16 ก.ค. 2020 เวลา 15:13 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤตโควิดระลอกสอง เขย่าค่าเงินบาทอ่อนลง
ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ทั้งที่ช่วงก่อนหน้านี้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ที่ทำให้เงินทุนไหลออกนอกประเทศมากขึ้น
ที่มา Trading Economic
ความหวั่นวิตกของนักลงทุน ที่จะเกิดโควิดระลอกสอง
หลังจากมีรายงานว่า มีผู้ติดเชื้อชาวต่างชาติ ที่ไม่ผ่านการกักตัว ทั้งที่กรุงเทพฯและจังหวัดระยอง ทำให้นักลงทุนมีความวิตกกังวลที่ประเทศไทยจะปิดล็อกดาวน์รอบสอง โดยเฉพาะจังหวัดระยอง ได้รับผลกระทบอย่างมาก ยอดจองห้องพักถูกยกเลิกกว่า 90 % โรงเรียน 127 แห่ง ถูกปิดเพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อ จึงทำให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ ตัดสินใจนำเงินไปลงุทนในต่างประเทศมากขึ้น
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เงินทุนไหลออกนอกประเทศมากขึ้น คือ การที่บริษัท บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ได้ทุ่มเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท เข้าซื้อหุ้นโรงงานไฟฟ้าพลังลมในประเทศเยอรมนี
เมื่อนักลงทุนนำเงินบาทไปแลกกับเงินสุกลอื่นเพื่อลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ความต้องการเงินบาทน้อยลง ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงมากขึ้น
ผลของค่าเงินบาทอ่อนลง ทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น หรือ แย่ลง
ถึงแม้ว่า ค่าเงินบาทอ่อนลง จะทำให้ราคาสินค้าส่งออกของไทยถูกลง แต่ขณะเดียวกัน ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย อย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่นต่างก็ประสบปัญหาโควิดเช่นกัน ทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยยังอาจจะไม่เพิ่มมากนัก ดังนั้นจึงต้องจับตาตัวเลขมูลค่าการส่งออกต่อไปว่า ผลของค่าเงินบาทอ่อนลง จะทำให้ดุลการค้าของไทย เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง มากน้อย เพียงใด
เหตุการณ์ครั้งนี้ต้องแลกกับความเสียหายที่ผู้ประกอบการ แรงงาน และประชาชนในจังหวัดระยองได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก
ความหละหลวมของรัฐบาลที่ปล่อยให้แขก วีไอพีชาวต่างชาติ ได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องตรวจคัดกรองก่อนเข้าประเทศ ขณะที่คนไทยในประเทศกลับต้องเสียสละรายได้ อยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งแสดงถึงการปฏิบัติที่เป็นสองมาตรฐาน
หวังว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นบทเรียนราคาแพงให้แก่ภาครัฐ เนื่องจากไวรัสโควิดไม่ได้ละเว้นว่า บุคคลคนนั้นจะเป็นคนธรรมดา หรือ บุคคลไอพี ทุกคนมีโอกาสติดไวรัสได้ ถ้าไม่ป้องกัน
โฆษณา