16 ม.ค. 2021 เวลา 03:40 • สุขภาพ
"คุณมีอาการนอนไม่หลับ"
จริงหรือไม่
.
หากคุณกำลังให้ความสำคัญกับการนอนอย่างมีคุณภาพ วันนี้ลองถามตัวเองอย่างจริงจัง โดยเริ่มถามตนเองว่า
.
"การนอนไม่หลับกำลังเป็นปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณหรือไม่"? "
"แค่นอนไม่หลับ!?"
แล้วลองสังเกตตัวคุณเองดูว่า คุณนอนหลับได้เองภายใน 20 นาทีนับแต่เข้านอนหรือไม่?
.
ต่อมาพิจารณาเรื่องเวลาตื่น คุณสามารถตื่นได้เองในตอนเช้าหรือไม่?
.
หลังจากตื่นนอนคุณมีอาการอ่อนเพลีย มึนงง เวียนศรีษะ หรือมีอาการไม่สดชื่นอื่นๆ อย่างไรบ้าง?
.
ฉะนั้นให้เริ่มปรับแก้... แล้วมาเริ่มต้น นอนอย่างมีคุณภาพกันนะคะ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่...ทั้งๆ. ที่รู้ว่าพรุ่งนี้มีงานที่ต้องทำ ต้องเดินทางแต่เช้า หรือมีธุระ ควรจะรีบเข้านอน
.
แต่รู้ทั้งรู้ แต่ไม่รูทำไมนอนไม่หลับ? ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน
.
สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดสิ่งนี้คือ สารสื่อประสาท ที่ชื่อ #โดปามีน
.
อย่าเพิ่งเข้าผิดนะคะ โดปามีนไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคุณที่เกี่ยวกับการนอนหลับอย่างลึกซึ้งแนบแน่น
.
โดปามีนนี่แหละคือตัวการสร้างสภาวะ
“ทั้งๆ ที่รู้ดีอยู่แก่ใจ แต่ก็เลิกไม่ได้ซักที"
.
.
การทำงานของมัน จะเริ่มมีการหลั่งสารสื่อประสาทนี้ตอนที่คุณทำกิจกรรมบางอย่าง แล้วคุณรู้สึกพึงพอใจ จากนั้นสารสื่อประสาทนี้แหละที่จะหลั่งออกมามากขึ้นๆ และกระตุ้นให้คุณทำสิ่งนั้นอีก
.
ลองนึกตามแบบนี้ดูกันนะคะ คาดว่าหลายๆ ท่านน่าจะมีประสบการณ์ การช้อปปิ้งโดยเฉพาะสินค้าโปรโมชั่น ตอนแรกๆ เราอาจจะส่องหาสินค้าที่อยากได้แล้วตั้งใจเลือกอย่างพิถีพิถัน
.
แต่ทันที่ที่คุณได้ซื้อซักอย่างสองอย่างแล้ว
.
.
.
เราก็จะเริ่มรู้สึกสนุกสนานกับการ จับจ่ายซื้อของ
.
ใช่ไหมคะ?
.
พอรู้ตัวอีกที หลายๆ ครั้งเราก็เผลอซื้อของไปมากมาย ทั้งที่ไม่ใช่ของจำเป็นไปแล้ว
.
และนี่แหละคือ กลไกของโดพามีน​ ที่ส่งผลให้คุณนอนไม่หลับ
.
มันทำให้คุณไม่สามารถเลิกดูทีวี หรือเลิกเล่นโซเชียลก่อนนอนได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ
.
.
.
รู้อย่างนี้แล้วเอาไงต่อดีคะ???🙄
คาเฟอีนส่ฝผลต่อการนอนหลับ
แล้วคุณ​รู้หรือไม่ว่าร่างกายเราใช้อะไรในการย่อ​​#คาเฟอีนในร่างกาย
.
นั่นก็คือ
เอ็นไซม์ในตับชื่อ “#ไซโตโครม”
.
โดยคาเฟอีนในร่างกายจะถูกขจัดออกจากระบบร่างกายโดยเอ็นไซม์นี้ #ซึ่งประสิทธิภาพของเอ็นไซม์นี้ในแต่ละคนจะมีประสิทธิภาพต่างกัน
.
หากคุณเป็นคนที่ตับสามารถกำจัดคาเฟอีนจากกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว คุณอาจจะสามารถดื่มเอสเพรสโซ่มื้อค่ำและยังสามารถผล็อยหลับยามดึกไปได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ
.
ในขณะที่​ "บางคน" อาจจะต้องใช้เวลานานกว่ามากเพื่อกำจัดคาเฟอีนในปริมาณเท่ากันออกจากร่างกาย
.
นอกจากประสิทธิภาพของเอ็นไซม์ ไซโตโครม แล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการขจัดคาเฟอีนออกจากร่างกาย
.
คือ​ "อายุที่เพิ่มขึ้น!"
.
ร่างกายก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการกำจัดคาเฟอีนนานขึ้นอีก
.
ปริมาณการนอนและคุณภาพการนอน!
ก็เป็นตัวการหนึ่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขจัดคาเฟอีนออกจากร่างกายด้วยนะคะ
.
อ่าว...​บ่ายนี้ใครดื่มกาแฟไปแล้ว​ พิมพ์​ 0​ มาเป็น​เพื่อนกันหน่อยนะคะ
โฆษณา