21 ก.พ. 2021 เวลา 22:48 • ธุรกิจ
สรุปจาก คิดแบบ CXO โตแบบ Exponential by Krating & Techsauce (21 Feb 2021)
1) Continuous Disruption เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเลยอยากรู้ว่า เทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกหลัง Covid-19 อย่างไรบ้าง?
ตอนนี้เราอยู่ในช่วงเกือบจะ Post-Covid แล้ว เป็นช่วงฟื้นไข้ มีโอกาสได้อ่าน The Economist ว่าช่วง 2020-2030 จะเป็น “Roaring Twenties” จะเป็นช่วงสมัยใหม่ของช่วง innovation
Decade of Innovation จะเป็นรุ่งอรุณของนวัฒกรรม จะเป็นยุคสมัยใหม่ของ innovation
2016: กำลังเข้าสู่ยุคของ Disruption Age การเปลี่ยนแปลง
2018-2019: Disruption Domino พอธุรกิจหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดตามๆ กันไปเรื่อยๆ
2021-2030: Complete Overhaul of World Economy คือการยกเครื่องใหม่ในทุกๆ sector ของ world economy
2024-2025: เป็นจุดหักศอกแรก
2028-2030: รอบสอง ตอนนั้นหลายๆคนอาจจะไม่ทันแล้ว
4 ระยะของการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดแบบ exponential change
เกิด digital disruption
หลังจาก Covid
Digitization: เกิดการ transform ข้อมูลออกมาเป็น digital
Deception: ดูหลอกตาดูไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแต่ซักพักมันจะหักศอกเลยเป็น disruption
Demonetization: เงินหายไปในผู้เล่นดั้งเดิมเพราะถูก disruption
Democratization: ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ เช่น การใช้มือถือ
Deception: คือหลัง covid จะทำให้มันถูกทำให้สั้นลงเยอะมาก ไม่หลอกตาแล้ว โผล่มาถล่มเราเลย
หลัง covid พวก e-commerce กับ retail เป็น 3rd wave แล้ว
ถัดมาคือ Payment ต่อมาคือ Logistic ต่อมาคือ Fintech ที่ wave แรกมาแล้วในรูปแบบของ application
คือมันฉีกธนาคารออกไปเป็นชิ้นๆ ต่อมาคือคือ Blockchain ต่อมา wave 3 จะเป็น decentralize finance
ต่อมาคือ Insurance และต่อมาคือ Health จะเห็นได้ว่ามันเป็น domino ถัดๆ กันไป
หลังจาก Covid ทุกคนจะป่วยไข้หมดเลย แต่คนที่ได้ประโยชน์สุดคือ
- จีน
- อเมริกา -> Silicon Valley
ความท้าทายของอเมริกา
แต่ประเทศ เหล่านี้ก็มี Challenge ยกตัวอย่างลิสของสิ่งที่ Biden ต้องแก้ไขหลังรับตำแหน่งได้แก่
1. การรับมือกับ Covid และการกระจายวัคซีนออกไปให้ประชาชน
2. แก้ไขในสิ่งที่ Trump ถล่มไว้
3. Re-establish American community ที่แตกแยกมากๆ ในยุคของทรัมป์ เห็นต่างได้แต่ต้องไม่แตกแยกแบบนี้ (เพราะประเทศที่มีความแตกต่างสูงมาก คนขาว คนดำ คนเอเชีย และยังมีคนในเมืองและนอกเมืองอีกที่แบ่งแยก)
