23 พ.ย. 2020 เวลา 00:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อจีนเปิดเกมส์ก่อน มารู้จักกับข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ RCEP
ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงการค้า TPP ด้วยคำสั่งของประธานาธิบดีทรัมป์ มาถึงตอนนี้ถึงคราวของอินเดียถอนตัวข้อตกลงการค้าที่มีจีนเป็นผู้นำอย่าง RCEP ทั้งสองกรณีแสดงให้เห็นถึงกระแส protectionism
แต่ข้อตกลงการค้าในทั้งสองกรณีก็ยังดำเนินต่อไปโดยปราศจากสองชาติใหญ่ที่ถอนตัว ด้วย 15 ชาติที่เข้าร่วมข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ RCEP คำถามมากมายเกิดขึ้นกับข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้นเราไปรู้จักกับข้อตกลงการค้า RCEP กันหน่อยครับ
1. อะไรคือ RCEP
Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP เป็นข้อตกลงการค้าที่มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศจีนและกลุ่มประเทศ ASEAN อันเป็นเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่าข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยลดกำแพงภาษีและการกีดกันระหว่าง 16 ชาติ ในข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดังกล่าว
2. แล้วตอนนี้ลดเหลือ 15 ชาติ
เพราะอินเดียถอนตัวไปเมื่อพฤศจิกาบน ปี 2019 เนื่องจากต้องการปกป้องแรงงานและเกษตรกรในประเทศ นอกจากนี้ยังกังวลว่าจะมีสินค้าราคาถูกจากประเทศจีนเข้ามาเต็มตลาดในประเทศ
3. อินเดียพลาดโอกาสทอง
แน่นอน เพราะอินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ใน RCEP ในทางกลับกันก็ช่วยขจัดอุปสรรคในมุมมองของจีน ดังนั้นจีนจึงหวังร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน หลังประธานาธิบดีทรัมป์เรียกร้องให้ประเทศเหล่านั้นเลี่ยงการใช้เงินกู้เพื่อโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี 5G นอกจากนี้จีนยังบอกว่าอินเดียเป็นที่ต้อนรับเสมอหากต้องการกลับเข้าร่วมข้อตกลง
4. อะไรทำให้ RCEP มีความแตกต่าง
แตกต่างจาก Trans-Pacific Partnership หรือ TPP อันมีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ ข้อตกลง RCEP ไม่มีเงื่อนไขให้สมาชิกต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประเทศหรือคุ้มครองสิทธิแรงงาน มีมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม หรือคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ข้อตกลง RCEP แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสหรัฐฯ ที่น้อยลง และอาจทำให้ภาคธุรกิจจากสหรัฐฯ ทำธุรกิจในภูมิภาคกดังกล่าวได้ยากขึ้น
5. แล้วเกิดอะไรขึ้นกับ TPP
เปลี่ยนชื่อเป็น CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership ซึ่งเซ็นสัญญากันไปเมื่อเดือนมีนาคม 2018 มีผลบังคับใช้แล้วกับ 7 ชาติ จาก 11 ชาติสมาชิก
และยังดำเนินต่อไป แม้สหรัฐฯ จะถอนตัว ซึ่งนายโจ ไบเดน ระบุว่าพร้อมเข้าร่วมข้อตกลงอีกครั้ง แต่ต้องเห็นการปรับปรุง
6. ชาติไหนเข้าร่วมข้อตกลงอะไรบ้าง
มี 7 ชาติ ประกอบด้วย Australia, Brunei, Japan, Malaysia, New Zealand, Singapore และ Vietnam ที่เข้าร่วมทั้ง 2 ข้อตกลงการค้า
ส่วนประเทศที่เข้าร่วม TPP เพียงข้อตกลงเดียว มี U.S., Canada, Chile, Mexico และ Peru
ด้านประเทศที่เข้าร่วม RCEP เพียงอย่างเดียว ประกอบด้วย China, Cambodia, India, Indonesia, Laos, Myanmar, Philippines, South Korea และ Thailand
ซึ่งข้อตกลง RCEP ก็เปิดโอกาสให้สหรัฐฯ เข้าร่วม แต่ต้องทำข้อตกลงการค้าเสรีกับ ASEAN ก่อน แล้วจึงเข้าร่วมได้
1
ขนาดเศรษฐกิจของประเทศ (GDP) ที่เข้าร่วมข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ RCEP อยู่ที่ประมาณ 30% ของ GDP โลก และส่วนมูลค่าการค้าเมื่อเทียบกับทั้งโลกก็นับว่าใหญ่มาก อีกทั้งยังเพิ่มขึ้นในช่วงที่ COVID-19 แพร่ระบาด
การทำข้อตกลงดังกล่าวจะหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศที่เข้าร่วมกลับมาขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย โดยคาดว่า GDP ของประเทศจีนเพิ่มขึ้น 0.5% ไปจนถึงปี 2030 ส่วนเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้น 1.4% และญี่ปุ่น 1.3% ภายใต้สมมติฐานว่า 90% ของกำแพงภาษีถูกยกเลิกไป
Source : Bloomberg, gzeromedia.com
โฆษณา