18 ก.พ. 2021 เวลา 07:43 • ประวัติศาสตร์
เจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย มีความยาว 372 กิโลเมตร เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายคือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ถือว่าจังหวัดนครสวรรค์เป็นเมืองต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา
3
ในอดีตมีการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยามีด้วยกัน 3 ครั้ง เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ประกอบด้วย
ครั้งที่ 1 คลองลัดบางกอก พุทธศักราช 2065 ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
ครั้งที่ 2 คลองลัดบางกรวย พุทธศักราช 2081 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ครั้งที่ 3 คลองลัดนนทบุรี พุทธศักราช 2179 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
และล่าสุดมีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า
1
ปัจจุบัน แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญต่อประเทศในหลายด้าน เช่น
ใช้ในการคมนาคมทางน้ำ เห็นได้จากมีท่าเรือข้ามฝาก ท่าเรือโดยสารมากมาย รวมถึงการขนส่งสินค้าต่างๆ
ใช้ผลิตน้ำประปา โดยการประปานครหลวง มีสถานีสูบน้ำดิบวัดสำแล ตั้งอยู่ที่บ้านกระแชง จังหวัดปทุมธานี
ล่าสุดในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 กรมเจ้าท่าได้ประกาศกำหนดควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการซ้อมรูปขบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
1
แม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงคนไทยหลายชีวิต ไปรษณีย์ไทยได้เปิดตัวแสตมป์ชุด แม่น้ำเจ้าพระยา โดยคัดเลือกภาพจากการประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “เจ้าพระยามหานที” มาพิมพ์ลงบนดวงตราไปรษณียากร และถือเป็นตราไปรษณียากรชุดแม่น้ำครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แสดงถึงความงดงามของแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านแสตมป์ไทย
1
แสตมป์ชุดแม่น้ำเจ้าพระยา
วันแรกจำหน่าย 5 มิถุนายน 2560
พิมพ์ที่ Cartor Security Printing Company Limited, France
โดยมีชนิดราคา 3 บาท ทั้ง 4 แบบ
แสตมป์ชุดแม่น้ำเจ้าพระยา
หากพูดถึงแม่น้ำแล้ว สิ่งที่คู่กันคือสะพานข้ามนั่นเองครับ หากไม่มีสะพานก็คงต้องว่ายข้ามครับ สะพานที่สำคัญที่พาดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่
สะพานพระราม ๙
เป็นสะพานเสาขึงเคเบิลระนาบเดี่ยวที่มีช่วงกลางสะพานยาวที่สุดในโลก สะพานแห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “สะพานพระราม ๙” เปิดให้
บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2530
1
สะพานพระราม ๙
สะพานพระราม ๘
เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร มีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรีและเสารับน้ำหนักบนฝั่งพระนคร ไม่มีตอม่อในน้ำ นับเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร 3 ระนาบที่ยาวที่สุดในโลก แล้วเสร็จเมื่อปี พุทธศักราช 2545
1
สะพานพระราม ๘
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
มีชื่อเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พุทธศักราช 2472 เปิดใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2475 พร้อมกับสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประดิษฐานไว้ ณ ลานเชิงสะพานฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
1
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
สะพานพระราม ๖
เป็นสะพานที่สร้างขึ้นปลายสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2468
1
สะพานพระราม ๖
แสตมป์ชุดสะพาน
วันแรกจำหน่าย 1 กรกฎาคม 2547
พิมพ์ที่ Thai British Security Printing Public Company Limited, Thailand
แสตมป์ชุดสะพาน
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคา (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
5 บาท 500,000 ดวง 12 บาท 4 บาท
5 บาท 500,000 ดวง 12 บาท 4 บาท
5 บาท 500,000 ดวง 12 บาท 4 บาท
5 บาท 500,000 ดวง 12 บาท 4 บาท
1
อัพเดทเพิ่มเติมครับ
แสตมป์ดวงสะพานพระราม ๘ และ สะพานพระราม ๙ พิมพ์หมึกเรืองแสงในการพิมพ์นะครับ เดี๋ยวนี้ทันสมัยนะครับ
แสตมป์สะพานพระราม ๙ พิมพ์ด้วยหมึกเรืองแสง
แสตมป์สะพานพระราม ๘ พิมพ์ด้วยหมึกเรืองแสง
ขอบคุณที่ติดตามครับ
โฆษณา