4. Post-Covid Economic ระบบเศรษฐกิจที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปมหาศาล
5. Climate Change
6. Trade
7. Health care
8. Debt and fiscal deficit คือ หนี้ที่รัฐมีมากกว่าเงินภาษีที่เก็บได้
9. Immigrant
10. Tech and anti-trust คือการผูกขาดทางเศรษฐกิจของพวกบริษัท Tech ใหญ่ๆ เช่น Google, Facebook, Amazon, etc.
11. ความสัมพันธ์กับประเทศอื่น
ถ้าไปดู World GDP แบ่งเป็น % ของ Purchasing Power Parity (PPP) ตอนนี้จีนชนะอเมริกาไปแล้ว และหลายประเทศใน SEA จะมีความโดดเด่นขึ้นมา
ความท้าทายของจีน
1. Aging society
2. ความสัมพันธ์กับอเมริกา
3. Income inequality ความไม่เท่าเทียมทางรายได้
4. Pollution
5. ทรัพยากรทางธรรมชาติ
6. หนี้ 300% มากกว่า GDP (แต่จริงๆ หนี้เป็นปัญหาทั่วโลกเพราะตอนนี้ทั่วโลกมีหนี้อยู่ 281 Trillion USD 3X ของ global gap ก็คือโลกต้องกลับมานั่งใช้หนี้ จีนก็มีปัญหาเรื่องหนี้)
7. Deregulation โดยเฉพาะ financial sector และการค้าขายที่ย่อหย่อนเรื่องกฎหมายที่ทำให้เกิด บริษัทอย่าง peer-to-peer lending และก่อให้เกิดบริษัทใหญ่ Ant Financial เลยต้องไปแก้โดยการ re-regulation กับบริษัทพวกนี้ ไปทำให้มันเล็กลง เหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Jack Ma
8. ปัญหาบริเวณ “ทะเลจีนใต้” เป็นบริเวณที่น่ากลัวที่สุดในโลก เพราะจีนกับอเมริกาแผ่อิทธพลไปใกล้ๆ กันอาจเกิดการปะทะกัน
2
ประเทศอื่นๆ ก็มีความท้าทาย เช่น
Africa: unemployment 29%
Middle East: เปลี่ยนจากการพึ่งพา oil economy ไปทำอย่างอื่น เช่น Saudi Vision 2030
ทั่วโลก: เกิดความท้าทายหมดแต่อยู่ที่ว่าใครจะฟื้นขึ้นมาสู้กับความท้าทายแรกในปี 2024-2025 ได้ก่อน
2024-2025 จะเกิดอะไรขึ้น?
- Food Agri Bio tech จะมีมูลค่า x4 ของมูลค่าอินเตอร์เน็ต หรือ 250B USD ใน 2023
- FOOD: Alternative Protein ที่ทำจากแมลงหรือทำจากพืช (จะมีมูลค่าตลาดถึง 1.7 Trillion USD)
- Animal Farming ใช้น้ำ 30% ของทั้งโลก ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15% ของทั้งโลก vs. Alternative Protein or Plant Base Protein ใช้น้ำลดลง 74% ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 87% ใช้แรงน้อยลง ใช้พื้นที่น้อยลง 95%
- Sustainable Supply Chain ของ อาหาร คือจะเกิด disruption จาก Farm to Fork แล้วมันจะเกิด Value-chain ใหม่เป็น emerging economy
- AGRI: เกิดการจ้างงานอย่างมหาศาล
- BIO: ถูกเร่งเครื่องมหาศาลหลัง Covid ยกตัวอย่าง CEO ของ Modena ที่ผลิตวัคซีน Covid ทำ Digitize แยกส่วนที่เป็น Data ออกมาจากส่วนที่เป็น Bio แล้วก็ทำแพลตฟอร์มของ Bio ขึ้นมาใหม่คือ messenger RNA แล้วเอามาทำ Data Analytic คือ Deep learning digital 2.0 เพื่อต่อไปในอนาคตการเขียนวัคซีนแต่ละตัวจะกลายเป็นเหมือนการทำ application
1
2021-2030 Food Agri Bio will make the 1st Trillionaire
2) แล้วบ้านเราหรือใน SEA จะดึงศักยภาพออกมาได้ยังไง?
