2 ก.ค. 2020 เวลา 15:25
สดุดีวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทั่วโลกกินแล้วจะต้องซี้ดปาก🦐🔥//RIP เสือตัวที่5😭
วันนี้เมื่อ 23ปีที่แล้ว ประเทศไทยสร้างชื่อในหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์โลก โดยการตัดสินใจ ลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อ ปี 2540 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นดีดี(ดีออก😆) จนทำให้เกิดวิกฤตลุกลามไปทั่วเอเชีย จนเราเรียกกันถนัดปากว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง"🦐🦐🦐
เพื่อเห็นแก่เกียรติยศบรรพบุรุษที่เราได้ทำมา ดอกเบี้ยสีทองถือโอกาส มาเม้าถึงวิวัฒนาการระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกันพอกรุบกริบนะคะ
ย้อนกลับไปในปี 1913 (100กว่าปีที่แล้ว) ประเทศเกือบทั่วโลกผูกค่าเงินตัวเองไว้กับปริมาณทองคำสำรอง มีส่วนน้อยที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว และมีไม่กี่ประเทศที่ใช้มาตรฐานโลหะเพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
หลังจากประเทศต่างๆ ตบตีกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จ คุณ Keynes (เพื่อนๆดิฉันบางคนเสร่อเรียกว่าคุณ คีเนส 😆แต่จริงๆเค้าอ่านว่าเคนส์ค่ะ ส่วนตัวอิฉันจะเรียกว่าพี่ เคน ธีรเดช😊) ตัวพ่อเศรษฐศาสตร์ของโลกก็ริเริ่มการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ก็คือการผูกค่าเงินของแต่ละประเทศเข้ากับดอลล่าสหรัฐฯ
2
ถัดมาอีกถึง60ปี โลกเริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวตามปริมาณdemand supply ของเงิน ในขณะที่บางประเทศยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
แล้วอะไรล่ะ ที่แต่ละประเทศจะเลือกใช้ระบบไหน แล้วระบบไหนถือว่าดีที่สุด คำตอบคือ... ไม่รู้ค่าา...เพราะการเลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศมีเหตุและผลแตกต่างกัน
เช่น ยุโรปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในปี 1979 โดยผูกค่าเงินของตัวเองไว้กับสกุลดอยช์มาร์กของเยอรมันนี เพื่อต้องการนำไปสู่การใช้เงินสกุลเดียวคือยูโรที่กำเนิดในปี 1999 โดยมีจุดประสงค์คือต้องการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศและลดค่าใช้จ่ายทางธุรกรรม
เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อกำแพงเบอร์ลินถูกทำลายลงในปี 1989 เยอรมันต้องจึงอัดฉีดเงินในปริมาณมากเพื่อต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความปรองดองให้กับประเทศ//เพลงเราจะทำตามสัญญากับหน้าลุงตู่ขึ้นมาทันที🎼😆
ธนาคารกลางเยอรมันกลัวว่าการอัดฉีดเงินมหาศาลจะทำให้เกิดเงินเฟ้อที่สูง เลยปรามเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรง, เร่าร้อน, ยั่วยวนของเศรษฐกิจ💋💋💋
1
ขณะเดียวกันอังกฤษที่ผูกค่าเงินไว้กับสกุลดอยช์มาร์กก็เริ่มซวย เพราะเงินทุนเริ่มไหลออกมหาศาล เพราะอีประเทศข้างๆ ดันขึ้นดอกเบี้ยรัวๆ ค่าเงินก็ดันผูกคงที่ไว้อีก เงินไหลออกค่าเงินก็จะอ่อน แต่ตัวเองผูกไว้แล้วแบงก์ชาตก็ต้องแทรกแซงด้วยการซื้อเงินตัวเองกลับเพื่อให้ค่าเงินแข็งกลับมาที่เดิม
แบงก์ชาติอังกฤษสู้ตายเข้าแทรกแซงซื้อเงินตัวเองเพื่อสู้กับเงินทุนที่ไหลออกแบบไม่มีอะไรกั้น แถมยังขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอการไหลออกของเงิน
ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินออก ส่งผลกรรมแบบติดจรวด แม้พี่ริวจะมาช่วยก็ช่วยไม่ได้ ทำให้เศรษฐกิจอังกฤษยิ่งถดถอยไปเรื่อยๆ เพราะต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นทั่วทุกหย่อมหญ้า
เมื่อพี่ริวแก้กรรมให้ไม่ได้ อังกฤษร้องลั่น "เจ็บแล้วจำคือคน เจ็บแล้วทนคือควาย!" ยกเลิกผูกสกุลเงินแบบคงที่และลอยตัวค่าเงินปอนด์ทันที //แม่บอกว่า เจ็บแต่จบ!
