5 ก.ย. 2020 เวลา 04:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รายการ Vaccine #เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด
ตอนที่ 20 ความเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับการศึกษา (ชีวภาพ)
รายการในตอนนี้จะเล่าให้ทุกท่านฟังถึงความเข้าใจผิดที่แฝงตัวอยู่ในการเรียนการสอน ซึ่งมักจะถูกถ่ายทอดอย่างยาวนานจนกลายเป็นหนึ่งในความเข้าใจผิดที่พบเห็นได้ทั่วไปทั่วโลก
ผมได้เลือกความเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเน้นไปที่วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โดยแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ๆคือ
1. ความเข้าใจผิดที่เกิดจากชื่อเรียกและคำศัพท์
เรื่องนี้เกิดขึ้นกับคำในภาษาไทยที่เรียกชื่อสิ่งมีชีวิตไม่สอดคล้องกับการจัดจำแนกเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น ดอกไม้ทะเล ไม่ใช่พืช แต่เป็นสัตว์ประเภทแมงกะพรุน
บางครั้งอยู่ในรูปความสับสนระหว่างศัพท์ในชีวิตประจำวันกับศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น มวล-น้ำหนัก , อุณหภูมิ-ความร้อน หรือ คำว่า เกลือแกง ที่ใช้ในการปรุงอาหาร กับ สารประกอบเกลือในวิชาเคมี
2. วิวัฒนาการ
ทุกวันนี้ หลายคนยังเข้าใจว่ายีราฟคอยาว เพราะมันพยายามยืดคอไปกินใบไม้สูงๆจนคอยาวขึ้นๆ นี่เป็นหนึ่งในแนวคิดทางวิวัฒนาการที่ถูกเข้าใจผิดเป็นวงกว้าง มันเป็นแนวคิดเก่าแก่ที่ถูกเสนอโดย Jean-Baptiste Lamarck ว่าด้วยการใช้และไม่ใช้อวัยวะ
แต่แนวคิดที่ได้รับความเชื่อถือในปัจจุบันเป็นของชาร์ลส์ ดาร์วิน โดยกระบวนการที่เรียกว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
3.ร่างกายมนุษย์
ยกตัวอย่างเช่น เรื่องแผนที่ลิ้น (Tongue map)
หากคุณเคยเห็นภาพลิ้นแบ่งตำแหน่งการรับรสออกมาเป็นส่วนๆ ว่าส่วนไหนของลิ้นรับรสอะไร ให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นความเข้าใจผิดที่แพร่กระจายไปในระบบการเรียนการสอนทั่วโลก ในความเป็นจริง ลิ้นทุกส่วนรับรสได้ทุกรส มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป
รายละเอียดที่น่าสนใจอื่นๆรับฟังได้ทางนี้ครับ
.................................................................
[ช่องทางรับฟัง]
anchor
spotify
youtube
หรือค้นคำว่า Vaccine ในแอปพลิเคชัน podcast
.......................................................
สนับสนุนรายการโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โฆษณา