27 ธ.ค. 2020 เวลา 18:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรามาต่อกันเลยค่ะกับการทำ Biochemical test จากคราวที่แล้วเริ่มที่จะทราบแล้ว ว่าเชื้อรหัส 13R R มีแนวโน้มไปทางเชื้อในกลุ่มของ Klebsiella และ Enterobacter
การทดสอบต่อไปคือการทดสอบความสามารถของเชื้อในการใช้น้ำตาลทั้งสามชนิดและการสร้างแก๊ส ซึ่งในอาหารจะประกอบไปด้วยน้ำตาลสามชนิดคือ กูลโคส 0.1% ซูโครส 1% และแลคโตส 1% เมื่อมีการย่อยน้ำตาลเกิดขึ้นก็จะเกิดกรดที่ทำให้ค่า pH ในอาหารลดลงทำให้อาหารเปลี่ยนจากสีส้มแดงเป็นสีเหลืองค่ะ นอกจากนี้ ใน อาหารยังมีโซเดียมไธโอซัลเฟตเมื่อถูกแบคทีเรียบางชนิดทำปฎิกิริยาก็จะเกดเป็น ไฮโดรเจนซัลไฟต์ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี จะทำให้อาหารเกิดรอยแตกได้ค่ะ และเมื่อ ก๊าซดังกล่าวทำปฏิกิริยากับเฟอร์ริกคลอไรด์ในอาหารทำให้เกิดเป็นตะกอนสีดำที่ ไม่ละลายน้ำเกิดขึ้นค่ะ ผลการทดสอบของเรานะคะพบว่า เชื้อรหัส 13R R ให้ผลเป็นกรดทั้งด้านบนและด้านล่างของอาหาร ทั้งนี้ยังสามารถสร้างก๊าซได้ด้วย จะเห็นได้ ว่าไม่ตรงกับ flowchart ตรงที่ต้องเป็นกรดและไม่เกิดก๊าซแต่ของเบนซ์เนี่ย ดันเกิดก๊าซค่ะ ดังนั้น เบนซ์จึงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่า จริงๆแล้วก็มีเชื้อในสองกลุ่มนี้บางชนิดที่สามารถสร้างก๊าซได้นั่นเอง เราจึงเดินทางตาม flowchart ไปทางด้าน ขวาค่ะ
ภาพผลการทดลอง Triple sugar iron test .ให้ผลเป็น A/A G
การทดลองต่อมาคือ Ornitine test เป็นการทดลองความสามารถของเชื้อในการ ย่อย Arginine ในอาหาร เกิดการเปลี่ยนแปลงของอาหารในหลอดทดลอง เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง อาหารในหลอดอาหารเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลืองและเมื่อผ่านไป 48 ชั่วโมง อาหารก็ยังคงเป็นสีเหลือง ซึ่งให้ผลเป็น negative ค่ะ
ผลการทดสอบ Ornitine test ให้ลเป็น Negative
ดังนั้นนน จากผลการทดลองเมื่อเทียบกับ flowchart จะได้ว่าเชื้อรหัส 13 R R มี ความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นเชื้อ Klebsiella นั้นเองงง
โฆษณา