19 ก.ย. 2020 เวลา 00:29
ก็อปปี้มาไว้เพื่อให้ google อ่านให้ฟัง คนอื่นๆไม่ต้องอ่านนะครับ
มีคนสนใจ อยากรู้หลักการไหลเวียนของอากาศที่มีอุณหภูมิต่างกัน
เรื่องมันไม่ง่าย และก็อธิบายได้ค่อนข้างยากเลยนะ
แต่จะลองพยายามดู หวังว่าจะเข้าใจ
และจะได้เอาไปปรับใช้กับบ้านตัวเองได้
มาเหลากันดู
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อากาศ เป็นเหมือนพาหนะ ที่จะนำเอาอุณหภูมิติดไปกับตัวมัน
ดังนั้น อากาศที่ลอยอยู่ทั่วไป จึงมีอุณหภูมิที่ไม่เท่ากัน
หรือเรียกง่ายๆว่า มีทั้งอากาศที่ร้อน และ อากาศที่เย็น
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ในธรรมชาติ อากาศที่ร้อน จะมีความหนาแน่นที่น้อยกว่า อากาศเย็น
หนาแน่นน้อยกว่าก็เบากว่า เบากว่าก็ลอยอยู่สูงกว่า
ดังนั้น ไอของกาแฟร้อน จึงลอยขึ้นสูง
ส่วนไอของน้ำแข็งแห้ง จึงลอยลงต่ำ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อีกข้อที่ต้องเข้าใจไว้ก่อน สำหรับเรื่องการไหลเวียนอากาศนี้คือ
อากาศจะเกิดการไหลเวียน ถ่ายเทได้
จะต้องมีทางเข้าออก ให้อากาศได้ใช้สำหรับออกและเข้าคนละทาง
นั่นหมายถึงว่า จะต้องมีทางเข้าออก อย่างน้อย 2 ทาง
อากาศจึงจะไหลเวียนได้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เมื่อวานเราคุยเรื่องความร้อนในบ้านแล้ว
สรุปให้ง่ายๆก็คือ ความร้อนเกิดจากการที่ส่วนต่างๆของอาคาร
โดนแดดแล้วก็ร้อนขึ้น จนไม่สามารถอมความร้อนไว้ได้หมด
ก็จะเริ่มคายความร้อนออกมา โดยความร้อนที่คายออกมา
จะวิ่งไปที่อากาศในบ้าน และอากาศนั้นก็จะถ่ายเทความร้อนไปส่วนอื่นๆของอาคาร รวมถึงถ่ายให้คนที่อยู่ในอาคารต่อไป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เมื่ออากาศ คือตัวปัญหาที่ทำให้บ้านร้อน
ถ้าเราจัดการเอาอากาศร้อนไปทิ้ง แล้วนำอากาศเย็นเข้ามาเติมแทน
บ้านเราก็จะร้อนน้อยลง อยู่ได้สบายขึ้น
เพื่อการนี้ เราก็จะใช้หลักการไหลเวียนของอากาศที่มีอุณหภูมิต่างกัน
มาเป็นเครื่องมือในการไล่อากาศร้อนออกจากตัวบ้านเรา
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
จากหลักการที่ว่า อากาศร้อนต้องลอยขึ้นสูง
ดังนั้น เราไปเตรียมช่องเปิดไว้บนหลังคาได้เลย
ตรงนี้ จะเป็นที่ที่เราจะให้อากาศร้อนหัวสูง ลอยออกจากบ้านเราไป
แต่เราก็รู้ว่า เปิดช่องเปิดเพียงทางเดียว อากาศจะไม่ไหลถ่ายเท
อะได้ งั้นเปิดอีกช่อง จะได้ถ่ายเทได้
และ เมื่อจะเปิด เราก็จะเปิดช่องที่จุดต่ำๆ
เพื่อหวังจะได้รับอากาศที่เย็นจากที่ต่ำๆ เข้ามาแทนที่อากาศร้อน
ที่กำลังจะต้องไหลออกจากบ้านไป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ง่ายจัง นี่แค่เปิดช่องบนหลังคา และเปิดช่องอีกช่องใกล้ๆกับพื้น
บ้านก็จะเย็นขึ้นแล้ว ........