บ้านเรามีพวกสมุนไพรที่น่าจะนำมาต่อยอดที่มาจากการทำวิจัยแต่ว่าไม่สามารถ commercial ได้
1. เพิ่ม productivity ต่อไร่
2. เพิ่มสินทรัพย์หลังบ้านของ ต่อยอดจากงานวิจัยแล้วสร้างเป็นสินค้า premium
3. Bio ทำได้ในส่วนที่ focus และ vertical คือเจาะลึกลงไปเลย
2024-2025:
2024
- Self Driving Car: Apple จะออกรถที่ขับเคลื่อนได้เองโดยเป็นรถไฟฟ้า ตอนนั้นจะน่าตื่นเต้นมาก เพราะจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น in-car economy, การเรียนรู้บนรถ education tech และไม่เกิน 2035 Self Driving Car จะกลายเป็น mainstream เลย
- Vertual Reality: ใน 2022 จะมี VR ที่น่าสนใจแต่จะยังเป็นแค่เริ่มต้น เพราะถ้าหากอยากให้อุปกรณ์พวกนี้มันดีเหมือนโลกเสมือนที่ให้ประสบการณ์เหมือนโลกจริง และมีราคาถูกเหมือนซื้อมือถือ 1 เครื่อง อาจจะต้องรอถึง 2028-2030 มันจะมาเป็น platfom ใหม่ให้เราสามารถสร้าง killing application ไปอยู่บนนั้นได้ เช่น FB, IG ที่สร้างขึ้นมาบน internet
ทุกๆ 4 ปีจะมี wave ของการเปลี่ยนแปลง 2024, 2028 กราฟหักศอก
2022-2024:
Starlink: ของ Elon Musk
At Home Economy: เกิดจากคนอยู่บ้านที่เป็น Peloton
Decarbonisation: Zero carbon คือคนเริ่มกลับมาตื่นตัวหลัง Biden เข้ารับตำแหน่งและดูท่าทีว่าจีนก็จะกลับมาด้วย เดี๋ยวจะมี regulation เกี่ยวกับสิ่งเวดล้อมมากขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อเศษฐกิจแน่นอน ต่อไปจะทำให้เราต้องเปลี่ยน energy mix ที่จากตอนนี้ใช้ นำ้มัน ถ่านหิน แต่เพื่อที่จะไม่ให้อุณภูหมิเพิ่งสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเมื่อเทียบกับยุค pre-industrial เราจะต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่เป็น electrification เป็นส่วนใหญ่
Young Old (YOLD) economy: Young Old and Rich คือแก่แต่ใจเด็กแถมมีเงิน ในปี 2030-2040 คนกลุ่มอายุ 60+ จะมี consumption growth ที่โตเร็วกว่าเด็กๆ x4 เพราะเป็นคนตัดสินใจซื้อของในครอบครัว คิดเป็น 55% ของ consumption growth แล้วประเทศไทยปีนี้ 2021 ได้ก้าวเข้าสู่ยุค Completely Aged เรียบร้อยแล้ว คือ 20% ของประชากรทั้งหมดมีอายุมากกว่า 60 ปี แล้วในปี 2031 ประเทศไทยจะกลายเป็น Super Aged คือมีคนอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด เป็นคนแก่ที่ aged successfully สมองทำงานได้ สุขภาพแข็งแรง productive มีเงิน และยังอยากทำงาน มันจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมหาศาล โดยมี assisted living ใน Health Wealth และ Wellness เช่น Tele health, Tele care, Tele medicine, Tele coaching, Mobile health, Robotic technology, Wealth planing และ 59% ของคนแก่เหล่านี้จะยอมจ่าย premium สำหรับสินค้าหรือบริการที่ออกแบบมาให้ friendly กับคนแก่
ตอนนี้ไม่ต้องกลัวว่าเราจะถูก AI มา distrupt เพราะมันมาแน่นอนแต่มันก็ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ด้วยเช่น new demographic อันนี้ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมหาศาล
3) เราจะ take opportunity จาก wave ที่เปลี่ยนแปลงนี้ยังไงได้บ้าง?
5 Exponential Change Mode
1. Follower: ถ้าเป็นพนักงานบริษัทก็คือทำงาน 9-5 เหมือนเดิม ข้อดีก็คือไม่เครียดแต่ก็อาจจะเสี่ยงถูก disrupt หรือเจอคนที่เก่งกว่าเข้ามา
2. Rebel: คือพวกที่ไม่เอาเทคเลย technology detox
3. Hussler: เหมือนพวกผู้ประกอบการ คือจะต้อง front load ชีวิตขึ้นมา ทำงานหนักมหาศาลในช่วง 5 ปี 2021-2025 เพราะจะมีเวลาที่มันจะหักศอกแรก
4. Designer: ดีไซน์ชีวิตให้มีระบบให้ balance ครบทุกอย่าง เช่น เหมือนหนังสือ The 4-Hour Work Week by Tim Ferriss ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งและการทำแบบนี้พอมันเป็นระบบแล้วมันสามารถที่จะ generate asset ที่จะทำให้เกิด income ขึ้นมา ไม่ได้หมายความว่าเค้าไม่ work hard แต่ work hard อย่างมี balance
5. Compound: คือกลุ่มที่น่าสนใจ เพราะเป็นกลุ่มคนที่เรียนรู้เรื่อยๆไม่ได้ front load ไม่ได้เติบโตเร็วมากเหมือน Hussle แต่จะค่อยๆ โต สะสมความรู้ไปเรื่อยๆที่หลากหลายแล้วถึงในจังหวะหนึ่งมันจะหักศอกเป็น Exponential Growth ชื่อของมันคือ Chief Exponential Officer (CXO)
4) CXO หมายความว่าอะไร?
