5 ก.พ. 2021 เวลา 05:09 • สุขภาพ
โครงการโคแวกซ์ (COVAX) เผยแพร่รายงานคาดการณ์แจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการทั่วโลกภายในเดือนมิถุนายนนี้ พบ 9 ชาติสมาชิกอาเซียนติดโผได้รับวัคซีนโควิด-19 แต่ยังไม่ปรากฎประเทศไทยอยู่ในแผนได้รับวัคซีนของโคแวกซ์
14
แต่ละประเทศอาเซียนได้วัคซีนโควิด-19 จากโคแวกซ์จำนวนเท่าไหร่บ้าง และทำไมไทยยังไม่อยู่ในกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนจากโคแวกซ์ วันนี้ workpointTODAY สรุปเรื่องนี้มาให้อ่านกัน
1
1.) 'COVAX' (โคแวกซ์) โครงการประสานงานที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศยากจน เผยแพร่รายงานเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยคาดการณ์การแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการภายในเดือนมิถุนายน หรือไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
4
2.) เอกสารของโคแวกซ์เปิดเผยว่า ภายในเดือนมิถุนายนนี้ มีแผนจะแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 สูตรของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) โดยแบ่งออกเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตโดย 'เอสเค ไบโอไซเอนซ์' (SK Bioscience) จำนวน 96 ล้านโดส และวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตที่สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) อีก 240 ล้านโดส
5
นอกจากนี้โคแวกซ์ยังคาดว่า น่าจะได้รับวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ที่พัฒนาร่วมกับบริษัทไบโอเอ็นเทค (BioNTech) อีก 1.2 ล้านโดสด้วย
5
3.) การแจกจ่ายในครั้งนี้ โคแวกซ์ระบุว่า มีประเทศที่คาดว่าจะได้รับวัคซีนไม่ต่ำกว่า 140 ประเทศและดินแดน โดยประเทศเหล่านี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
3
⚫️ ประเทศที่สั่งซื้อวัคซีน (Self-financing participant: SFP)
⚫️ ประเทศที่ทำสัญญาจองล่วงหน้า (Advance Market Commitment: AMC)
โดยประเทศที่อยู่ในส่วนที่ 2 หรือ AMC จะมีบางประเทศได้รับเงินสนับสนุนจากโคแวกซ์ในการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ด้วย ขึ้นอยู่กับสถานะของประเทศนั้นๆ ว่า เข้าเกณฑ์เป็นประเทศยากจนที่จะได้รับความช่วยเหลือหรือไม่ หากไม่เข้าเกณฑ์ก็ยังต้องใช้งบประมาณซื้อวัคซีนโควิด-19 ในราคาที่ตกลงไว้กับโคแวกซ์อยู่
2
4.) จากการตรวจสอบเอกสารประเมินการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ของโคแวกซ์ ที่ออกมาล่าสุดนี้ พบมีชาติอาเซียน 9 ประเทศอยู่ในแผนที่คาดว่าจะได้รับวัคซีนโควิด-19 จากโคแวกซ์ โดยแบ่งเป็นชาติที่สั่งซื้อวัคซีน (SFP) 3 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย และสิงคโปร์
1
ส่วนอีก 6 ชาติอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อยู่ในกลุ่มประเทศที่ทำสัญญาจองล่วงหน้า (AMC) โดยไม่ปรากฎประเทศไทยอยู่ในรายงานฉบับนี้
4
5.) โคแวกซ์ระบุว่า การจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้จะคำนวณตามสัดส่วนประชากรเป็นหลัก โดยคาดว่า ชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ชาติจะได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามจำนวนดังต่อไปนี้ ภายในเดือนมิถุนายน
3
⚫️ ประเทศที่จ่ายเงินค่าวัคซีนเอง (SFP)
บรูไน 100,800 โดส
มาเลเซีย 1,624,800 โดส
สิงคโปร์ 288,000 โดส
2
⚫️ ประเทศที่ทำสัญญาจองล่วงหน้า (AMC)
กัมพูชา 1,296,000 โดส
อินโดนีเซีย 13,708,800 โดส
ลาว 564,000 โดส
เมียนมา 4,224,000 โดส
ฟิลิปปินส์ 5,617,800 โดส
เวียดนาม 4,886,400 โดส
4
6.) สำหรับการเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ของประเทศไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ว่า ประเทศไทยได้ส่งหนังสือแสดงเจตนารมณ์เข้าร่วมใน COVAX facility แล้ว
4
ในการแถลงข่าววันเดียวกัน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติระบุว่า การสั่งจองวัคซีนกับโครงการ COVAX facility น่าจะทำให้ไทยได้รับวัคซีน 20% จากเป้าหมายจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ได้ 50% ของประชากรทั้งประเทศ
2
7.) ขณะที่เมื่อวันที่ 24 มกราคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ประเทศไทยมีแผนร่วมจัดหาวัคซีนโควิด-19 กับโคแวกซ์มาตั้งแต่แรก โดยการเจรจามีเงื่อนไขว่า จะให้วัคซีนฟรีกับประเทศยากจน แต่ประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จึงไม่ได้สิทธิ์รับวัคซีนฟรี
2
นพ.โอภาสยังระบุด้วยว่า หากเข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ประเทศไทยต้องนำเงินไปร่วมลงขันในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ด้วย ซึ่งทางโครงการไม่ได้ระบุว่า จะใช้วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทใด ขณะเดียวกันตอนนั้นการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ยังมีความคืบหน้าไม่มาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะเอางบประมาณไปลงตรงนั้น
1
โฆษณา