20 มิ.ย. 2020 เวลา 06:08
ชาวต่างชาติจะเข้าเขมรต้องจ่าย ค่ามัดจำโควิด 93,000 บาท
หากป่วย – ตาย ต้องจ่ายเพิ่มอีก 180,000 บาท
แต่ถ้าใครจะต้องเดินทางเข้าประเทศกัมพูชาช่วงนี้อาจจะต้องเตรียมใจไว้เลยว่า คุณอาจจะต้องโดนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่งอกออกมานับแสนบาท สำหรับการเข้าประเทศนี้ เพราะล่าสุดสำนักงานการต่างประเทศของกัมพูชาแจ้งว่า ชาวต่างชาติที่จะเข้าสู่ราชอาณาจักรจะถูกเรียกเก็บเงินราว 2,400 – 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ (74,400 – 93,000 บาท) ทันทีที่เหยียบสนามบิน เพื่อเป็นค่ามัดจำการบริการด้านโรคโควิด – 19 โดยไม่มีข้อยกเว้น
ไม่เพียงเท่านั้นหากเกิดมาติดเชื้อในกัมพูชาจนต้องล้มป่วยก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด ซึ่งจะจ่ายด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิตก็ได้ ที่สำคัญจะต้องทำประกันการเดินทางที่มีวงเงินคุ้มครองมูลค่าไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1,550,750 บาท)
ถ้าจำแนกค่าใช้จ่ายเมื่อมาถึงกัมพูชาแล้วก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายดังนี้
🔸ค่าธรรมเนียมการขนส่งทไปยังศูนย์คัดกรองเชื้อ 5 ดอลลาร์ (155 บาท)
🔸ค่าใช้จ่ายในการทดสอบหาเชื้อ 100 ดอลลาร์ (3,100 บาท)
🔸ค่าโรงแรมเพื่อรอผลตรวจ 30 ดอลลาร์/คืน (930 บาท) และอีก 30 ดอลลาร์/วัน (930 บาท) สำหรับค่าอาหาร 3 มื้อ
หากพบว่ามีผู้ติดเชื้อ ทุกคนบนเครื่องบินลำนั้นจะต้องถูกแยกกักกันโรคทั้งหมดเป็นเวลา 14 วัน และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมดังนี้
🔸ค่าพี่พักที่รัฐบาลกำหนด 1,176 ดอลลาร์ (36,473 บาท) รวมค่าอาหาร 15 ดอลลาร์ (465 บาท) ค่าซักรีดวันละ 5 ดอลลาร์ (155 บาท) ค่าใช้จ่ายด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย 3 ดอลลาร์ (93 บาท)
🔸ค่าตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2 100 ดอลลาร์ (3,100 บาท) [หากผลเป็นบวกต้องตรวจอีก 4 ครั้ง ครั้งละ 100 ดอลลาร์]
🔸ค่ารักษาในโรงพยาบาล 3,150 ดอลลาร์ (97,697 บาท)
🔸ค่าใบรับรองสุขภาพเมื่อรักษาหายและประสงค์ออกนอกประเทศ 30 ดอลลาร์ (930 บาท)
🔸หากเสียชีวิตมีค่าฌาปนกิจ 1,500 ดอลลาร์ (46,522 บาท)
1
🔸รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 237,000 บาท (ในกรณีที่รักษาตัวนานค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก)
ค่าทำเนียมนี้ปฏิบัติบังคับใช้กับนักเดินทางชาวต่างชาติทุกคนที่เข้าประเทศกัมพูชา ยกเว้นผู้ที่เดินทางเพื่อการเจรจาต่อรองทางธุรกิจกับรัฐบาล
ส่วนประเทศไทยนั้นหากเป็นคนไทยก็รักษาฟรีตามสิทธิ์ ส่วนชาวต่างชาติก็ใช้สิทธิ์การรักษาตามวงเงินประกันเอกชนที่มี และไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติบ เห็นแบบนี้แล้วประเทศไทยดูเป็นพ่อพระ – แม่พระเลย ซึ่งล่าสุด ณ วันนี้ 20 มิถุนายน 2563 มีผู้ป่วยที่ยังคงรักษาในโรงพยาบาลเพียงแค่ 129 รายเพียงเท่านั้น จากจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 3,147 ราย และรักษาหายไปแล้ว 3,018 ราย
โฆษณา