษณะนี้มาเพื่อน้ำหนักความน่าเชื่อถือ
3. Argumentum ad antiquitatem
การอ้างเหตุผลว่าสิ่งนี้ถูกต้องเพราะทำกันมานานแล้ว หรือ ทำกันอยู่เป็นประจำ ทั้งที่จริงๆมนุษย์เราเคยเชื่อเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางเอกภพ มานานนับพันปี แต่ทุกวันนี้เรารู้ว่ามันผิด
เรื่องบางเรื่องอาจจะดีในบริบทของโลกยุคก่อน แต่มันอาจไม่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่
4. Post hoc ergo propter hoc
คือ ความเชื่อว่าสิ่งที่เกิดก่อน เป็นเหตุของสิ่งที่เกิดทีหลัง อย่างแน่นอน
เช่น พอซักผ้า แล้วฝนตก เลยสรุปว่าการซักผ้าทำให้ฝนตก
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะมันเป็นการเชื่อมโยงจนเกิดความเชื่อแปลกๆมากมาย
5. Argument from Ignorance
การอ้างว่าสิ่งนี้จริง เพราะยังไม่มีการพิสูจน์หักล้างว่ามันไม่จริง (และในทางกลับกันด้วย)
ส่วนรายละเอียดและตัวอย่างลองรับฟังในรายการตอนนี้ได้เลยครับ
(ถ้าฟังจนจบมีหัวข้อแถมด้วย)
.................................................................
[ช่องทางรับฟัง]
anchor
spotify
youtube
หรือค้นคำว่า Vaccine ในแอปพลิเคชัน podcast
.......................................................
สนับสนุนรายการโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โฆษณา