- คือการคิดแบบ exponential คิดแบบ disruption เหมือนที่ Elon Musk ใช้ first principle thinking ที่ challenge กระบวนการการคิดของอุตสาหกรรมปัจจุบันว่ามัน base on ความเชื่ออะไรแล้วตั้งคำถามแย้งกลับไปว่าถ้ามันไม่จริงขึ้นมาหละจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง
-ยังรวมไปถึงการ connect the dot อีกด้วย อย่างงานที่พี่ทำคือเวลาจะทำ marketing เราจะสร้าง marketing squad ขึ้นมา โดยเรามีคนที่เป็น traditional marketer, user research, UX & UI designer, data analytics, machine learning เอาเขามานั่งด้วยกันเพื่อที่จะ connect the dot เพื่อแก้โจทย์ที่เกี่ยวกับ marketing
- Experimentation คือการทดลองอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ใช้ budget ของทั้งเวลาและเงินมาใช้ทดลองเพื่อให้มันเต็ม pipeline ทั้งหมด เพราะอย่างน้อยถ้าอุตสาหกรรมนั้นถูก disrupt ขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนความรู้นี้ไปทำอย่างอื่น มันคือ model แห่งโลกอนาคต คือเราต้องเลือกให้ออกว่าเราอยากเป็นอะไร แต่จำไว้ว่าคุณไม่สามารถเป็น follower ได้อีกต่อไป คือการใช้ชีวิตแบบธรรมดาไม่ได้แล้วเพราะเรามีเวลาอีกแค่ 4 ปีในการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะเกิดการหักศอกแรก
- เรื่องการทำ Corporate Transformation กลายเป็นเรื่องปกติของทุกบริษัทไปแล้ว แต่การจะ transform และทำให้เกิด innovation เราต้องเริ่มจาก empathy คือการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง ซึ่งสิ่งนี้มันทำได้ยากมากเพราะยิ่งเราประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่เราจะยิ่งพิการ พิการแรกจะตาบอดมองไม่เห็นโลกข้างนอก ต่อมาจะหูหนวกคือฟังแล้วไม่ได้ยินฟังแล้วไม่ถูกใจ แล้วพอไปทำ emphaty เราจะไม่เข้าใจ เราเลยต้องมีความเป็น humanity ด้วย ต้องตาไม่บอด ต้องเห็นสถานการณ์ที่เป็นจริง empathy ทำยากมากเพราะเราต้องเปิดตาเปิดใจ ต้องฟังจริงๆว่าลูกค้าต้องการอะไร ฟังจริงๆ ว่าพนักงานของเราเขาเป็นยังไงเขารู้สึกยังไง ต้องฟังจนเรารู้สึกว่าเห็นจังหวะการเต้นของหัวใจขององค์กรให้ได้ ขอแชร์ว่าล่าสุดที่ไปฟังพนักงานแล้วพนักงานเขาบอกว่า อยากทำ transformation ให้เสร็จ พี่ฟังแล้วคือมันผิดเลย มันไม่มีเส้นชัยเหมือนเป็น infinite game คือเราต้องทำเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน และทำจนมันกลายเป็นธรรมชาติของวิถีการทำงานของเขาไปเลย
1
5) ใช้วิธีกระตุ้นคนในองค์กรอย่างไร?
1. มี envision ของ strategy คือเริ่มต้นด้วยคณิตศาสตร์แล้วจบด้วยภาษาศาตร์เสมอ ต้องดูจากข้อมูลต้องวิเคราะห์โดยไม่มีอารมณ์ ต้องมองกว้างมองความเป็นจริงแล้วเก็บข้อมูลขึ้นมาว่า context ขององค์กรเป็นยังไง พอคำนวณเสร็จช่วงแรกอาจจะช้า แต่พอเสร็จแล้วต้องทำเป็น strategy ทำแล้วต้องถ่ายออกมาเป็นเรื่องราวได้ แล้วเรื่องราวที่ดีต้องเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจของผู้ฟังให้ได้ leader ต้องทำทั้งงานที่น่าเบื่อและงานที่น่าตื่นเต้น งานที่น่าเบื่อคือพูดเรื่องเดิมๆ พูดเรื่องซ้ำๆ โดยไม่รู้จักเหนื่อย ทุกๆ วันมันคือ battle ทุกๆ วันคือ war time ของคุณ เช่น ทุกๆ วันที่มี interection กับใครหรือเจอพนักงานใหม่ๆ คุณจะต้องสามารถเล่าเรื่องที่ inspire ให้เขารู้สึกว่าอยากจะมาเป็นส่วนหนึ่งของ vision ที่คุณอยากจะไปให้ได้ ต้องเชื่อในเรื่องที่อยากเล่า ต้อง believe and have faith ในมัน
2. มีคำพูดว่า Culture eats strategy for lunch พี่บอกเลยว่าไม่จริง เพราะ strategy ต้องตามด้วย capability ที่ประกอบไปด้วย structure, technology, process และ people ขององค์กร ทุกอย่างต้องลิงค์กันแล้วประกอบกันจนสามารถ deliver to that strategy ในฐานะผู้นำเราต้องสร้าง strategy ที่ตัวเราเองเชื่อและเชื่อมั่นจริงๆ ว่าเราจะต้องไปถึง
6) ถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้คนไปทำต่อยังไง?
