17 ก.ย. 2020 เวลา 04:45
นวัตกรรมจะทำให้ดีต้องมี HOPE
บทเรียนจากเรือดำน้ำ...USS Nautilus
วันนี้จะพาไปซื้อเรือดำน้ำ!!
เอ้ย!! ไปพาสร้างเรือดำน้ำกัน...ว่าไปไม่ว่านวัตกรรมนั้นจะเล็กใหญ่แค่ไหนก็ทำได้ขอแค่มี HOPE
แต่ว่า HOPE ไม่ใช่ความหวัง แล้วมันคืออะไรอย่างเพิ่ง งงไปตาม innowayถีบ มาจะเล่าให้ฟัง
ว่ากันด้วยเรื่องนวัตกรรม (หรือ Innovation) การสร้างสรรค์หรือสร้างสิ่งใหม่ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย มีความซับซ้อน บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ขั้นสูง แต่ไม่ว่าอย่างไรกระการสร้างนวัตกรรม มักเกี่ยวกับการทดลอง (Experiment) หรือผสมกับการลองผิดลองถูก (Trial and error)
แต่การทดลองหรือลองผิดลองถูก ถ้าจะทำไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ง่ายที่เราจะเจอของดี วันนี้จะเล่าเทคนิคการสร้างนวัตกรรมด้วย HOPE ของคุณ Scott Anthony เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่ออเมริกามีความคิดที่จะผลิตเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เพื่อที่สามารถทำงานใต้น้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบเพราะเป็นการเผาไหม้แบบที่ไม่ใช้อากาศ
โครงการเรือดำน้ำ USS Nautilus จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในราวๆปี 1952 ได้ออกประจำการ และสร้างชื่อเสี่ยงในหลายสมรภูมิ สร้างสถิติในหลายๆอย่าง เช่นการเดินทางข้ามมหาสมุทร Atlantic โดยไม่โผล่ขึ้นเหนือน้ำเลยเป็นครั้งแรก
ซึ่งผู้ที่เป็นผู้บัญชาการควบคุมการก่อสร้างและทดลองเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ก็คือ นายพล Rickover ซึ่งกระบวนการคิดเเละการทำงานถูกถอดรหัส มาเป็นแนวทางแบบ HOPE นั้นเอง
นายผล Rickover ผู้ซึ่งเป็นผู้นำในการสร้างเรือดำน้ำไฟฟ้านิวเคลียร์ cr. Time
• ซึ่ง H ตัวแรกก็คือ Hypothesis - จะเกิดอะไรขึ้น?
แน่นอนว่าเป็นเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำแรก มันก็ต้องไม่มีพิมพ์เขียวต้นแบบ ทุกอย่างเริ่มต้นใหม่หมด สิ่งหนึ่งที่ทีมสร้างคิดคือเรื่องความปลอดภัย
พวกเค้าจึงเริ่มต้นด้วยการตั้งสมมุติฐานว่ามีอุบัติเหตุอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง หนึ่งในนั้นคือเรื่องการแตกร้าวของตัวเตาปฏิกรณ์ (reactor fatigues) จนเกิดการรั่วไหลของกำมันตภาพรังสี
Hypothesis ของท่านนายพลก็คือ มันจะเกิดการแตกร้าวของ reactor เมื่อเริ่มทำงาน!!
• O ตัวถัดมาก็คือ Objective - เป้าหมายที่อยาก(เรียน)รู้คือ?
Rickover จึงให้เป้าหมายแก่ทีมวิศวกรเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่าการแตกร้าวจะเกิดขึ้นได้ที่ตรงไหนบ้าง?
ซึ่งเป้าหมายที่ชัด และเฉพาะเจาะจงจะช่วยให้การหาคำตอบเป็นไปได่อย่างรวดเร็ว และลดทอนการทำมากเกินไปอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงมันมีอีกหลายตัวแปรที่ต้องทำการทดสอบ แต่เราควรแบ่งซอยให้เป็นเรื่องย่อย เพื่อที่จะสามารถทดลองหาเหตุผลมาสนับสนุนได้อย่างชัดเจนที่สุด
• P มาจาก Prediction - แล้วมันจะเกิดได้อย่างไร (ตรงไหน)?
เมื่อรู้เป้าหมายของการทดลองแล้ว ก็ไม่ถึงกับต้องรีบกระโจนลงมือในทันที ขั้นถัดไปเราก็นำองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วมาวิเคราะห์ก่อนว่าเหตุการณ์มันจะเกิดขึ้นอย่างไรได้บ้าง
เหมือนอย่างวิศกรของของ USS Nautilus แทนที่จะใส่ตัววัดไปทุกตารางนิ้วของ reactor พวกเค้าก็ทำการคำนวณวิเคราะห์หาจุดที่มีความเสี่ยงสูง แล้วทำการวางแผนโฟกัสที่จะศึกษาตรวจสอบในบริเวณนั้นเป็นสำคัญ
ส่วนสุดท้าย E ก็คือ Execution plan - ทดสอบ + วัดผล
การทดลองที่ว่าก็ต้องมีแผนงานที่ลงมือทำแล้ว สามารถวัดผล นำข้อมูลไปเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดคำตอบต่อสมมุติฐานที่ตั้งไว้ทีแรกได้
นี้นหมายความว่าพวกเค้าจะต้องคิดถึงสถานการณ์ต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อตัว reactor แล้วจัดการวางแผนทดสอบ แล้ววัดผลว่า reactor จะมีปัญหามากน้อยขนาดไหน
หลักของ HOPE ก็คือการวางแผนวิเคราะห์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และทดสอบวัดผล เพื่อดูว่าสิ่งที่เราคิดมันใช่หรือไหม??
HOPE จึงช่วยทำเรื่องนวัตกรรมหรือของใหม่ที่ยังเห็นภาพไม่ชัดมาคลี่ออกแล้วค่อยๆทดสอบปัญหาต่างๆทีละเรื่อง เรียนรู้และพัฒนาวงจรของ HOPE จนได้นวัตกรรมที่ถูกใจตอบโจทย์นั้นเอง
USS Nautilus เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำแรก
What It Felt Like to Test the First Submarine Nuclear Reactor, theatlantic.com, 8 Oct 2014
โฆษณา