5 ม.ค. 2021 เวลา 04:00
🏍 Food Delivery ธุรกิจที่มาแรงพร้อมการระบาดของไวรัส กับอำนาจผูกขาดที่มองไม่เห็น 👀
Food Delivery ธุรกิจที่แจ้งเกิดพร้อมโรคระบาด
เปิดศักราชต้นปี 2564 มา พร้อมกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ และมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ Covid-19 ในหลายพื้นที่ นี่คือสิ่งที่มีผลโดยตรงกับธุรกิจร้านอาหาร 🍽 ถ้าลองนึกย้อนกลับไปในยุคก่อนสำหรับใครที่ทำร้านอาหาร แล้วอยากเพิ่มยอดขายมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ต้องทำเลยก็คือ การ "เพิ่มสาขา" เพราะโดยปกติร้านอาหารมักจะขายได้เป็นช่วงเวลา เช่น เวลาอาหารกลางวัน 11.30-13.30 น. โดยประมาณ หรือเวลาอาหารเย็น 17.30-20.30 น. พูดง่าย ๆ ว่า ใน 1 วันจะมีช่วงเวลาที่ร้านอาหารขายดีเพียงแค่ 5 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น 🥡
1
💲 ประกอบกับความจุของที่นั่งในร้านทำให้สามารถรับลูกค้าที่เข้ามารับประทานอาหารได้อย่างจำกัดในช่วงเวลาดังกล่าว การเพิ่มจำนวนที่นั่งด้วยการ "เพิ่มสาขา" ของร้านอาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับร้านอาหารที่ต้องการเติบโต 〽️
สิ่งที่เพิ่มขึ้นหลังจากการ “เพิ่มสาขา” คือ เงินลงทุนที่สูง 💰 ไม่ว่าจะเป็นการเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง อุปกรณ์เครื่องครัวต่าง ๆ รวมถึงการสร้างระบบการจัดส่งวัตถุดิบเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งนั่นก็แปลว่าจะต้องมีต้นทุนการบริหารจัดการที่สูงขึ้นมาด้วย 🧮
🚩 แต่ในยุคปัจจุบัน เรามีสิ่งที่เรียกว่า "Food Delivery" ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกไม่เพียงแต่กับ "ผู้บริโภค" แบบเรา ๆ เท่านั้น ที่เพียงแค่นั่งอยู่ที่บ้านก็สามารถสั่งอาหารจากร้านชื่อดังที่หากต้องไปรอคิวที่หน้าร้านจะต้องใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง มาได้แบบสบาย ๆ แถมต้นทุนในการเดินทางไปทานที่ร้านยังแพงกว่าค่าส่งอาหารด้วย Food Delivery อีกต่างหาก 🍲 🍛 🍣 🍱 🎈 ในมุม "ร้านอาหาร" ถือว่า Food Delivery เข้ามาเป็นตัวสนับสนุนให้ร้านอาหารสามารถขายอาหารในเวลา 5 ชั่วโมงได้มากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนขยายสาขา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายร้านเลือกที่จะไม่ให้บริการการนั่งทานภายในร้าน แต่จะเน้นให้บริการผ่าน Food Delivery เท่านั้น เพราะใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่า ไม่ต้องเสียค่าตกแต่งร้าน และลงทุนเพียงแค่ค่าอุปกรณ์เครื่องครัวเท่านั้น 👨‍👨‍👧‍👧 👩‍👩‍👦
1
และในปัจจุบันที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทั้งระลอกแรก และระลอกใหม่ 💊 💉 🩸 🧬ช่วงเวลาที่ถูกปิดเมือง (Lockdown) ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ Food Delivery เติบอย่างก้าวกระโดด เมื่อลองเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 และ 2563 ธุรกิจ Food Delivery นั้นเติบโตถึงร้อยละ 78-84 เลยทีเดียว ‼️
2
🟢 แน่นอนว่าการเข้ามาของผู้ให้บริการ Food Delivery นั้นไม่ได้มีแต่ข้อดีที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคและร้านอาหารเท่านั้น แต่การที่ทั้งผู้บริโภคและร้านอาหารต่าง ๆ เข้ามาใช้บริการ Food Delivery อย่างมหาศาลนั้นก็มีข้อเสียที่ตามเช่นกัน นั่นก็คือ ทำให้อำนาจต่อรองของผู้ให้บริการ Food Delivery สูงขึ้นอย่างมหาศาลและเกิดการเรียกเก็บ "ค่าธรรมเนียม" ที่ไม่เป็นธรรม 🚩