1. The best communication is over communication หาช่องทางทั้งหมดในการสื่อสาร เช่น อย่างปีที่แล้ว KBTG ได้รางวัล HR: Asia for The Best Company To Work For เพราะเราลงไปคุยกับพนักงานตั้งแต่เรา design employee journey คอนเซ็ปเดียวกับ design thinking คือไปจับว่าเค้ามีปัญหาตรง touchpoint ไหนบ้างที่เราจะสามารถเข้าไปแก้ได้ ไปคุยขนาด exit interview เพราะตอนนั้นคือเขาไม่มีทางที่จะโกหกแล้วเพราะเค้าจะออกแล้ว วิธีการนี้เป็นเหมือน micro innovation คือหาจุดต่างๆ ที่มีปัญหาแล้วหา solution มาแก้ไข
2. Culture ต้อง support strategy ของเรา หลายครั้งเรา force fit culture เข้าไปโดยที่มันไม่ได้ตรงกับ strategy ของเรา คือเดี๋ยวนี้คนพูดถึงกันเยอะมากเรื่อง Netflix culture ที่หา talent density ที่ต้องเป็น A player หมดเลย แต่ว่ามันใช้ไม่ได้กับทุกที่ อย่างของที่ KBTG คือรับพนักงานเข้ามาแน่นอนเราดูว่าเขาจะต้องมี potential ที่จะเติบโตได้ แต่ทำไมเราไม่สร้าง culture และ enviorment ที่จะทำให้คนขององค์กรเราสามารถที่จะเป็น A player ได้ด้วยหละ
3. การทำ transformation ต้องตอบให้ได้ว่าเราจะทำไปทำไม ทำไปสู่อะไร แล้วถึงเอา technology เข้ามาช่วยเพราะ digital transformation เป็นแค่ subset ของ transformation เท่านั้น ยกตัวอย่างหนังสือบางเล่มชอบบอกให้ทำ 1 องค์กร 2 ระบบ operating model: legacy และ innovation แล้วหวังว่าซักวันมันจะ spin off มาเจอกันตรงกลางได้ แต่ของ KBTG เราเชื่อเรื่อง intergration คือไม่จำเป็นต้องมีแค่ 2 model เราก็สร้างไปเลยเยอะๆ เราไปเปิด K-Tech ที่จีน และก็สร้าง Kasikorn X แต่ไม่มีใครรู้หรอกว่ามันจะสำเร็จไหม แต่จงจำไว้ว่าอย่าลอกการบ้านคนอื่น เพราะแต่ละองค์กรก็ไม่เหมือนกัน เราศึกษาได้แต่อย่าลอกเค้าต้องตั้งสติว่า vision ของเราคืออะไรแล้วต้องสร้าง culture ที่เหมาะกับตัวเอง นั้นแหละคือหน้าที่ของ CXO
Business Fundamentals ที่ตอบโจทย์ strategy ของเราเริ่มด้วย
Culture > Structure > Process > Technology
7) ช่วยฝากแนวคิดให้กับคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือคนที่กำลังจะเป็นผู้บริหารระดับสูงจะ convince baby boomer ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงยังไง?
