11 ต.ค. 2020 เวลา 12:16 • การศึกษา
สงครามการค้า Huawei ไม่ใช่รายแรก
กรณีศึกษา : สหรัฐฯ กับ โตชิบา
การต่อต้านบริษัทเทคโนโลยี่ต่างชาติ Huawei ไม่ใช่รายแรก สหรัฐฯเคยทำสิ่งเดียวกันนี้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างโตชิบาในอดีต
การปฏิบัติอย่างก้าวร้าวต่อบริษัท เทคโนโลยีต่างชาติโดยสหรัฐฯ เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว หนึ่งในบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายถูกคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เวลานั้นคือบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากญี่ปุ่น
Toshiba
บริษัท โตชิบาของญี่ปุ่น ถูกปฎิบัติไม่ต่างอะไรกับการที่สหรัฐทำกับบริษัทเทคโนโลยีจากจีนอย่าง หัวเว่ย หรือแอพชื่อดัง TikTok
ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่รัฐบาลสหรัฐใช้ข้อหาต่างๆ เช่น ความปลอดภัย การต่อต้านการทุ่มตลาด
ในอดีตนั้น วอชิงตันเป็นเจ้าโลกทางเทคโนโลยี แต่เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ ได้มาจากการปฎิบัติไม่โปร่งใสต่อบริษัทต่างชาติที่มีศักยภาพดีกว่า
บริษัท ของจีนสามารถเรียนรู้บทเรียนจากประสบการณ์ของ Toshiba ได้
บทเรียนจะสอนให้บริษัทของจีน รู้จักลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและตลาดของสหรัฐ
เมื่อ Toshiba: คือภัยคุกคาม
ย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อน ในยุคปี 1980 ที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่นเติบโตเต็มที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น
บริษัทโตชิบา ได้แซงหน้าสหรัฐอเมริกาในฐานะซัพพลายเออร์ชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์ DRAM (หน่วยความจำ) ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ในปี 2530
ในเวลานั้นประเมินกันว่า โตชิบามียอดขายสินค้าสูงถึง 22,700 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่ง 15% เป็นยอดขายในสหรัฐฯ
Toshiba ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปชั้นนำของญี่ปุ่นในเวลานั้น ได้ถูกสหรัฐฯตั้งประเด็นในเรื่อง "ความกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติ"
หลังจากที่ บริษัท โตชิบาถูกพบว่ามีการขายอุปกรณ์ให้กับสหภาพโซเวียต ในปี 1986
ทางวอชิงตันได้ออกคำสั่งห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ Toshiba Corporation ทั้งหมดเป็นเวลา 2 ถึง 5 ปี โดยกล่าวว่าการขายอุปกรณ์ให้กับสหภาพโซเวียต ก่อให้เกิดภัยคุกคาม ต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ
รวมถึงข้อกล่าวหาแบบเป็นทางการว่า Toshiba ได้ละเมิด ข้อตกลงคณะกรรมการประสานงานเพื่อการควบคุมการส่งออก (CoCom) ซึ่งห้ามสมาชิกส่งออกอาวุธหรือเครื่องจักรขั้นสูงไปยังสหภาพโซเวียต ชื่อในเวลานั้น
หลังจากนั้นบริษัท Toshiba ได้ตกเป็นข่าวอย่างหนักจากประเด็นอื้อฉาวนี้
ผู้จัดการสองคนต้องโทษจำคุก ผู้บริหารระดับสูงหลายคนลาออกเนื่องจากทนแรงกดดันไม่ไหว
Toshiba ใช้งบถึงประมาณ 100 ล้านเยน ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐฯเกือบทุกฉบับ เพื่อขอโทษสำหรับเรื่องอื้อฉาว
ชื่อเสียงและเกียรติยศของ Toshiba ในเวลานั้น ถูกทำลายไปจนหมด
เอกสารข้อมูลทางเทคโนโลยีจำนวนมาก ถูกยึดเป็นหลักฐานในระหว่างการสอบสวนของ CIA
ซึ่งการลงโทษ Toshiba นี้ เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน ทางวอชิงตันเลือกที่จะมองข้ามต่อการ "กระทำผิด" จากบริษัทในยุโรปที่คล้ายคลึงกัน
รายงานของนอร์เวย์เปิดเผยในปี 2530 ว่า บริษัท ในประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของ CoCom รวมถึงฝรั่งเศส,อิตาลีและเยอรมนีตะวันตกได้ขายอุปกรณ์ให้สหภาพโซเวียตด้วยเช่นกัน แต่ บริษัทเหล่านี้ไม่ถูกลงโทษ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา.
เห็นได้ชัดว่า.. ในกรณีของ Toshiba เป็นการกำหนดเป้าหมายเฉพาะเจาะจง
ในความเป็นจริง สหรัฐฯ ไม่ได้มีเพียงแรงจูงใจจาก "ความกังวลด้านความมั่นคงแห่งชาติ"
แต่ Toshiba ถูกมองว่า.. เป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนา ของบริษัท เทคโนโลยีของสหรัฐฯ
และในท้ายที่สุด สหรัฐฯ ก็บรรลุเป้าหมายในการปกป้องอุตสาหกรรม [ชิป] ในประเทศ โดยการปราบปรามคู่แข่งรายใหญ่ที่สุด ด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าว
หลังจากนั้น โตชิบายังคงดำเนินธุรกิจชิปต่อไปแบบง่อนแง่นเต็มที่
ท้ายที่สุด!! โตชิบา อดีตบริษัทชิประดับโลกก็ขายหน่วยชิปให้กับ Bain Capital ของสหรัฐ ที่ ราคา 18,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2561
และถอนตัวจากอุตสาหกรรมผลิตชิปอย่างสิ้นเชิง
ในกรณีของ Huawei สหรัฐฯได้ทำสิ่งที่ข้ามกรอบทางกฎหมายพื้นฐาน แต่เป็นการมองว่าสหรัฐฯมีคู่แข่งทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
วิธีคิดของทรัมป์ใช้วิธีคิดแบบการเมือง
"'จีนเป็นศัตรู
ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ของจีนได้'
นี่เป็นตรรกะไร้สาระที่ฝ่ายบริหารของทรัมป์ใช้ในการชักชวนให้พันธมิตรของสหรัฐฯ ให้ร่วมกันคว่ำบาตร Huawei และ บริษัทอื่น ๆ ของจีน
1
References
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
📌 ติดตาม สาระอัปเดต เพิ่มเติมได้ทาง
➡️ Twitter
➡️ Facebook
➡️ Youtube
➡️ Instagram
➡️ Blockdit
➡️ Minds
➡️ Tik Tok
...
หรือช่องทาง line open chat
เพื่อการรับทุกข่าวสารล่าสุด
➡️ Line
...
🙇🙇 ขอบคุณทุกช่องทางการติดตาม🙇🙇
โฆษณา