25 ธ.ค. 2020 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าเงินบาทแข็ง - ค่าเงินบาทอ่อน
ใครได้ ใครเสีย ?
ช่วงนี้ใครที่ติดตามอ่านข่าวเศรษฐกิจน่าจะได้ยินข่าวเรื่องค่าเงินบาทแข็งสุดในรอบหลายเดือน หรือ ข่าวเรื่องค่าเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งนึง
1
ซึ่งเป็นประเด็นที่นักลงทุนส่วนใหญ่กำลังติดตามอยู่ เพราะ “ค่าเงินบาทแข็ง - ค่าเงินบาทอ่อน” จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออก ผู้นำเข้า นักลงทุน และผู้ที่กู้เงินตราต่างประเทศ
ดังนั้น การแข็งค่าหรืออ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลต่อกลุ่มคนเหล่านี้อย่างไรบ้าง? ใครจะได้ประโยชน์? ใครจะเสียประโยชน์? สามารถหาคำตอบได้จากโพสนี้
เราจะมาอธิบายเรื่องที่เข้าใจได้ยากให้ทุกคนได้เข้าใจง่ายขึ้น และอาจจะคลายความสับสนให้กับใครได้อีกหลายคน ตามมาอ่านต่อด้านล่างได้เลยค่ะ
“ค่าเงินบาทอ่อน”
คือ การใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
เกิดจากความต้องการขายเงินบาทเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
ใครได้ประโยชน์บ้าง?
🔸 ผู้ส่งออก ผู้คนทำงานต่างประเทศ และผู้ประกอบธุรกิจที่รับเงินสกุลต่างประเทศ - กลุ่มคนเหล่านี้จะนำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
ใครเสียประโยชน์บ้าง?
🔸 ผู้นำเข้า - ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจะเพิ่มขึ้น
🔸 ประชาชน - จะต้องซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
🔸 ผู้ลงทุน - ต้นทุนการนำเข้าสินค้าจะเพิ่มขึ้น
🔸 ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ - มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น
“ค่าเงินบาทแข็ง”
คือ การใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม เกิดจากความต้องการซื้อเงินบาทเพิ่มขึ้นทำให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น
ใครได้ประโยชน์บ้าง?
🔸 ผู้นำเข้า - ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า
🔸 ประชาชน - ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้ถูกลง
🔸 ผู้ลงทุน - นำเข้าสินค้าทุนได้ถูกลง
🔸 ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ - มีภาระหนี้ลดลง
ใครเสียประโยชน์บ้าง?
🔸 ผู้ส่งออก ผู้คนทำงานต่างประเทศ และผู้ประกอบธุรกิจที่รับเงินสกุลต่างประเทศ - นำรายได้ที่เป็นเงิน
สกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
ส่วนปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า คือ
🔸 ดุลการค่าและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
– ถ้าไทยเกินดุลการค้า (มีมูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า) จะมีเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากๆ เงินทุนที่ย้ายเข้ามาจะถูกแลกจากเงินดอลลาร์ฯเป็นเงินบาท ทำให้ความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นส่งผลให้เงินบาทมีค่าเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแข็งขึ้น
– ถ้าไทยขาดดุลการค้า (มูลค่าส่งออกน้อยกว่านำเข้า) จะมีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากประเทศมากๆ ความต้องการแลกเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์ฯ เพื่อนำออกนอกประเทศมากขึ้น ทำให้เงินบาทมีค่าลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่า
1
🔸 อัตราดอกเบี้ย
– ถ้าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ปรับลดลง จะทำให้อัตราดอกเบี้ยไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง ทำให้มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายเข้าไทยมากขึ้น เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาจะถูกแลกเป็นเงินบาททำให้ความต้องการซื้อเงินบาทสูงขึ้น ค่าเงินบาทจึงแข็งค่า
– ถ้าอัตราดอกเบี้ยของไทยปรับลดลง ทำให้มีเงินทุนไหลออก ความต้องการขายเงินบาทเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ฯ จะเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทจึงอ่อนค่า
🔸 เงินฝืด - เงินเฟ้อ
– ถ้าไทยเงินฝืดสูง นักลงทุนก็อยากถือครองเงินสกุลไทยกันเยอะ เพราะเงินจะด้อยค่าแค่นิดเดียว นักลงทุนจากต่างประเทศจะนำเงินมาแลกเป็นสกุลเงินไทยมากขึ้น นอกจากนี้ทางธนาคารกลางจะกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายลดลง ทำให้ปริมาณเงินบาทในประเทศเพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งขึ้น
– ถ้าไทยเงินเฟ้อสูง นักลงทุนก็ไม่อยากถือครองเงินสกุลไทย เพราะเงินจะด้อยค่าลง รวมถึงทางธนาคารกลางจะกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลง และค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่า
ที่มา: www.bot.or.th
ฝากติดตามเพจ Cashury - เพจความรู้พื้นฐานด้านการเงินการลงทุน
ติดตาม Cashury ผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#Cashury #Investment #FinancialAdvisor #Finance #ลงทุน #การเงิน #กองทุน #หุ้น #เริ่มต้นลงทุน #มือใหม่เริ่มต้นลงทุน #พื้นฐานการลงทุน #ออมเงิน #ค่าเงิน #เงินบาท #ค่าเงินบาทแข็ง #ค่าเงินบาทอ่อน
โฆษณา