13 ก.พ. 2021 เวลา 02:00 • สิ่งแวดล้อม
INNOVATION : แผงโซลาร์จากเศษผักเหลือทิ้ง ดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
บ่อยครั้งที่สิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ นี่เป็นอีกก้าวของความสำเร็จที่เกิดจากการสังเกตสิ่งเล็กน้อยใกล้ตัวของ Carvey Ehren Maigue
หนุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟิลิปินส์ ผู้คิดค้นหน้าต่างที่สามารถรับแสงยูวีแล้วแปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสะอาดหมุนเวียน
เมื่อวันหนึ่งที่แสนธรรมดา ในขณะที่เขากำลังเดินอยู่นอกอาคาร บรรยากาศครึ้มฝน แต่แว่นสายตาของเขา ยังคงปรับเป็นสีชาเพื่อกันแสงแดด ทำให้เขาฉุกคิดได้ว่าแม้เราจะไม่รู้สึกถึงแดดจัด แต่เรายังได้รับแสงยูวีจากดวงอาทิตย์อยู่เขาจึงเกิดไอเดียในการสร้างหน้าต่างดูดซับแสงขึ้นมา
1
James Dyson นักธุรกิจผู้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์เจ้าของรางวัลเวทีการประกวด James Dyson Award ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของไอเดียนี้ จึงได้พัฒนาต่อยอดสร้างงานของเขาให้เป็นจริง โดยผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า “AuREUS” ซึ่งเลียนแบบการเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่าง แสงออโรรา เมื่ออนุภาคเรืองแสงในชั้นบรรยากาศชั้นบน ดูดซับพลังงานจากรังสียูวีและแกมมาแล้วปล่อยออกมาเป็นแสงที่มองเห็นได้
3
กระบวนการเดียวกันนี้ถูกฝังไว้ในแผงเรซิน เมื่อแสงแดดกระทบแผงจะดูดซับยูวีและทำให้เกิดแสงที่
มองเห็นได้ ซึ่งสีของอนุภาคเรืองแสงเกิดจากการย้อมสีโดยใช้ขยะจากพืช
1
ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยี AuREUS จึงสามารถทดแทนข้อจำกัดต่างๆของโซลาเซลล์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถติดตั้งแทนกระจกหน้าต่างตึกสูง
อาคารบ้านเรือน แทนการติดตั้งแผงโซลาเซลล์ในแนวราบที่ต้องใช้พื้นที่กว้างและต้องหันรับแสงแดดจัดตลอดวัน ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นตึกสูงต่างๆ
ติดหน้าต่างที่มีสีสันสดใสและมีประโยชน์นี้ทั่วทั้งเมือง แค่คิดก็ตื่นเต้นแล้ว
1
เรียบเรียง : Horloruyorlui
โฆษณา