27 ก.พ. 2021 เวลา 00:24 • ศิลปะ & ออกแบบ
🌺🌺🌺 จำลองกำแพง ป้อมปราการ ประตูเมืองโบราณครับ 🌺🌺🌺
🌸💮🌼 ประตูเมืองอยุธยา 💮🌸🌼
☘️ ประตูเมืองที่เป็นประตูใหญ่ถูกทำลายหมด พอจะเห็นได้แต่ช่องข้างล่าง กว่างราว ๖ ศอกเศษ ในหนังสือโบราณกล่าวว่าประตูใหญ่เป็นประตูยอด รูปทรงมณฑปทาแดง และได้พบรูปภาพที่พนังอุโบสถวัดยม ซึ่งนักปราชญ์ในทางวิชาช่างรับรองว่าเป็นฝีมือที่เขียนไว้แต่ครั้งกรุงเก่านั้น ประตูเมืองก็เป็นรูปยอดมณฑปทาแดง เห็นจะพอเอาเป็นที่เชื่อได้ว่า ยอดประตูเมืองกรุงเก่าไม่ได้เป็นอย่างอื่น แต่ประตูช่องกุดระหว่างประตูใหญ่นั้น ยังเหลือเป็นรูปร่างชัดเจนอยู่ที่แนวกำแพงใต้วัดจีน ก่อเป็นรูปโค้งคูหากว้าง ๔ ศอกคืบ สูง ๕ ศอกเศษ เข้าใจว่าคงจะเป็นรูปดังนี้ทั่วทุกประตู
🌿☘️🍃 กำแพงเมืองอยุธยา 🌿☘️🍃
🌺 กำแพงพระนครในชั้นแรกสร้างกรุงเห็นจะยังไม่ได้ก่อด้วยอิฐ เข้าใจว่าจะเป็นแต่เชิงเทินดิน ใช้ขุดดินทางริมน้ำกับข้างใยขึ้นถม คูที่ขุดเอาดินขึ้นมาทางข้างในกำแพงเดี๋ยวนี้ยังปรากฏอยู่ กำแพงอิฐจะมาก่อขึ้นต่อหลัง เพราะรากกำแพงอิฐที่พบในเวลานี้อยู่บนเชิงเทินดิน สูงกว่าระดับดินธรรมดาตั้งแต่วาหนึ่งถึง ๖ ศอก ตัวเชิงเทินดินที่เป็นพื้น ตั้งกำแพงกว้างอย่างน้อยราว ๘ วา กำแพงหนา ๒ วาเศษ ก่ออิฐ ๒ ข้างไว้ช่องกลางถมดินกับอิฐหัก ส่วนสูงตั้งแต่เชิงกำแพงถึงปลายใบเสมา คะเนว่าบางแห่งถ้าในที่ต่ำคงจะราว ๓ วา ถ้าที่สูงคงจะราว ๑๐ ศอกเศษ เพราะพบเศษกำแพงที่เหลือจากรื้ออยู่ที่วัดท่าทรายแห่งหนึ่ง สูงจากพื้นดิน ๙ ศอกเศษเกือบคืบ กับที่ใต้วัดจีนเยื้องหน้าวัดสุวรรณมีประตูช่องกุฏอยู่ด้วยอีกแห่งหนึ่ง ตรงนั้นเป็นที่ดอนกำแพงสูง ๖ ศอกคืบมีเศษ ที่คิดว่ากำแพงตอนนั้นสูงเท่านี้ก็เพราะด้วยกำแพงที่เหลืออยู่นั้น สูงพ้นหลังประตูช่องกุฏขึ้นไปอีกศอกเศษ ซึ่งคะเนว่าเกือบจะถึงที่ตั้งใบเสมา เพราะธรรมดาประตูช่องกุฏก็อยู่ไล่เลี่ยหรือต่ำกว่าพื้นเชิงเทินำปเพียงนิดน้อย พ้นเชิงเทินขึ้นไปไม่กี่มากน้อยก็ถึงที่ตั้งเสมา กับได้ขุดพบเสมากำแพงเมืองยังเป็นรูปดีอยู่เสมาหนึ่ง กว้างศอกคืบ หนา ๒ ศอก สูง ๒ ศิกคืบ ถ้าเอาส่วนของใบเสมาบวกเข้ากับกำแพงตรงวัดท่าทราย ก็คงได้ราว ๓ วา กำแพงใต้วัดจีนราว ๑๐ ศอก ถึงจะยิ่งหย่อนกว่านี้ไปบ้างก็ไม่สู้มากนัก แต่ถ้าคิดเอาส่วนสูงของกำแพง ตั้งแต่ระดับดินไปจนขาดปลายเสมา คงจะสูงเสล ๔ วาทั้งหมด แนวกำแพงพระนครวัดได้ ๓๑๐ เส้น ในเมืองวัดตามกว้างในที่คอดได้ ๔๐ เส้น ตามยาวได้ ๙๘ เส้น
โฆษณา