เหตุการณ์นี้เป็นไปตามทฤษฎีของ Mundell-Fleming ที่จารึกไว้ว่า ประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และยอมให้มีการเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีจะต้องแลกกับการที่ไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยนโยบาย
1
เลือกได้แค่2ด้านเท่านั้นคร่าาาาา
แต่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสีย ในระยะสั้นโอกาสที่จะเกิดความผันผวนของค่าเงินมีต่ำ ทำให้เหมาะมากกับการทำการค้าระหว่างประเทศ//เปิดด้วยการด่า ปิดด้วยคำชม😜
ย้อนกลับมาที่ไทย ก่อนปี2540 ไทยเราเศรษฐกิจร้อนแรงพุ่งสุดขีด อสังหาริมทรัพย์เราเพิ่มราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เราถูกมองว่าจะเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย 🐯ตัวเลขการลงทุนเราสูงมาก ธนาคารก็เร่งปล่อยกู้มากมายตามการเติบโตของภาคธุรกิจ
ไม่พอธนาคารและธุรกิจยังไปกู้เงินต่างประเทศแบบมหาศาล ซึ่งในขณะนั้นเราใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 25บาทต่อดอลล่าสหรัฐฯ
1
การลงทุนเกินตัวเริ่มนำมาสู่ภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์จากการปั่นราคาและเก็งกำไรกันในประเทศ
ในขณะที่ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเราติดลบมาอย่างต่อเนื่อง เงินสำรองระหว่างประเทศก็ร่อยหรอลงไปทุกที เทียบกับหนี้สกุลดอลล่าที่มากขึ้นไม่หยุด ภาคธุรกิจเริ่มมีสัญญาณหายนะ รายได้เริ่มต่ำกว่าค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย
1
จอร์จ โซรอส ผจก.กองทุน Hedge Fund ฉายาพ่อมดการเงิน ณ กริฟฟินดอร์ เล็งเห็นโอกาสจากความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย ที่พึ่งพาหนี้สกุลต่างประเทศในระดับสูง จึงเริ่มปล่อยข่าว, ซุบซิบ, นินทาว่าบาทจะลดค่าพร้อมกับขายชอร์ตสกุลบาทไปพร้อมๆกัน//ขาเม้านะย่ะหล่อน😆
แบงก์ชาติในขณะนั้นก็สู้ตาย ใช้เงินทุนสำรองของประเทศไปซื้อบาทกลับเพื่อพยุงอัตราแลกเปลี่ยน
ยิ่งโซรอสและผองเพื่อนซื้อดอลล่า/ขายเงินบาทมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าที่แท้จริงคือของค่าเงินคือ ดอลล่าควรจะยิ่งแข็ง เงินบาทควรจะอ่อน
ส่งผลให้แบงค์ต่างประเทศ ที่เป็นเจ้าหนี้ก็หนาวๆร้อนสิ เริ่มเรียกคืนเงินต้นจากแบงค์กับภาคธุรกิจในไทย ทำให้แก๊งลูกหนี้ก็ต้องซื้อดอลล่าไปจ่ายหนี้ต่างประเทศอีก จนดอลล่าเริ่มหายาก และแพงมากๆ
ในที่สุดดอลล่าก็หมด แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนไปพยุงอัตราแลกเปลี่ยน เราคนเดียวจะสู้เค้าไหวหรอ ทำให้ วันที่ 2 กค. 2540 รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ก็ประกาศลอยตัวค่าเงิน
แดงทั้งแผ่นดินค่ะแม่
ผลทันทีคือบาทลอยละลิ่วไปเกือบ 60บาทต่อดอลล่า วิกฤตจริงๆก็มาละทีนี้ เพราะหนี้จากเดิมขึ้นกลายเป็น2เท่า แบงค์ใหญ่กระอักเลือด แบงค์เล็กไม่ต้องพูดถึงไปก่อนเลย เป็นที่มาของวิกฤติต้มยำกุ้งที่ไทยเราต้องแสบร้อนไปอีกนาน ส่วนโซรอส ณ กริฟฟินดอร์ ก็แซ่บต้มยำเสือตัวที่5 กันอย่างสำราญ
ถามว่าเหตุการณ์นี้ไครผิด?
1
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนและการโจมตีค่าเงินถูกเอามาพูดเสมอเมื่อพูดถึงวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่มองดีๆก็คือคนไทยเรานี่แหละที่พลาดเอง หลงระเริงกับความเจริญทางวัตถุ หลงคิดไปว่าการเปิดเสรีทางการเงินจะเป็นคำตอบของการพัฒนาประเทศโดยขาดการกำกับดูแลที่เหมาะสม จนสะสมหนี้ไปไกลเกินกว่าจะหันกลับทัน
1
หันกลับมาดูปัจจุบัน จากเสือตัวที่5 สู่หนี้อันดับ2ในเอเชีย....ฆ่ะแม่😆
1
โฆษณา