1. ในองค์การใหญ่อาจจะต้องเอาคนนอกที่มี credibility ไปเล่าให้เขาฟัง ไปเอา consult หรือ startup มาให้เขาดู เขาจะได้สะดุด เอาสิ่งเหล่านี้มาจุดประกายเขา บางครั้งเกิดจากคนภายนอก outside in ซักพักจะเริ่มเปลี่ยนและเราก็ต้องช่วยเขาเปลี่ยน คนที่เป็น middle managment will be key but take baby step for transformation เช่น ทดลองทำ A, B, C ที่ถูก เช่น ทำ MVP for change พอเขาได้มาทำด้วยแล้วถัดไปมันสำเร็จแล้วค่อยๆ ไปจากตรงนั้น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน อย่าเพิ่งสร้างจรวด bite the bullet to transformation เพราะมันไม่เกิด result วันนี้ มันใช้เวลานานมากกว่าจะเห็นผลมันใช้เวลา มันจะไม่สำเร็จถ้าระดับสูงไม่ช่วย ถ้าเขาไม่เปลี่ยนคุณควรจะไป
1
2. SME ไทยแก้ปัญหาของหลายๆ เรื่องเก่งมากๆ แล้วพวกเขาสู้มากถ้าอุกาบาตไม่ตกใส่หัว SME ไทยไม่มีวันตาย แล้วเขาสามารถสร้าง sense of ownership ให้พนักงาน ให้พนักงานสู้ไปด้วยกันได้
3. Startup มีความกล้าเขาไม่สนว่าเมื่อก่อนทำยังไง bottom line arrogant มันมีวิธีการที่ดีกว่าเสมอ ไม่ยึดติดกับ legacy อะไรเลย แต่ในระดับหนึ่งไม่สามารถบริหารคนได้ ไม่มี process, ไม่มี coaching so it’s the best of both work SME+Start up
ช่วง Q&A
8 ) ถ้าจะต้องโฟกัส 3 อย่างเพื่อให้องค์กรเกิด exponential change จะแนะนำอะไรบ้าง
1. Transform business model มองให้ออกว่ามันจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน strategy ทิศทางของอุตสาหกรรมเราจะไปยังไง แล้วจะแบ่ง resource ออกมาอย่างไร
- 60% Core
- 30% Second Bet
- 10% Moonshot Bet (ถ้าสำเร็จจะโตแบบก้าวกระโดด ถ้าเจ๊งก็เจ๊งไปเลย
แต่ถ้าองค์กรอยากเปลี่ยนเป็น disruptor อยากเปลี่ยนเป็น fast follower ต้องลงตรงนี้ประมาณ 30% เลยด้วยซ้ำ)
2. ต้องมี tool & system ที่เปลี่ยนองค์กรและเปลี่ยน structure ให้ไปกับ culture ใช้หลัก 4Rs:
- Reward
- Recognition
- Role & Responsibilities
- Re-Process
3. Nothing will change if people won’t change พอคนเห็นว่าเรากำลังจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีแล้วสุดท้ายเราต้องโชว์ให้เค้าเห็นว่าจุดหมายปลายทางมัน worth the sacrifice รึเปล่า จึงต้องมี purpose ของการ transform ที่จะสามารถ inspire คนได้ ต้องมี story ที่คุณ believe ต้องเป็น role model เช่น เวลามีอะไรออกมาใหม่ๆ จะให้ ​HR ทำก่อนแล้วดูว่าเขาทำได้ไหม ถ้าได้แล้วค่อย roll out ให้คนอื่นในองค์กร เราต้องมีการทำวินัยในการเปลี่ยนแปลง discipline over and over again มันน่าเบื่อแต่ต้องทำ กว่าจะทำสำเร็จต้อง 2-3 ปีกว่าจะเห็นผล
1
9) คิดว่าการเปลี่ยนแปลงอีกใน 10 ปี ประเทศไทยจะเป็นยังไง
ประเทศไทยเล็กเกินไปแล้วสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ยุคนี้ เพราะ South East Asia is the next China เราต้องไปโตที่อื่นในภูมิภาค แล้วเศรษฐกิจอย่าง Vietnam คือฟื้นจาก Covid เร็วมาก คนของเขาต่อไปจะกระหายการบริโภคเพราะเขาจะมีรายได้เพิ่มขึ้น จะกินใช้เยอะขึ้นมากเขาจะมามองมาที่เมืองไทย
Date: 21 FEB 2021 (21:00 - 22:30)
Speaker:
คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล
-ประธาน KBTG, 500 TukTuks, Disrupt Technology Venture, dtac Accelerate founder
-Ex-Googler: Quantitative Marketing, Advanced Data Analytics, Google Earth
Moderator:
คุณมิหมี อรนุช เลิศสุวรรณกิจ Oranuch Lerdsuwankij
CEO & Co-Founder of Techsauce
#Clubhouse #ClubhouseTH #ClubhouseThailand #CXO #Exponential #Techsauce #Disrupt #Krating #KTBG #500TukTuks #DtacAccelerate #GoogleEarth #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา