2 ก.พ. 2021 เวลา 11:40 • ธุรกิจ
ทางด่วน กับ มอเตอร์เวย์ ใครรายได้ เยอะกว่ากัน
คนที่เคยขับรถในกรุงเทพฯ น่าจะต้องเคยใช้งาน ทางด่วน และ มอเตอร์เวย์
ทางด่วน และ มอเตอร์เวย์ มีความเหมือนกันและแตกต่างกันอย่างไร
ใครเป็นเจ้าของ ทางด่วน กับ มอเตอร์เวย์
แล้วใคร ที่ทำรายได้ดีกว่ากัน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
มาเริ่มกันที่ ฝั่งของ ทางด่วน หรือ Expressway กันก่อน
1
ทางด่วน (Expressway) คือ เส้นทางพิเศษยกระดับในกรุงเทพฯ ซึ่งบริหารจัดการโดย “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)” ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม
1
ปัจจุบัน ทางด่วนของ กทพ. เปิดให้บริการแล้ว 7 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางพิเศษ 3 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง รวมระยะทาง 207.9 กิโลเมตร
2
โดยเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุด 3 อันดับแรกคือ
- ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี) ระยะทาง 55 กิโลเมตร
- ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) ระยะทางรวม 38.4 กิโลเมตร
- ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร
1
Cr. BEM
ใน ปี 2562 มีปริมาณรถยนต์ทุกประเภท
ที่มาใช้บริการทางด่วนทั้งหมดของ กทพ. ทั้งหมด 695 ล้านคัน
1
โดย “บางส่วน” ของทางด่วน
กทพ. ได้ให้สัมปทานแก่เอกชนเพื่อไปบริหารจัดการ
ซึ่งบริษัทที่ได้รับสัมปทานทางด่วนก็คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หรือ “BEM” ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แล้วผลประกอบการของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นอย่างไร?
ปี 2560 รายได้ 17,555 ล้านบาท กำไร 9,539 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 17,597 ล้านบาท กำไร 5,798 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 18,620 ล้านบาท กำไร 6,702 ล้านบาท
2
ทีนี้เรามาดูอีกหนึ่งเส้นทางที่ถือเป็น เส้นทางสำคัญ นั่นคือ “มอเตอร์เวย์ (Motorway)”
มอเตอร์เวย์ เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างจังหวัด
และเป็นทางวิ่งระดับพื้นดิน ไม่ได้เป็นเส้นทางลอยฟ้าเหมือนกับทางด่วน
Cr. MOTORWAY
แต่มีลักษณะเหมือนกันกับทางด่วนคือ
เป็นเส้นทางปิดที่มีการควบคุม ทางเข้า-ออก แบบสมบูรณ์
รถที่เข้ามาใช้บริการต้องจ่ายค่าผ่านทางถึงจะเข้ามาใช้ได้
1
ปัจจุบัน มอเตอร์เวย์เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ซึ่งมีระยะทางรวมกันประมาณ 189 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วย
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี สายใหม่
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เส้นทางสายวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (ช่วงบางปะอิน-บางพลี)
2
ปัจจุบัน มอเตอร์เวย์นับเป็นหนึ่งในเส้นทางที่มีรถยนต์มาใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคตะวันออก
3
เนื่องจากภาคตะวันออก ถือเป็นพื้นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก
เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังท่าเรือสำคัญๆ เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด
ที่สำคัญคือ เป็นเส้นทางที่เชื่อมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งในภาคตะวันออก เช่น พัทยา
1
ข้อมูลล่าสุด ในปี 2559 ปริมาณรถยนต์ทุกประเภทที่มาใช้บริการมอเตอร์เวย์ มีจำนวน 203 ล้านคัน
1
โดยผู้ดูแลและบริหารจัดการเส้นทางมอเตอร์เวย์ คือ “กรมทางหลวง”
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม เช่นเดียวกับทางด่วน (Expressway)
Cr. Wikipedia
แล้วผลประกอบการของ กรมทางหลวง ผู้บริหารมอเตอร์เวย์ เป็นอย่างไร ?
ปี 2560 รายได้ 6,039 ล้านบาท กำไร 2,095 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 6,865 ล้านบาท กำไร 2,716 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 8,219 ล้านบาท กำไร 4,309 ล้านบาท
สรุปแล้ว ผลประกอบการของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยผู้บริหารทางด่วน มากกว่า รายได้ของ กรมทางหลวงผู้บริหารมอเตอร์เวย์ อย่างไรก็ตามต้องหมายเหตุว่า ทั้ง 2 องค์กรนี้มีรายได้อื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางพิเศษรวมอยู่ด้วย
1
ส่วนเจ้าของ ของทั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง คือคนเดียวกัน นั่นก็คือ กระทรวงคมนาคม นั่นเอง
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ในงบประมาณรายจ่ายปี 2564 รัฐบาลตั้งวงเงินไว้จำนวน 3,300,000 ล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นของกระทรวงคมนาคมเท่ากับ 231,924 ล้านบาท หรือประมาณ 7% ของงบประมาณรายจ่าย
1
โดยส่วนราชการภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด คือ “กรมทางหลวง” ด้วยจำนวนเงิน 128,577 ล้านบาท..
1
References
-รายงานประจำปี 2562, การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
1
โฆษณา