4 ธ.ค. 2020 เวลา 10:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักศึกษาจากฟิลิปปินส์สร้าง”โซลาร์เซลล์จากเศษผัก”ที่ให้พลังงานได้แม้ไม่มีแสงอาทิตย์
เมื่อเราพูดถึงพลังงานหมุนเวียน “โซลาร์เซลล์”นั้นเป็นนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมมากๆ
ประสิทธิภาพของมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตรงข้ามกับค่าใช้จ่าย
แต่ว่าข้อด้อยตัวเบิ้มก็คือตอนที่ไม่มีแสง หรือในช่วงฤดูที่เมฆมาก
แน่นอนว่าเราไม่สามารถควบคุมเมฆที่มาปกคลุมได้
แต่สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี่สามารถทำให้ประสิทธิภาพแผงโซลาร์เซลล์ดีเท่าเดิมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
แผงโซลาร์เซลล์ที่สร้างจากแค่เศษอาหาร และมันเป็นไอเดียที่เกิดจากนักศึกษาชาวฟิลิปปินส์วัย 27 ปี…
สิ่งประดิษฐ์นี้เรียกว่า AuREUS ที่คิดค้นโดย คิดค้นโดย Carvey Ehren Maigue นักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าในฟิลิปปินส์
หลักการคร่าวๆของมันคือการรวมเอาอินทรีย์ที่สามารถดูดซับแสงยูวีได้
และเปลี่ยนแสง UV ปล่อยออกมาเป็น Visible light ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานอีกที
The James Dyson Award
คล้ายๆกับการหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปแล้วปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
ตัวต้นแบบถูกสร้างขึ้นในขนาดเพียง 3 x 2 ฟุต และติดเอาไว้ที่หน้าต่างอพาร์ตเมนต์
แต่มันกลับให้พลังงานต่อวันที่เพียงพอต่อการชาร์จแบตโทรศัพท์สองเครื่องสบายๆ
The James Dyson Award
เป็นไอเดียที่แปลกใหม่มากๆ เปลี่ยนเศษพืชผลไม้ให้เป็นแหล่งพลังงาน
และความเจ๋งของสิ่งประดิษฐ์นี้ ทำให้มันชนะรางวัล James Dyson Sustainability Award
พร้อมกับเงินรางวัลกว่า 35,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านบาท)
The James Dyson Award
ต้องยอมรับจริงๆว่าเทคโนโลยีพลังงานทดแทนนั้นก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะกับพลังงานแสงอาทิตย์
ไม่แน่ว่าในไม่ช้าเผลออีกที หลังคา หรือแม้แต่หน้าต่างในบ้านของเรา อาจจะกลายเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้เพียงพอได้ในตัวไปแล้ว…
The James Dyson Award
โฆษณา