ของง่ายไม่มีในโลกหรอก เราจะใช้ธรรมชาติในการจัดการความร้อน
ก็ต้องเล่นกับธรรมชาติให้เป็นด้วย ไม่งั้น ที่ทำไว้ก็ไม่มีประโยชน์อยู่ดี
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การจะทำให้ระบบนี้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
มันยังต้องมีหลักให้คิดและทำตามอีก ดังนี้
1.) ชั้น 1 - 2 - ชั้นหลังคานั้น จะต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องเชื่อมกัน
มากกว่าแค่โถงบันได้ เพราะไม่อย่างนั้น พื้นที่เชื่อมต่อ จะมีปริมาณน้อยไป
ทำให้อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ปริมาณมากพอ ระบบก็ล่ม
2.)ห้องที่ปิดประตู ไม่มีส่วนที่อากาศจะรวมเป็นก้อนเดียวกับอากาศทั้งบ้าน ห้องน้ันจะไม่มีการแลกเปลี่ยนอากาศร้อนเย็น ถ้าบ้านมีห้องที่ปิดเอาไว้เยอะๆ ระบบก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ บ้านก็จะไม่เย็นขึ้น
3.) หากการไหลออก เป็นไปอย่างช้าๆ อากาศที่เข้าใหม่ก็จะเข้ามาช้าด้วย เมื่ออัตราการไหลน้อยเกินไป ระบบก็จะล่มไปด้วย
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
3 ข้อที่ว่ามานี่ มันจะเป็นเรื่องของการต้องออกแบบอาคารช่วยแล้ว จึงจะทำให้เกิดผลได้ดีที่สุด หรือ ถ้าหากการออกแบบมันไม่ดีแล้ว แต่อยากทำระบบนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยลดความร้อนในบ้านเสียบ้าง
จากระบบที่มันควรจะ passive หรือทำงานเองได้ตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งพาแรงจากมอเตอร์หรือเครื่องยนต์
ก็ต้องไปใช้ระบบที่เป็นแบบ active คือเอาพลังงานเข้ามาช่วยขับเคลื่อนระบบอีกที เช่น อากาศไหลไม่ดี ก็ใช้พัดลมช่วยให้ไหลดีขึ้น
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การจัดการทำบ้านให้อยู่สบาย ด้วยการทำให้เกิดระบบ passive มาช่วยในการระบายความร้อน เป็นเรื่องปกติที่สถาปนิกส่วนใหญ่ ทำกันอยู่เป็นปกติ
ส่วนจะทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน อันนี้ก็ขึ้นกับสถาปนิกแต่ละคน
แต่ยืนยันได้ว่า ถ้าผ่านมือสถาปนิกที่พอมีฝีมือบ้าง
ระบบเช่นนี้จะมีอยู่ในบ้านหลังนั้นแทบจะ 90%
โดยเจ้าของบ้านสามารถสั่งเกตได้ว่า บ้านจะมีระบบเช่นนี้หรือไม่
จากองค์ประกอบของการออกแบบ เช่น
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
1.) การออกแบบให้แต่ละห้อง มีหน้าต่างอย่างน้อย 2 บาน
เพื่อให้เกิดการไหลเวียนแลกเปลี่ยนอากาศในหน่วยย่อยของบ้าน
2.) มักมีการออกแบบพื้นที่ที่มีความเชื่อมต่อกันแบบโล่งจากชั้น 1 ไปถึงชั้นบนๆ แบบไม่ีพื้นมากั้นขวาง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกันของมวลอากาศทั้งหลัง และทำให้ระบบระบายความร้อนนี้ ส่งผลต่อบ้านทั้งหลัง
3.) ออกแบบให้มีพื้นที่ใต้หลังคาขนาดใหญ่ มีฝ้าที่ช่วยกันร้อน และมีฝ้าชายคาที่มีรู ช่วยระบายเอาอากาศร้อนออกจากใต้หลังคาโดยเร็วและแรง เพื่อให้อากาศใหม่ไหลเข้ามาแทนที่ได้มากๆ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
แต่ก่อน ระบบการระบายความร้อน ด้วยการถ่ายเทแบบนี้
เพียงพอที่จะช่วยให้บ้านไม่ได้ร้อนจนเกินไปได้
แต่ในปัจจับันมันก็ไม่พอแล้วน่ะละ
ยังไงบ้านก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบปรับอากาศช่วย
เพียงแต่ ถ้าบ้านยังสามารถที่จะลดความร้อนลงได้บ้าง
อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานในการปรับอากาศก็จะน้อยลงได้
ดังนั้น ลองอ่านทำความเข้าใจเรื่องนี้ดู
หากยากไป แนะนำให้ลองอ่านสัก 3 รอบช้าๆ พร้อมดูภาพประกอบด้วย
อาจจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้น
แล้วลองเอาไปปรับใช้กับบ้านของตัวเอง
เท่าที่ทำได้ดู มีอะไรก็มาถาม มาปรึกษาแอดได้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขอให้บ้านร่มเย็น สงบสุขครับ
โฆษณา