26 ม.ค. 2021 เวลา 10:46 • การตลาด
หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ่อยกับคำว่า Data Driven หากแปลตรงตัว Data Driven ก็คือการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data - ข้อมูล, Driven - ขับเคลื่อน) แต่จะมีใครรู้ลึก รู้จริงว่าคำนี้มีความหมายยังไง และเราสามารถนำ Data Drivenไปใช้กับสถานการณ์ไหนได้บ้าง
ในเชิงมาร์เก็ตติ้ง Data Driven คือวิธีทางการตลาดที่นำ Data มาประยุกต์ใช้งาน ในทุกๆกระบวนการทำงาน โดยจะไม่นำความคิดเห็นส่วนตัว หรือประสบการณ์ของบุคลากรมาใช้ตัดสินใจจะมีเพียงแค่ Data เท่านั้นที่นำมาใช้วิเคราะห์ วางแผน และทำงาน
1
Data Driven strategy
การนำ Data มาใช้เพื่อเกิดประสิทธิภาพนั้นเราต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนว่า เราต้องการอะไร? แล้วค่อยใช้ Creative ผสมกับ Data ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา
ยกตัวอย่างร้านไอศกรีมชาเขียวเจ้าหนึ่ง เขาออกสินค้าทั้งหมด 100 ถ้วย แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีการซื้อไม่ถึง 10 ถ้วยด้วยซ้ำ
สิ่งที่ “เขาคิด” ว่าที่ขายไม่ดีนั้น น่าจะเป็นเพราะคนยังไม่ค่อยรู้จักแบรนด์ เขาจึง ลงทุนทำโฆษณา แจกใบปลิวต่างๆ เพื่อให้คนรู้จัก และผลลัพท์ที่ได้คือ ยอดขาย เพิ่มขึ้นในช่วงแรกเท่านั้น แต่สุดท้ายก็ลดลงกลับมาเท่าเดิม
 
สิ่งที่ "เขาคิด” ลำดับต่อมาก็คือ ลูกค้าอาจจะไม่มั่นใจในรสชาติ จึงมีการแจกให้ชิมก่อนซื้อ แต่ยอดขายก็ไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก
และสิ่งที่ “เขาคิด” ลำดับต่อมา คือต้องมีโปรโมชั่นดีๆ เพื่อจูงใจลูกค้า ผลลัพธ์คือ ยอดขายเพิ่มขึ้น จากโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 แต่เมื่อหมดโปรฯ ทุกอย่างก็กลับไปเป็นเหมือนเดิม
ทั้งการโฆษณา ทั้งโปรโมชั่นดีๆที่ให้ชิมก่อนซื้อ หรือถึงขนาด ซื้อ 1 ถ้วยแถม 1 ถ้วยจำนวนยอดขายก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจเท่าไรนัก แต่ "ปัญหา” ที่แท้จริงที่ทำให้ยอดขายไม่เพิ่มขึ้น คือการที่ไม่ได้นำ Data มาใช้แต่ใช้ ความคิดเห็นส่วนตัว
 
การที่ "เขาคิด” หรือนำความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสิน ไม่ใช่เรื่องผิดเพียงแต่มันคือความคิดว่าลูกค้า ‘อาจจะชอบ’ เหมือนที่เราชอบ
ลูกค้า ‘อาจจะอยากได้’ เหมือนที่เราอยากได้
โดยที่เราไม่เคยได้ถามลูกค้าว่า เค้าชอบเหมือนเราไหม? เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มเปลี่ยนการทำงานจาก "เราคิด” เสียก่อน
1
โดยเริ่มใช้ Data ในการ Drive ความคิด ถ้าลองเปลี่ยนแนวคิดแล้วใช้ Data จะที่ผ่านมา ก็พบว่า แท้จริงแล้วปัญหา คือ "ระดับความเข้มข้นของชาเขียว”
1
จากข้อมูลการซื้อขายทุก ๆ ครั้ง ลูกค้ามักจะพูดคุย และแนะนำให้ลองทำรสชาติที่ เข้มข้นบ้าง เจือจางลงบ้างเสมอ นี่แหละ คือการเริ่มใช้ Data ในการทำงาน
รสชาติที่เขาคิดเองว่าจะขายได้ แต่ไม่เคยถาม หรือไม่เคยสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าชอบแบบไหน นี่แหละครับคือปัญหาที่แท้จริงที่เค้าค้นพบได้จากข้อมู [ใช้ข้อมูลในการหาปัญหา] และเมื่อเราดู Data และได้รู้ปัญหาจริง ๆ ว่าคือ รสชาติความเข้มข้น ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องเอา Data มาวิเคราะห์และ Creative ออกมาแก้ไขปัญหาครับ [รู้ปัญหา เอาข้อมูลมาคิด Creative]
1
โจทย์ของร้านไอศกรีมชาเขียว คือต้องการเพิ่มยอดขาย แต่ปัญหาคือ เรื่องความเข้มข้นของชาเขียว ทางร้านไอศกรีมจึงเปลี่ยนวิธีการนำเสนอ โดยการทำชาเขียวจำนวน 100 ถ้วย “เท่าเดิม”แต่ที่แตกต่างไป คือทำระดับความเข้มตั้งแต่ หวาน ไปจนถึง ขม ถึง 10 ระดับ ผลที่ได้คือ ขายหมดครับ โดยที่ไม่ต้องคิดโปรโมชั่นอะไรเพิ่มเติม และเท่านั้นยังไม่พอ เค้ายังได้ Data มาอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นว่า ระดับไหนที่คนชอบมากที่สุด คนอายุเท่าไรชอบความเข้มข้นเท่าใด หรือแม้แต่คนที่ชอบกินระดับหวาน มักจะซื้อ น้ำชา ควบคู่ไปด้วย
เห็นไหมครับ ว่าแค่เราเปลี่ยนวิธีการนำเสนอง่ายๆ เพิ่มระดับให้ลูกค้ามีทางเลือกใน การเลือกตามที่ตัวเองชอบเรากลับได้ Data ที่มากมายมหาศาล โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติม และยังสามารถ นำ Data ที่ได้ไปต่อยอดเป็น เมนูพิเศษหรือทำโปรโมชั่น เพื่อเพิ่มยอดขายหรือแตกเมนูใหม่ๆได้อีกมากมาย [Creative ให้ได้ ข้อมูลเพิ่มมากยิ่งขึ้น]
3
ทุก ๆ ขั้นตอนนี้แหละครับ คือการใช้ Data Driven ในการทำงาน
การนำ Data มาทำงานมันมีข้อดียังไง
1.เราจะรู้ อินไซด์ลูกค้า อย่างแท้จริง ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมแบบไหน ชอบแบบไหน ทำอะไร
2. ตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เพราะ ธุรกิจ ถูกขับเคลื่อนด้วยลูกค้า
แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าจะมาในรูปแบบไหน
3. ขายง่ายขึ้น หรือภาษาการตลาด ก็คือ การวางกลยุทธ์การตลาด สร้างแคมเปญ
ให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุด
1
ส่วนข้อเสีย มีข้อเดียว
ข้อมูลนั้นไม่ได้มาง่าย ๆ ครับ
1
บทความหน้าจะมีเรื่อง Data กับธุรกิจที่น่าสนใจจะมาเล่าเพิ่มให้ฟังนะครับ
ติดตามบทความดีๆของ Kidyers ได้ทาง Channel นี้ครับ
#Kidyers #DataDriven #Marketing
โฆษณา