7 ม.ค. 2021 เวลา 16:03 • ธุรกิจ
การแบ่ง Catagory สินค้าคงคลังด้วย ABC Classification
หลัก ABC Classication เป็นวิธีจำแนกสินค้าคงคลังออกเป็นแต่ละประเภท โดยพิจารณาปริมาณ(Volumes) และมูลค่า(Values) ของสินค้าคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์เพื่อลดภาระในการดูแล การตรวจนับ และควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่มากมาย ซึ่งถ้าควบคุมทุกรายการอย่างเข้มงวดเท่าเทียมกันจะเสียเวลา และค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น เพราะในบรรดาสินค้าคงคลังทั้งหลายของแต่ละธุรกิจมักจะเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
A เป็นสินค้าสินค้าคงคลังที่มีปริมาณน้อย (ร้อยละ 5-15 ของปริมาณสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างสูง (ร้อยละ 70-80 ของมูลค่าทั้งหมด)
B เป็นสินค้าคงคลังทีมีปริมาณปานกลาง (ร้อยละ 30 ของปริมาณสินค้าคงคลังทั้งหมด) และมีมูลค่ารวมปานกลาง (ร้อยละ 15 ของมูลค่าทั้งหมด)
C เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณมาก (ร้อยละ 50-60 ของปริมาณสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 5-10 ของมูลค่าทั้งหมด)
ตัวอย่างเช่น
ฝ่ายคลังสินค้าในโรงงานเอสเอสไอ รับผิดชอบในการสำรองอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร ซึ่งได้เก็บประวัติการใช้งานที่ผ่านมา มีหมายเลขชิ้นส่วน ราคาต่อหน่วย และการใช้งานดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตำราชุดโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล
ซึ่งสามารถหาชั้น หรือกลุ่มของอะไหล่คุณระหว่างต้นทุนต่อหน่วยกับอุปสงค์ต่อปี และจัดชั้นได้ดังนี้
ตำราชุดโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล
ตำราชุดโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล
ตำราชุดโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล
การจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดเอบีซี จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังแตกต่างกันดังต่อไปนี้
สินค้ากลุ่ม A ต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับ และจ่ายสินค้า และมีการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชีอยู่บ่อยๆ เช่น ทุกสัปดาห์ การควบคุม จึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง และต้องเก็บสินค้าไว้ในที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายปัจจัยการผลิตไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้า และสามารถเจรจาต่อรองราคาได้
สินค้ากลุ่ม B ต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลางด้วยการลงบัญชีคุมยอดบันทึกเสมอ เช่นเดียวกับ A ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า เช่นทุกสิ้นเดือนและการควบคุม B จึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A
สินค้ากลุ่ม C การควบคุมไม่มีการจดบันทึก หรือมีก็เพียงเล็กน้อย สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวกเนื่องจากเป็นของราคาถูก และปริมาณมาก ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวดจะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ เพื่อป้องกันไม่ให้สูญหายการตรวจนับจะใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวด คือเว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าใช้ไปในปริมาณเท่าใด แล้วก็ซื้อมาเติมหรืออาจใช้ระบบ 2 กล่อง (Two-Bin System) ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้ พอใช้สินค้าในกล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้ แล้วรีบซื้อสินค้าเพื่อเติมใส่กล่องสำรองแทน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น
ที่มา : ตำราชุดโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล
เรียบเรียงโดยโลจิสติกส์คอนเทนต์ 7/1/2021

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา