12 ก.ค. 2020 เวลา 07:47 • ธุรกิจ
การวางแผนภาษี กับ รายได้ Passive Income>>>
รายได้ Passive Income ในที่นี้ ผู้เขียน หมายถึง ดอกเบี้ยรับและเงินปันผล โดยผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะภาษีของรายได้ Passive Income สำหรับบุคคลธรรมดานะคะ
2
การลงทุนที่จะทำให้ได้รับ Passive Income ในรูปของดอกเบี้ยรับ เช่น การลงทุนในเงินฝากธนาคาร,การลงทุนในหุ้นกู้ เป็นต้น ซึ่งโดยปกตินักลงทุนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% (ยกเว้น เงินฝากธนาคารหากดอกเบี้ยรับไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นเงินได้ คือ ไม่ถูกหักภาษีค่ะ) และการลงทุนที่จะทำให้ได้รับรายได้ Passive Income ในรูปของเงินปันผล เช่น การลงทุนในหุ้น การลงทุนในกองทุนฯ เป็นต้น ซึ่งโดยปกตินักลงทุนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10%
2
"วางแผนภาษีเป็น จะมีเงินเหลือ นำมาซื้อ Ice cream อร่อย ๆ กินค่ะ" อิอิ
ตามกฎหมายสรรพากร หากนักลงทุนเลือกเสียภาษีดอกเบี้ยรับ 15% หรือ เงินปันผล 10% แล้ว จะไม่นำรายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีก็ได้ กฎหมายให้สิทธิเลือกค่ะ (แต่หากนำมารวมคำนวณจะต้องยื่นแบบ ภงด.90) คุ้น ๆ กันมั้ยคะ
1
การที่นักลงทุนจะเลือกนำมารวมคำนวณหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีหากฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีขั้นสุดท้าย) ยังได้รับยกเว้นภาษี หรือ ยังไม่ได้แตะที่อัตรา ภาษี 10% หรือ 15% ผู้เขียนแนะนำให้นำรายได้ Passive Income ไปรวมคำนวณภาษีเงินบุคคลธรรมดาประจำปี เพื่อขอคืนภาษี รายได้ Passive Income ที่ถูกหักไปค่ะ
3
ยกตัวอย่าง (กรณี ดอกเบี้ยรับ)
นักลงทุนได้รับดอกเบี้ยรับจากการลงทุนในหุ้นกู้ 10,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% คือ 1,500 บาท โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังอยู่ในช่วงได้รับยกเว้น 150,000 บาทแรก หรือ อยู่ที่อัตรา 5% หรือ 10% หากนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี นักลงทุนจะได้รับภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่าย คืน ดังนี้
3
(1) อยู่ในช่วงได้รับยกเว้นภาษี จะได้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายคืน 1,500 บาท
(2) อัตราภาษีขั้นสุดท้ายอยู่ที่ 5% (10,000 *5%=500 บาท) จะได้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายคืน 1,000 บาท (1,500-500)
(3) อัตราภาษีขั้นสุดท้ายอยู่ที่ 10% (10,000 *10%=1,000 บาท) จะได้ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายคืน 500 บาท (1,500-1,000)
(ทั้งนี้เอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอคืนภาษี คือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ผู้ออกหุ้นกู้ออกให้ค่ะ)
4
เห็นมั้ยคะ มีเงินเหลือมาซื้อ Ice cream ทานได้ตั้งหลายถ้วยแน่ะ ฮ่าฮ่า....
3
"กระบองเพชร เริ่มออกดอกแล้ว เหมือนการลงทุน ที่เริ่มออกดอกออกผล" อิอิ
สำหรับ Passive Income ประเภทเงินปันผล จะมีวิธีการคำนวณ (หากต้องการนำมารวมคำนวณกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี) ซึ่งการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% กับ นำมารวมคำนวณ วิธีไหนจะประหยัดภาษีมากกว่ากัน นักลงทุนจะต้องนำมาเข้ากระบวนการคำนวณดูค่ะ และเลือกเสียภาษีจากวิธีที่ประหยัดภาษีมากที่สุด
1
ยกตัวอย่าง (กรณีเงินปันผล)
นักลงทุนได้รับเงินปันผลมา 50,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% คือ 5,000 บาท และบริษัทที่จ่ายเงินปันผลได้นำกำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 20% มาจ่ายเป็นเงินปันผล โดยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ขั้นสุดท้าย) ของนักลงทุนอยู่ที่ 5% และนักลงทุนมีรายได้จาก Active Income เช่น เงินเดือน ปีละ 360,000 บาท
2
การคำนวณเปรียบเทียบ
(1) กรณีไม่นำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
รายได้ 360,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 50% (ไม่เกิน 1 แสน)-100,000 บาท
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 260,000 บาท
หัก ลดหย่อน (ผู้มีเงินได้) -60,000 บาท
เงินได้สุทธิ 200,000 บาท
ภาษี 150,000 บาทแรก ยกเว้น
50,000 *5% 2,500 บาท
บวก ภาษีเงินปันผล 10% (แยกคำนวณ) 5,000 บาท
รวมเสียภาษีทั้งสิ้น 7,500 บาท
3
(2) กรณีนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
รายได้ 360,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 50% (ไม่เกิน 1 แสน) -100,000 บาท
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย 260,000 บาท
บวก เงินปันผล 50,000 บาท
บวก เครดิตเงินปันผล 12,500 บาท
รวมรายได้ทั้งสิ้น 322,500 บาท
หัก ลดหย่อน (ผู้มีเงินได้) -60,000 บาท
เงินได้สุทธิ 262,500 บาท
ภาษี 150,000 บาทแรก ยกเว้น
112,500 *5% 5,625 บาท
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกรณี (1) เสียภาษีน้อยลง 1,875 บาท (7,500-5,625)
บวก ได้ เครดิตเงินปันผล คืน 12,500บาท
รวมได้ภาษีคืน 14,375บาท
**สูตรการคำนวณเครดิตเงินปันผล**
เงินปันผล * อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล/(100-อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล)
จากตัวอย่าง 50,000*20/(100-20) = 12,500
5
เครดิตเงินปันผล เป็น วิธีการขจัดการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรสุทธิก้อนเดียวกันที่ครั้งหนึ่ง นิติบุคคลได้เสียภาษีไปแล้ว 20% และเมื่อจ่ายมาเป็นเงินปันผล ก็เก็บภาษีจากนักลงทุนอีก 10%
(ทั้งนี้เอกสารที่จะต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอคืนภาษี คือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ผู้จ่ายเงินปันผลออกให้ค่ะ)
1
การวางแผนภาษีที่ดี จะช่วยทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนมากขึ้น ด้วยการ Save ภาษีที่จะต้องจ่ายมาเพิ่มเป็นเงินในกระเป๋า หรือ เอาไปกิน Ice cream ได้นะคะ ฮ่าฮ่า😋
แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้านะคะ สู้ สู้ (เราจะผ่านวิกฤต โควิด นี้ ไปด้วยกันค่ะ)
1
เพจและ Photo by VI Style by MooDuang
โฆษณา