28 ธ.ค. 2020 เวลา 13:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เปิด 10 ธุรกิจติดโผ ‘ดาวรุ่ง’ โอกาสพารวย – ‘ดาวร่วง’ เข้าข่ายเสี่ยง ปี 2564 จากหอการค้าไทย
1
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย 10 ธุรกิจดาวรุ่ง และธุรกิจดาวร่วง ปี 2564 ซึ่งธุรกิจการแพทย์และความงามมาแรง ส่วนธุรกิจดาวร่วง เข้าข่ายมีความเสี่ยง เช่น เช่าหนังสือ โทรศัพท์พื้นฐาน
2
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลวิจัย 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งและธุรกิจดาวร่วง ปี 2564 ว่า จากการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจในปีหน้า ยังมีโอกาสขยายตัวได้ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์โควิด-19 เข้ามา ซึ่งได้จัดทำ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2564 ดังนี้
3
ธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2564
1
1. ธุรกิจบริการทางแพทย์และความงาม, ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
2
2. ธุรกิจแพลตฟอร์ม, จัดทำคอนเทนต์, กลุ่มยูทูบเบอร์ และการรีวิวสินค้า
4
3. ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
1
4. ธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์
1
5. ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิเคราะห์และจัดการข้อมูล
2
6. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ
7. ธุรกิจ Street Food และ Food Truck
8. ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์และเดลิเวอรี, ธุรกิจด้านฟินเทคและธุรกิจพลังงาน
2
9. ธุรกิจตู้หยอดเหรียญฯ อาทิ ร้านสะดวกซัก, เครื่องเติมเงินและเติมน้ำ
1
10. ธุรกิจที่ปรึกษาด้านกฎหมายและบัญชี, ธุรกิจออกแบบแพ็กเกจจิ้ง บรรจุภัณฑ์
1
ธุรกิจดาวร่วง ปี 2564
1
1. ธุรกิจเช่าหนังสือ
1
2. ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่องโทรสาร, ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ความจำ Storage media ก็คือ CDs, DVDs, Blu-Ray Discs, External Hard Drives, Memory Cards
2
3. ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และวารสาร
2
4. ธุรกิจร้านอินเทอร์เน็ต และธุรกิจคนกลาง
1
5. ธุรกิจดั้งเดิมที่ไม่มีดีไซน์และใช้แรงงานมาก (เฟอร์นิเจอร์และของเล่น)
4
6. ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานเยอและขายในประเทศ, ธุรกิจหัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์ไม้
7. ธุรกิจซ่อมรองเท้า
3
8. ธุรกิจการค้าแบบเดิม, ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก
1
9. ธุรกิจผลิตผักและผลไม้อบแห้ง
10. ธุรกิจร้านถ่ายรูป
โดยมีปัจจัยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในปี 2564 ดังนี้
- เริ่มมีวัคซีน COVID-19 และเริ่มมีการใช้
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
- เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว
- การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในช่วงปลายปี หลังมีวัคซีน
- มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงสินเชื่อควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
- กำลังซื้อของประชาชนฐานรากที่เพิ่มขึ้นตามมาตรการสวัสดิการ
- แห่งรัฐและการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการประกันราคาสินค้าเกษตร
- เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวเร็วกว่า ที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์เอาไว้
- ภาคการผลิตและภาคบริการทั่วโลกเริ่มที่จะฟื้นตัวภายหลังจากการคลาย Lockdown
- ธนาคารกลางทั่วโลกต่างปรับนโยบายการ เงินเป็นแบบผ่อนคลาย
ด้านปัจจัยที่บั่นทอนการดำเนินธุรกิจ ในปี 2564 ได้แก่
- สถานการณ์ COVID-19 ยังมีอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกัน
1
- ความเปราะบางทางการเมืองทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนลดลง
- สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังคงมีความเปราะบาง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก จากสถานการณ์ COVID-19
- เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าปกติ และมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง
- ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
- หนี้เสีย (NPL) ของสถาบันการเงินที่มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น
- ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้ง/ฝนทิ้งช่วงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
- ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีน
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ติดตาม workpointTODAY ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK
โฆษณา