2
✨ เมื่อในห่วงโซ่ธุรกิจใดมีผู้เล่นที่มีอำนาจต่อรองสูงกว่าผู้เล่นคนอื่น ๆ ก็ไม่เป็นที่แปลกใจว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกไปอยู่กับผู้เล่นที่มีอำนาจต่อรองที่สูง เราจึงจะเห็นได้ว่าในฐานะผู้บริโภคเองก็ต้องแบกรับภาระค่าอาหารที่แพงขึ้นมากกว่าการสั่งหน้าร้าน ‼️ เนื่องจากร้านอาหารจำเป็นต้องเพิ่มราคาอาหารที่ขายผ่าน Food Delivery เพราะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูง ทำให้เกิดการผลักภาระมายังผู้บริโภค สำหรับร้านอาหารขนาดใหญ่อาจจะยังพอมีอำนาจต่อรองกับทางผู้ให้บริการ Food Delivery อยู่บ้าง โดยร้านอาหารขนาดเล็กที่อำนาจต่อรองไม่ได้สูง ก็อาจไม่มีทางเลือกมากนัก จึงเกิดการร้องเรียนของร้านอาหารขนาดเล็กเข้ามายังหน่วยงานที่กำกับดูแลอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา 💵
4
‼️ จนล่าสุดในช่วงปลายปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ได้มีข้อสรุปในการเข้ามาช่วยเหลือในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการ Food Delivery เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือค่าส่วนแบ่งรายได้ (Commission Fee) โดยไม่มีเหตุจำเป็นหรือไม่แจ้งล่วงหน้า ❌
1
❌ รวมถึงห้ามบังคับให้ร้านอาหารเลือกใช้บริการได้เพียงแพลตฟอร์มเดียว (Exclusive Dealing) โดยไม่มีเหตุจำเป็น หรือการใช้อำนาจต่อรองอย่างไม่เป็นธรรม ❌ เช่น ห้ามเข้าไปแทรกแซงการตั้งราคา การยกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรมโดยไม่แจ้งล่วงหน้า หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน เป็นต้น ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้กำลังอยู่ในช่วงรอผ่านความเห็นชอบก่อนการประกาศลงใช้ใน ราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทางกฏหมายต่อไป 🧾
1
🏍ซึ่งการเข้ามาแทรกแซงของทาง สขค. เป็นการช่วยลดอำนาจการผูกขาดของผู้ให้บริการ Food Delivery ลง ส่งผลทำให้ผู้ใช้งานทั้งฝั่งผู้บริโภคไม่ต้องแบกรับราคาที่สูงกว่าการไปนั่งทานที่ร้าน (หรืออาจจะราคาเท่าเดิมแต่ได้ปริมาณที่น้อยลง) และฝั่งร้านอาหารที่จะไม่ถูกเรียกเก็บส่วนแบ่งรายได้ที่สูงจนเกินไป ซึ่งการแทรกแซงนี้ก็จะช่วยทำให้กลไกต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาอยู่ ณ เวลานี้มีความชัดเจนมากขึ้น ยิ่งลดอำนาจการผูกขาดได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการ Food Delivery กันมากขึ้น ในภาพรวมก็จะส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน 😁
5
🏍 หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง เมื่อธุรกิจใดที่ดูแล้วจะทำกำไรได้ดี ก็จะมีผู้เล่นรายใหม่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าธุรกิจ Food Delivery เองก็เนื้อหอม ดึงดูดผู้เล่นรายใหม่มาเรื่อย ๆ เช่นกัน หลังจากนี้ไปน่าจะได้เห็นการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น ด้วยมาตรการการลดชั่วโมงการเปิดของร้านอาหารเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ Covid-19 ในช่วงนี้ จำนวนผู้บริโภคที่ใช้บริการ Food Delivery จึงสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ใครที่สามารถปรับตัวและตอบโจทย์ได้ทั้งผู้บริโภคและร้านอาหารได้มากกว่าก็จะเป็นผู้ชนะในศึกครั้งนี้อย่างแน่นอน 😅
#KBankLive
1
โฆษณา