19 ก.พ. 2021 เวลา 14:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ในช่วงที่ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วแบบนี้ หลายคนที่ลงทุนในกองทุนตั้งแต่ช่วงโควิด จนถึงตอนนี้ บ้างก็มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ บางก็พอมีติดพอร์ตอยู่พอสมควร
พอถึงจังหวะนี้จึงเกิดคำถามว่า แล้วเราควรจะจัดการกับความเสี่ยง และความไม่แน่นอนอย่างไร ถ้าหากเกิดวิกฤตในอนาคต
วิชา Finance 101 จึงบัญญัติสิ่งที่เรียกว่า การ Rebalancing Portfolio ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีการในการจัดการกับกำไร หรือการขาดทุน แต่เป็นวิธีการจัดการกับความเสี่ยงในความไม่แน่นอน และความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้เรายังคงดำเนินตามกลยุทธ์ในการลงทุนที่เราวางแผนไว้ตั้งแต่แรก
สำหรับใครที่สงสัยว่าการ Rebalancing Portfolio คืออะไร ผมขอแนบลิงค์คำอธิบายต่างๆ ไว้ด้านล่างเลยนะครับ เพื่อความกระชับและเข้าสู่เนื้อหาเลย
ชี้เป้าการลงทุน เปิดช่องทางใหม่ สามารถติดตามและพูดคุยเพิ่มเติมกันได้ที่
การ Rebalancing Portfolio #1
ขออธิบายวิธีการ Rebalancing Portfolio แบบแรก คือ ใช้ระยะเวลาเป็นตัวกำหนดการทำ Rebalancing Portfolio
สิ่งแรกที่คุณต้องมีคือ Asset Allocation ที่คุณต้องวางแผนไว้ตั้งแต่แรก ว่าคุณต้องการจะลงทุนสินทรัพย์ หรือกองทุนใด เป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์ทั้งหมด
เพื่อให้เห็นภาพจริง ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ (ซึ่งไม่ควรเลียนแบบในการจัด Asset Allocation) โดยผมเลือกลงทุนในกองทุน 2 กอง ได้แก่
1. One-Ugg-ra จำนวน 50% ของพอร์ต
2. TMBCOF จำนวน 50% ของพอร์ต
เงินทุนเริ่มต้นที่ผมเริ่มลงทุน คือ 200,000 บาท
โดยเริ่มลงทุนวันแรก 2 กุมภาพันธ์ 2017
(การทดลองไม่ได้คำนวณค่า Front/Back Fee นะครับ)
ดังนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผมจะมีการลงทุนในทั้ง 2 กอง กองละ 100,000 บาท
พอครบ 1 ปี วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2018 ปรากฎว่าผมมีเงินรวม 295,731.46 บาท
คิดเป็นกำไร 95,731.46 บาท
1
ผมสามารถถือต่อไปก็ได้เพราะได้กำไรขนาดนี้แล้ว แต่ผมเลือกที่จะ Rebalancing Portfolio แทน หากสังเกตตอนนี้สัดส่วนการถือกองทุนของผม จะไม่เท่ากับที่ผมตั้งใจไว้แต่แรก ที่ต้องการถือกองทุนอย่างละ 50%
วิธีการ Rebalancing Portfolio คือ การเพิ่ม/ลด สัดส่วนของกองทุนที่เราถืออยู่ให้กลับมาเท่าเดิม ตามแผนที่เราวางไว้
โดยจากกรณีนี้ ผมจะทำการขาย TMBCOF บางส่วนออกมา แล้วซื้อ One-ugg-ra เพิ่ม เพื่อให้สัดส่วนกลับเป็น 50% เท่าเดิม
ผลการดำเนินงานของ Port ช่วง 2017-2019 ที่มีการทำ Rebalancing Portfolio
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2018 หลังจากที่ Rebalancing Portfolio แล้ว
จะเห็นว่าสัดส่วนการถือกองทุนทั้ง 2 มีเปอร์เซ็นต์เท่าเดิมแล้ว
หลังจากผ่านไป 1 ปี ปรากฎว่าช่วงปีนี้เกิดวิกฤต ทำให้กองทุนที่เราถืออยู่ขาดทุนทั้ง 2 ตัว มูลค่ารวมลดลงเหลือเพียง 271,403.80 บาท
แต่เมื่อเทียบการอีก Port ที่ไม่มีการทำ Rebalancing Portfolio
ปรากฎว่ามูลค่ารวมลดลงไปเหลือ 267,043.21 บาท
หรือต่างกันประมาณ 4000 บาท
เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน Port ช่วง 2017-2019 ระหว่างพอร์ตที่มีการทำ Rebalancing Portfolio และพอร์ตที่ไม่มี
หลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2019
เห็นอีกแล้วว่า สัดส่วนการถือกองทุนไม่เท่าเดิมอีกแล้ว
ก็ต้องขาย One-ugg-ra ออกบางส่วน เพื่อเข้าซื้อ TMBCOF เพิ่มเพื่อให้สัดส่วนเท่าเดิมอีกครั้ง
1
และในปีถัดๆ ไปก็เช่นเดียวกัน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020
ก็ทำการเพิ่ม/ลด สัดส่วนการถือกองทุน ให้เป็นไปตามแผนของเรา
ผลการดำเนินงานของ Port ช่วง 2019-2021 ที่มีการทำ Rebalancing Portfolio
บรรทัดสุดท้าย เราจะเห็นว่าเงินทุนที่เราลงทุนไปเมื่อปี 2017 ผ่านไป 4 ปี สามารถเติบโตจากเงิน 200,000 บาท กลายเป็น 538,202.14 บาท
หากเปรียบเทียบกับการถือกองทุนในระยะยาว โดยไม่มีการปรับพอร์ต จะได้ผลตอบแทนทั้งหมด 526,103.81 บาท แตกต่างกันอยู่ประมาณ 12,000 บาท
ซึ่งความแตกต่างนี้ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความผันผวนของราคา, ความสามารถในการเติบโตของกองทุน, ความเสี่ยงของกองทุน เป็นต้น
1
นอกจากการ Rebalancing Portfolio ด้วยการกำหนดระยะเวลาแล้ว ยังสามารถ Rebalance ได้ด้วย Threshold อีกด้วย ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไรนั้น โปรดติดตามต่อในโพสต์หน้านะครับ
แล้วมาดูว่าระหว่างการ Rebalancing Portfolio ด้วยการกำหนดระยะเวลา กับการ Rebalancing Portfolio ด้วย Threshold แบบไหนจะให้ผลดีกว่ากัน
ส่วนใครที่รอไม่ไหว ผมชี้ทางให้ก่อนละกัน ลองศึกษาจากที่นี่ดูได้ครับ
ลิงค์เนื้อหาต่างๆ
🌎 Portfolio rebalancing คืออะไร?
🌎 Rebalancing Portfolio ทำตอนไหนดี และทำไมต้องทำ?
🌎 How to Rebalance Your Portfolio in 7 Steps
โฆษณา