19 ก.ย. 2020 เวลา 08:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ECONOMY : เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแล้วหรือยัง ?
วันที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้นนั้นอย่างน้อยจากมุมมองทางเศรษฐกิจก็ยังคงเป็นวันศุกร์ที่ดีวันหนึ่ง โดยในวันที่ 10 เมษายน 2020 การ Lockdown ในหลายประเทศอยู่ในระดับที่รุนแรงที่สุดซึ่งกักขังผู้คนให้อยู่แต่ในบ้านและงดทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทำให้ GDP ทั่วโลกในวันนั้นต่ำกว่าที่ควรเป็น 20%
และตั้งแต่นั้นมา รัฐบาลได้ยกเลิกการ Lockdown ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกลับขึ้นมาเรื่อย ๆ ส่วนปัจจุบัน นักวิเคราะห์กำลังคาดการณ์การเติบโตของ GDP โลกที่ 7% หรือมากกว่านั้นในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
นั่นอาจฟังดูเป็นรูปการฟื้นตัวแบบ V-Shaped ที่น่าทึ่ง แต่ความเป็นจริงที่ต้องรับรู้ก็คือ โลกยังคงอยู่ห่างไกลจากระดับปกติ และรัฐบาลยังคงบังคับใช้มาตรการ Soical Distancing เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสระบาด
แน่นอนว่าการกระทำเหล่านี้ทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจลดลง โดยการอนุญาตให้มีผู้รับประทานอาหารมื้อค่ำน้อยลงในร้านอาหารในแต่ละช่วงเวลา ส่วนการชุมนมหรือกิจกรรมในสนามกีฬาก็ถูกระงับไว้ ขณะที่ผู้คนยังคงกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ
ขณะเดียวกัน ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของทั้งผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ กำลังอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และนี่อาจเป็นการอธิบายถึงความไม่เต็มใจที่จะลงทุนของบริษัท ต่าง ๆ ทั่วโลก (เก็บเงินสดไว้กับตัว)
การคำนวณโดย Goldman Sachs ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่ของโลก ชี้ให้เห็นว่ามาตรการ Social Distancing ยังคงส่งผลให้ GDP โลกลดลง 7-8% ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่The Economist ได้คาดการณ์ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่อพวกเขาบัญญัติคำว่า "90% economy (เศรษฐกิจ 90%)" เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อการ Lockdown เริ่มถูกยกเลิก
"แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะดำเนินไปด้วยกำลังการผลิตประมาณ 9 ใน 10 ของทั้งหมด แต่ก็มีความแตกต่างระหว่างอุตสาหกรรมและประเทศต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบางแห่งก็ทำผลงานได้ค่อนข้างดีจนน่าประหลาดใจ แต่บางแห่งก็ออกมาน่าหวาดกลัว"
ยอดขายสินค้าทั่วโลกฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยยอดค้าปลีกทั่วโลกได้ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดภายในเดือนกรกฎาคม 2020 ตามการวิจัยของ JPMorgan Chase ธนาคารยักษ์ใหญ่ของโลกอีกแห่ง
ด้วยความช่วยเหลือทางด้านเงินสดจากรัฐบาลมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เกิดไวรัสขึ้น ผู้บริโภคทั่วโลกต่างก็จับจ่ายใช้สอยในสินค้าที่จะทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่บ้านได้ดีขึ้น นับตั้งแต่การซื้อ Laptop ไปจนถึงดัมเบลล์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมการค้าโลกที่หยุดชะงัก จึงฟื้นตัวได้ดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้
สำหรับกิจกรรมด้านการบริการ ล่าสุดยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการระบาดเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากอุตสาหกรรมยังคงเสี่ยงต่อการที่ผู้คนจะหลีกเลี่ยงฝูงชน โดยจำนวนผู้รับประทานอาหารในร้านอาหารทั่วโลกยังคงต่ำกว่าปกติประมาณ 30-40% ตามข้อมูลจาก OpenTable ซึ่งเป็น Platform ชั้นนำทางด้านการจองร้านอาหาร ส่วนจำนวนเที่ยวบินตามตารางก็ยังอยู่ที่ประมาณ 50% ของระดับก่อนเกิดการระบาด
ความผันผวนของผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่าง ๆ นั้นโดดเด่นยิ่งขึ้น และแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่อัตราการเติบโตจะแตกต่างกันไปในช่วงภาวะตกต่ำ แต่ขนาดของผลผลิตที่ลดลงในปีนี้กำลังบ่งชี้ว่าความแตกต่างระหว่าง Growth Rate ของแต่ละประเทศนั้นมีมากมายมหาศาลเกินปกติ
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2020 OECD ซึ่งเป็นสมาคมของประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่บนโลก ได้ออกการคาดการณ์เศรษฐกิจฉบับใหม่ พร้อมกับผู้คาดการณ์คนอื่น ๆ อย่างเช่นธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ซึ่งในวันเดียวกันนั้นได้ออกมาเผยแพร่การคาดการณ์ใหม่สำหรับเศรษฐกิจของอเมริกาที่มีความมืดมนน้อยลงจากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
