22 ส.ค. 2020 เวลา 03:54 • ข่าว
สหรัฐอเมริกากำลังเตะเข้าประตูตัวเอง
สหรัฐกำลังเดินเกมส์เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลและโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านอีกครั้ง โดยแผนการ Maximum Pressure ในครั้งนี้ สหรัฐจะเล่นใหญ่ด้วยการร้องขอให้ UN คว่ำบาตรอิหร่าน ตามข้อมติ UN resolution 2231
แน่นอนว่า จีนคือชาติแรกที่ออกจดหมายแสดงความไม่เห็นด้วย ตามมาด้วยรัสเซีย แต่ทว่า ครั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะสองคู่แข่งทางยุทธศาสตร์นี้เท่านั้น แต่ประเทศยุโรปก็ไม่เอาด้วย !!! เพราะเหตุผลคือ สหรัฐอเมริกา "ไม่มีสิทธิ์" ร้องขอให้ดำเนินการ!!
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
ต้องเท้าความกลับไปก่อนในช่วงปี 2003 ประเทศ Big Three ของ EU คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันรี เริ่มเปิดการเจรจากับอิหร่าน ก่อนที่ ในปี 2006 จะมีอีกสามประเทศเข้ามาร่วมเจรจานิวเคลียร์อิหร่าน คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และ จีน
และดันเรื่องเข้าสู่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC
ทำให้นับตั้งแต่วันนั้น ได้มีการออกข้อมติเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ตามมาอีก 6 ข้อมติ จนถึงปี 2015
ครั้นถึงปี 2015 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ออก ข้อมติ
UN resolution 2231 เกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์อิหร่าน โดยนำมาตรการทั้งหมด มารวบรวมและจัดทำเป็นแผนระยะยาวพร้อมข้อกำกับและบทลงโทษ
เรียกว่า the Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA)
1
หลักใหญ่ใจความก็เป็นการกำหนดขั้นตอน ต่างๆในระยะยาวเป็นปีๆ เลยว่า ในโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อิหร่านต้องดำเนินการอย่างไร มีการตรวจสอบอย่างไร จากองค์กรใดบ้าง ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้โครงการนิวเคลียร์อิหร่าน นำไปสู่การใช้งานพลังงานจริงๆ ไม่ถูกนำไปใช้เป็นอาวุธและที่สำคัญคือกระบวนการทั้งหมดเป็น
ไปด้วยสันติวิธี
JCPOA จึงประกอบไปด้วยประเทศ P5+1 คือสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร บวกกับเยอรมันนี
(สาเหตุที่ต้องมีเยอรมันนี เพราะเป็นคู่ค้าสำคัญของอิหร่าน โครงการนิวเคลียร์ของ
อิหร่าน ต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่างจากเยอรมันนี) ตัวแทนจาก คณะกรรมการระดับสูง EU และตัวรัฐอิสลามอิหร่าน
สหรัฐอเมริกา เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคง หลังการขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของ Donald Trump ที่มาในแนวทางของ American First เน้นการดำเนินนโยบาย โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแสดงหลัก ไม่สนใจในระเบียบโลก ที่สหรัฐฯเองเป็นผู้วางเอาไว้ รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศและความร่วมมือต่างๆด้วย และที่สำคัญ ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านฉบับปี 2015
เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทางการต่างประเทศและเป็นสัญลักษณ์ของอดีตประธา
นาธิบดี Barack Obama
การตัดสินใจล้มข้อตกลงนี้โดยการถอนตัวของสหรัฐฯ ก็มีขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2018 นับว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่สุดนับตั้งแต่การเข้าสู่ทำเนียบขาวของTrump และเป็นการตัดสินใจทางนโยบายที่ได้รับการโต้แย้งอย่างมากที่สุดเช่นกัน แม้แต่พันธมิตรสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ อย่าง สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมันนี
ต่างไม่เห็นด้วยและคัดค้านการตัดสินใจครั้งนี้
หลังจากการถอนตัวของสหรัฐจาก JCPOA อิหร่านประกาศในทันทีในวันถัดมา และความขัดแย้งของสหรัฐและอิหร่านทวีความตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมไปถึงเสถียรภาพในภูมิภาคอีกด้วย เราได้เห็นทั้งการระเบิดคลังน้ำมันในซาอุดีอาระเบีย หรือการฆ่านายพลSoleimani ด้วยโดรนของสหรัฐอเมริกา
ที่เกือบเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามกันมาแล้ว
จากเหตุการณ์ความตึคงเครียดระหว่างกัน มีการใช้กำลังบ้างตามเหตุการณ์ที่กล่าวมา สหรัฐอเมริกา โดยนายPompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เกิด
อยากใช้มาตรการของสหประชาชาติ ในกรกดดันอิหร่านขึ้นมา จึงให้เสนอเรื่องมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านที่เรียกว่า " Snapback Mehanism" คือการให้ประเทศในข้อตกลงชี้ความผิดต่างๆของอิหร่านเพื่อทำการลงมติคว่ำบาตร ตาม ข้อมติ 2231
เพียงเท่านั้นแหละ ทูตของจีนประจำสหประชาชาติ ออกจดหมายถามตอบทันที โดยเนื้อความคือการชี้ให้เห็นประเด็นที่ว่า สหรัฐอเมริกา ไม่มี"สิทธิ" ในการเรียกร้องให้ลงโทษอิหร่านตามข้อมติ 2231 ได้อีกแล้ว เพราะ สหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นชาติสมาชิกใน JCPOA อีกต่อไปแล้ว สหรัฐอเมริกาถอนตัวไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ ปี 2018
จะสามารถร้องขอตามข้อมติดังกล่าวได้อย่างไร
ตามมาด้วยรัสเซียที่ออกมาให้ความเห็นไม่ต่างกันกับจีน แต่ที่สร้างความน่าตกใจไปกว่านั้นคือ ประเทศ E3 หรือ EU3 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมันนี ประสานเสียงเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมดเช่นกัน ว่าสหรัฐอเมริกา หมดสิทธิ์ในข้อมติเหล่านี้ไปนับตั้งแต่วันที่ถอนตัวออกจาก JCPOA เมื่อสองปีก่อนไปแล้ว เท่านั้นไม่พอ 13ชาติ จาก15ชาติในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ออกจดหมายโต้แย้ง
ข้อเสนอของสหรัฐเป็นที่เรียบร้อย
การโต้แย้งจากรัฐที่เข้าร่วมข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านทั้งหมด ไม่ได้เป็นไปเพื่อต้องการช่วยเหลืออิหร่าน แต่แสดงให้เห็นว่า ประเทศต่างๆเหล่านี้ มองเห็นว่า ข้อตกลงโดย JCPOA คือทางที่เหมาะสม ที่จะทำให้อิหร่านปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์เป็นไปได้จริง และสร้างเสถียรภาพในตะวันออกกลางได้ เพราะตลอดสองปีที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาก็แสดงให้เห็แล้วว่า การดำเนินนโยบายของสหรัฐโดยไม่สนใจข้อตกลงที่ทำกัน
ไว้ ทำให้เกิดผลเสียหายและกระทบต่อสันติภาพในโลกมากขนาดไหน
แล้วมาวันนี้ สหรัฐแค่เล็งเห็นว่าจะหาผลประโยชน์จาก Rule-Based System
ที่ตัวเองเคยละเลยไม่สนใจ โดยกะใช้ประโยชน์แบบชั่วครั้งชั่วคราว จะยอมได้อย่างไร
สหรัฐอเมริกากำลังได้รับบทเรียนสำคัญจากการที่ต้องแก้ปัญหาจากการดำเนินนโยบายของตนเอง ที่ใช้ตัวเองในการดำเนินนโยบายถ่วงดุลอำนาจ ทำตามอำเภอใจ โดยไม่สนใจใยดี ระบบระเบียบและองค์กร ที่ตนเองสร้างขึ้นมา ที่อย่างน้อย ถึงอาจจะไม่ทรงประสิทธิภาพ แต่ก็สร้างเสถียรภาพมาในโลกไม่น้อยกว่า 70 ปี แล้ว แต่ไม่รู้ว่า จะเป็นบทเรียนมากพอให้สหรัฐอเมริกาได้ทบทวนการดำเนินนโยบายของตนเองหรือไม่ ถ้าหาก Trump กลับมาสู่ทำเนียบขาวได้อีก
เอวัง
ที่มา
โฆษณา