แต่ถึงกระนั้น ช่องว่างการเติบโตระหว่างประเทศที่ฟื้นตัวได้ดีที่สุดและแย่ที่สุดในกลุ่มประเทศ G7 ในปี 2020 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.7% ซึ่งกว้างกว่าในช่วงที่โลกตกต่ำครั้งล่าสุดเมื่อทศวรรษที่แล้ว
ในบรรดาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลก มีเพียงจีนเท่านั้นที่จะขยายตัวในปี 2020 ขณะที่บางประเทศอย่างเช่น อเมริกาและเกาหลีใต้ ต้องเผชิญกับภาวะตกต่ำ แต่ก็ยัไม่ถึงกับระดับของหายนะไปซะทีเดียว แต่ในทางกลับกัน อังกฤษดูเหมือนจะอยู่ในภาวะถดถอยที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตการณ์ The Great Frost* ในปี 1709
*The Great Frost ตามที่รู้จักกันในอังกฤษหรือ Le Grand Hiver ตามที่รู้จักกันในฝรั่งเศส เป็นคำนิยามของฤดูหนาวที่หนาวจัดเป็นพิเศษในทวีปยุโรปเมื่อช่วงปี 1708–1709 ซึ่ง และยังเป็นช่วงที่ยุโรปมีอากาศหนาวมากที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์บางคนยังคงยืนยันว่าช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างแต่ละประเทศนั้นเป็นภาพลวงตาทางสถิติ ซึ่งสะท้อนถึงวิธีการคำนวณตัวเลข GDP ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในอังกฤษที่นักสถิติจะรวมการใช้จ่ายของรัฐบาลเข้าไปในการคำนวณด้วย ซึ่งหมายความว่าการปิดโรงเรียนไปจนถึงการยกเลิกการนัดในโรงพยาบาลจะมีผลกระทบต่อ GDP มากกว่าประเทศอื่น ๆ แต่ความเป็นจริงที่ลึกกว่านั้นก็คือผลกระทบในด้านนี้มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจาก GDP ที่ลดลงส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน
ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจนั้นลดลงด้วย 3 ปัจจัยคือ
(1.) องค์ประกอบทางอุตสาหกรรม โดยประเทศต่าง ๆ เช่นกรีซและอิตาลี ซึ่งพึ่งพาการค้าปลีกและการบริการท่องเที่ยว มักจะถูกคาดการณ์ว่ามีความเสี่ยงมากกว่าเยอรมนีที่ภาคการผลิตจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของยอดขายสินค้าทั่วโลก
(2.) ความมั่นใจของตลาด ซึ่งดูเหมือนจะถูกกำหนดโดยประสบการณ์ของแต่ละประเทศภายใต้การ Lockdown โดยผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของอังกฤษน่าจะเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคระบาดได้ไม่ดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษกังวลมากกว่าชาวยุโรปประเทศอื่น ๆ ในการออกไปเที่ยวข้างนอก
(3.) แรงกระตุ้น ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายนิติบัญญัติของอเมริกาอาจไม่เห็นด้วยกับการอนุมัติเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม แต่พวกเขาได้ก็ได้ประกาศใช้แพ็คเกจช่วยเหลือที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว เมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ ขณะที่ OECD มองว่าสหรัฐฯ จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ฟื้นตัวได้ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในปีนี้
สำหรับคำว่า 90% Economy นั้น นิยามโดยสรุปแล้วก็คือ
"การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังดำเนินอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอน"
รัฐบาลในบางประเทศถูกบังคับให้ต้องสั่ง Lockdown เพิ่มเติมอีกครั้ง ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อาจสามารถผ่อนคลายมาตรการ Social Distancing ได้ดีขึ้นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ GDP ซึ่งหากจะมองในแง่ดี ทั้งหมดนี้ก็อาจทำให้โลกใกล้เข้ามามากขึ้นกับคำว่า 95% economy และ OECD ก็คาดว่า GDP โลกจะฟื้นตัวขึ้นอีกในปีนี้
อาจเป็นเรื่องที่น่าสนใจ สำหรับการคิดว่าวัคซีนจะสามารถผลิตออกมาได้อย่างกว้างขวางเพียงพอที่จะฟื้นฟูสภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องบอกว่าเศรษฐกิจโลกจะมีรอยแผลเป็น และความไม่เต็มใจที่จะลงทุนของบริษัทในวันนี้ จะหมายถึงเงินทุนในการผลิตที่น้อยลงในอนาคต ขณะที่ OECD คาดการณ์ว่าต้นทุนในการขนส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้นไปอีกภายใต้มาตรการ Lockdown
ขณะเดียวกันก็มีคนงานชาวอเมริกันจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่มีความคิดว่าพวกเขาจะไม่กลับไปทำงานเก่า ขณะที่การจัดสรรทรัพยากรใหม่ต่าง ๆ ไปยังบริษัทที่มีประสิทธิผลมากขึ้นจะต้องใช้เวลานาน
ผู้กำหนดนโยบายของ FED คาดว่าการอัตราว่างงานจะไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดที่ 4% จนถึงปี 2023 ขณะที่นักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs คาดการณ์ว่าจะทำได้หลังจากสิ้นปี 2024 เท่านั้น แม้ว่าพวกเขาจะพยายามมองในแง่ดีว่าวัคซีนจะถูกเผยแพร่ทั่วโลกเป็นวงกว้างในไม่ช้านี้ เนื่องจาก COVID-19 มีผลกระทบในระยะยาว และการตกต่ำที่เกิดจากโรคระบาดจะทำให้เศรษฐกิจโลกแย่ลงในอีกระยะหนึ่ง
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
อยากลงทุน อยากมีเงินเก็บอย่างจริงจัง แต่ไม่มีพื้นฐาน World Maker มีคอร์สเรียนดี ๆ มาแนะนำให้ครับ รายละเอียดคลิกเลย !!
โฆษณา